28 สิงหาคม 2556

Legend Nariphon นารีผลพืชพันธ์สการน่าลิ้มลอง

Myth Nariphon ตำนานผลไม้ร่างมนุษย์
ฉายา ตำนานผลไม้ร่างมนุษย์
สัญชาติ ไทย(THAI)
พระบิดา พระอินทร์(God Indra)
พระมารดา -----
เกิดจากป่าหิมพานต์ (Gandharvas)
ตายเมื่อ อายุ16ปี เกิดได้ 7 วัน
ปรากฏ พุทธตำนาน( Buddhist Mythology )
- ตำนาน พระเวสันดรชาดก (Vessantara Jataka)

                 นารีผล หรือมักกะลีผล หรือมัคคะลีผล เป็นพืชวิเศษชนิดหนึ่ง เกิดอยู่ใน ป่าหิมพานต์ ว่ากันว่า นารีผล ขั้วลูกอยู่ด้านบนศีรษะ มีรูปร่างเป็นหญิง ผลสด รูปร่างสะโอดสะอง สมส่วน ผิวพรรณงดงาม ปานเทพธิดา  เมื่อประมาณหลายหมื่นปีก่อน ครั้งที่พระ เวสสันดร พระนางมัทรี พร้อมด้วยบุตร ๒ คนคือ ชาลีกุมาร และ กัณหาชิณากุมารี ถูกเนรเทศจากนคร ได้เดินทางสู่ป่าหิมพานต์ และบำเพ็ญเพียร ปฏิบัติธรรมอยู่ที่นั้น ที่ป่าหิมพานต์ มีสัตว์ป่ามากมายอันตรายรอบด้าน ทว่า สัตว์ป่าทั้งหลาย เมื่อได้รับเมตตาจิตจากพระเวสสันดร ก็คลายความดุร้ายลง กลายเป็นมิตร
http://legendtheworld.blogspot.com/2013/08/nariphon.html..............................




          นอกจากสัตว์ป่าทั้งหลายแล้ว ก็ยังมีดาบส ฤๅษี นักสิทธิ์ วิทยาธร คนธรรพ์ ทั้งหลายอาศัยอยู่ หรือไปมาอยู่เรื่อยๆ พระนางมัทรี ผู้มีรูปร่างโสภา บางครั้งออกหาอาหาร หาผลไม้ตามลำพังคนเดียว หากนักสิทธิ์ วิทยาธร ตลอดถึงฤๅษี มาพบเข้า อาจตบะแตก แล้วล่วงศีลได้…ท้าวสักกะเทวราช ซึ่งเป็นพระอินทร์ เล็งเห็นเหตุร้ายนี้แล้ว เพื่อเป็นการป้องกัน พระองค์จึงเนรมิต ต้นไม้วิเศษ ไว้รอบทิศ ณ ที่ไกล ก่อนถึงถิ่นแดน อันเป็นที่พำนักของพระเวสสันดรและนางมัทรี รวม ๑๖ ต้น

http://legendtheworld.blogspot.com/2013/08/nariphon.html         ต้นไม้วิเศษนี้ ออกผลซึ่งมีรูปร่างเหมือนสตรี ผลโตเต็มที่ จะมีทรวดทรงปานสาวงามแรกรุ่น แต่ผิวพรรณ ทรวดทรงองค์เอว รูปร่างหน้าตา งดงามปานเทพธิดา…ว่ากันว่า จริงๆ แล้ว ผลหนึ่งผล ก็คือรุกขเทพธิดาหนึ่งนาง หรือ เมื่อต้นนารีผลออกดอก เสมือนเกิดวิมานแห่งรุกขเทพธิดาขึ้นที่นั่น เมื่อติดลูก ก็คือเทพธิดาจุติลงมาเกิดที่นั่น ความสวยงามสมบูรณ์แห่งผลนารีผล แต่ละผล จึงสวยงามต่างกัน ขึ้นอยู่กับบุญของเทพธิดาแต่ละนางด้วย… 
         เมื่อเหล่านักสิทธิ์ วิทยาธร เดินทางมาพบเข้า หากจิตใจไม่เข้มแข็งพอ ตบะแตก ก็จักได้เสพบำเรอกับนารีผลเมื่อตบะแตก ฤทธิ์เสื่อม เหาะไปต่อไม่ได้ … เมื่อไปต่อไม่ได้ ก็ไม่มีทางจะได้พบกับพระนางมัทรี…. การจะเดินทางต่อ หรือออกไป จำต้องบำเพ็ญเพียรใหม่ ยกระดับจิตขึ้นแล้ว จึงกลับออกมาได้….นี่คือด่านป้องกัน ไม่ให้ใครไปล่วงศีลกับพระนางมัทรี และเทพธิดาที่จุติไปเกิดที่นารีผล แต่ละนางก็ไปด้วยกรรมของตน มิได้บังคับไปแต่อย่างใด  แม้ว่า พระเวสสันดร พระนางมัทรี จะเสด็จออกจากป่าเข้าเมืองไปแล้ว ต้นนารีผล ก็ยังคงมีอยู่ในที่นั้น ตราบเท่าทุกวันนี้ ยังมีดอกหอมกรุ่น มีนารีผลห้อยระย้าอยู่ดังเดิม แม้ลูกที่หมดอายุขัยจะร่วงหล่นเหี่ยวเฉาไป ลูกใหม่ก็ขึ้นมาแทนที่ไม่ได้ขาด ว่ากันว่า บางครั้ง ฤๅษีที่บำเพ็ญเพียรจนตบะกล้า กิเลสสงบรำงับ เพื่อจะทดสอบจิตตน ก็จะเหาะไปที่ต้นนารีผล มองดูนารีผล ว่าตนจะตบะแตกหรือไม่… หรือบางครั้งฤๅษีผู้เป็นอาจารย์ อาจจะพาลูกศิษย์ไปทดสอบระดับจิต ไปฝึกควบคุมจิต ที่นั่น ก็มี และว่ากันว่า พวกนักสิทธิ์วิทยาธร มักจะเหาะไปเก็บนารีผล อุ้มมาเชยชมแล้ว ฝึกจิตใหม่ ค่อยเหาะกลับออกมา
          นารีผล เป็นที่ต้องการของสัตว์วิเศษ (คนธรรพ์เป็นต้น) รวมถึงวิทยาธรทั้งหลายผู้ยังไม่หมดกามราคะ ดังนั้น การที่นารีผลจะเหี่ยวแห้งคาต้นแล้วร่วงหล่นนั้น เป็นไปได้ยาก ก่อนจะโรยรา จะมีเทวดา สัตว์วิเศษ และวิทยาธร เป็นต้นมาเก็บเอาไป  มีเรื่องราวในอรรถกถาเกี่ยวกับนารีผลตอนหนึ่งว่า

http://legendtheworld.blogspot.com/2013/08/nariphon.html        ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ณ กาสิกรัฐ เจริญวัยแล้ว ถึงความสำเร็จในสรรพศิลปศาสตร์แล้วบวชเป็นฤๅษี มีมูลผลาผลในป่าเป็นอาหาร ยังอัตภาพให้เป็นไปในป่ากว้าง. ครั้งนั้น แม่เนื้อตัวหนึ่ง เคี้ยวกินหญ้าอันเจือด้วยน้ำเชื้อ ในสถานที่ปัสสาวะของพระดาบสนั้นแล้วดื่มน้ำ.และด้วยเหตุเพียงเท่านี้เอง มันมีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ในพระดาบส จนตั้งครรภ์ นับแต่นั้นมาก็ไม่ยอมไปไหน เที่ยวอยู่ใกล้ ๆ อาศรมนั่นเอง. พระมหาสัตว์กำหนดดูก็รู้เหตุนั้นทั่วถึง ต่อมา แม่เนื้อคลอดบุตรเป็นมนุษย์ พระมหาสัตว์จึงเลี้ยงทารกนั้นไว้ด้วยความรักใคร่ว่าเป็นบุตร ตั้งชื่อให้ว่า อิสิสิงคกุมาร ในเวลาต่อมา พระมหาสัตว์ จึงให้อิสิสิงคกุมารผู้รู้เดียงสาแล้วบวช ในเวลาตนชราลง ได้พาดาบสกุมารนั้นไปสู่นารีวัน (ป่านารีผล) กล่าวสอนว่า

"ลูกรัก ขึ้นชื่อว่าสตรีเช่นกับดอกไม้เหล่านี้ มีอยู่ในป่าหิมพานต์นี้ 
สตรีเหล่านั้นย่อมยังชนผู้ตกอยู่ในอำนาจตน ให้ถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวงได้ 
ไม่ควรที่เจ้าจะไปสู่อำนาจของสตรีเหล่านั้น ดังนี้แล้ว"

       ครั้นในเวลาต่อมา ก็ทำกาลกิริยา เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. ฝ่ายอิสิสิงคดาบส เมื่อประลองฌานกีฬาก็พักอยู่ในหิมวันตประเทศ ได้เป็นผู้มีตบะกล้า เป็นผู้มีอินทรีย์อันชำนะแล้วอย่างยวดยิ่ง
       ครั้งนั้นพิภพของท้าวสักกเทวราชหวั่นไหว ด้วยเดชแห่งศีลของพระดาบส ท้าวสักกเทวราช ทรงใคร่ครวญดูก็ทราบเหตุนั้น ทรงพระดำริว่า พระดาบสนี้จะพึงยังเราให้เคลื่อนจากความเป็นท้าวสักกะ เราจักต้องส่งนางอัปสรคนหนึ่ง ให้ไปทำลายศีลของเธอ ดังนี้แล้ว ทรงพิจารณาเทวโลก ทั้งสิ้น ในท่ามกลางเหล่าเทพบริจาริกาจำนวนสองโกฏิครึ่งของพระองค์ มิได้ทรงเห็นใครอื่นซึ่งสามารถ ที่จะทำลายศีลของพระอิสิสิงคดาบสได้ นอกจากนางเทพอัปสร ชื่ออลัมพุสาผู้เดียว จึงรับสั่งให้นางมาเฝ้า แล้วทรงบัญชาให้ทำลายศีลของพระอิสิสิงคดาบสนั้น  นางอลัมพุสาเทพอัปสรนั้น เข้าไปหาอิสิสิงคดาบสนั้น ซึ่งประกอบความเพียรในกลางคืนแล้ว สรงน้ำแต่เช้าตรู่ ทำอุทกกิจเสร็จแล้ว ยับยั้งอยู่ด้วยฌานสุขในบรรณศาลาหน่อยหนึ่ง จึงออกมากวาดโรงไฟอยู่ นางยืนแสดงความงาม ของหญิงอยู่ข้างหน้าของพระอิสิสิงคดาบสนั้น…นางอลัมพุสา แสดงมายาหญิงเย้ายวน จนดาบสหนุ่มหลงใหล.. และในที่สุด ดาบสหนุ่มก็ถูกทำลายศีล…
............................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น