20 สิงหาคม 2556

Legend_Eleanor_พระราชินีอเลเนอร์แห่งอาควิเตน

Myth Eleanor of Aquitaine
ฉายาพระบาททอง (Chrysopous)
ตำแหน่งเสมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษในสงครามครูเสต(Queen of Dowager)
-พระราชินีของฝรั่งเศสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 7
-พระราชินีของอังกฤษในพระเจ้าเฮนรีที่ 2
สัญชาติ อังกฏษ(England)
พระบิดา วิลเลียมที่ 10 ดยุกแห่งอากีแตน
พระมารดาดัชเชสเอเนอร์แห่งแชเทลเลโรลท์
ประสูติเมื่อ  ประมาณ ค.ศ. 1122 ปี
-ที่ปราสาทเบแล็ง ฝรั่งเศส
ตายเมื่อ 1 เมษายน ค.ศ. 1204
-แอบบีฟองเทวฟรอด์ ฝรั่งเศส

           เอเลเนอร์แห่งอาควิเตน สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ หรือ เอเลเนอร์แห่งอากีแตน สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส ดัชเชสแห่งอากีแตนและแกสโคนี และเคานทเทสแห่งปัวตู นอกจากนั้นก็ยังเป็นพระราชชนนีของพระมหากษัตริย์อังกฤษสองพระองค์สมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ และสมเด็จพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษ และทรงมีส่วนร่วมในการเดินทางไปต่อสู้ในสงครามครูเสดครั้งที่ 2 เอเลเนอร์แห่งอากีแตนสิ้นพระชนม์เมื่อ 1 เมษายน ค.ศ. 1204 ที่แอบบีฟองเทวฟรอด์ ในฝรั่งเศส พระราชินีเอเลเนอร์ทรงเป็นสตรีที่มีฐานะดีและอำนาจมากที่สุดในยุโรปในยุคกลาง
http://legendtheworld.blogspot.com/2013/10/elizabeth-i-of-england-virgin-queen.html






              เอเลเนอร์แห่งอากีแตนทรงเป็นธิดาองค์โตของวิลเลียมที่ 10 ดยุกแห่งอากีแตน และดัชเชสเอเนอร์แห่งแชเทลเลโรลท์  พระราชินีเอเลเนอร์ทรงได้รับการขนานพระนามตามพระมารดาเอเนอร์เป็น “Aliénor” จากภาษาละติน “alia Aenor” ซึ่งแปลว่า “เอเลเนอร์อีกคนหนึ่ง” เอเลเนอร์แห่งอากีแตนทรงได้รับการเลี้ยงดูขึ้นมาในราชสำนักที่ถือกันว่ามีวัฒนธรรมดีที่สุดราชสำนักหนึ่งในยุโรปในสมัยนั้น ซึ่งเป็นที่กำเนิดของปรัชญารักในราชสำนัก (courtly love) ดยุกวิลเลียมที่ 10 พยายามส่งเสริมให้พระราชินีเอเลเนอร์มีการศึกษาที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้ว่าภาษาแม่ของพระราชินีเอเลเนอร์จะเป็นภาษาปัวเตแวน (Poitevin) แต่ก็ทรงได้รับการศึกษาในภาษาละติน การดนตรี วรรณคดี การทรงม้า การล่าด้วยเหยี่ยว และการล่าสัตว์ เอเลเนอร์มีพระลักษณะที่ชอบการสังคม มีพระปรีชาสามารถฉลาดเฉลียว และทรงมีชื่อว่าเป็นผู้มีหัวแข็ง นอกจากนั้นก็ทรงมีชื่อว่ามีพระสิริโฉมงดงามโดยผู้คนร่วมสมัยแต่ไม่มีหลักฐานคำบรรยายความงามของพระองค์หลงเหลืออยู่

ชีวประวัติการศึกในสงครามครูเสด

                พระราชินีเอเลเนอร์และพระเจ้าหลุยส์ทรงถือกางเขนครูเสดระหว่างการเทศนาของเบอร์นาร์ดแห่งแคลโวซ์ พระราชินีเอเลเนอร์ทรงติดตามกองทัพพร้อมกับนางสนองพระโอษฐ์และข้าราชบริพารสตรีอื่นๆ อีกราว 300 คน ทรงยืนยันในการมีส่วนร่วมในสงครามครูเสดในฐานะผู้นำทัพของแคว้นในการปกครองของพระองค์   สงครามครูเสดครั้งนี้โดยทั่วไปมิได้ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก พระเจ้าหลุยส์ทรงเป็นนายทัพที่อ่อนแอไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ทรงสามารถรักษาวินัยและรู้วิธีปลุกใจทหารในการต่อสู้ นอกจากนั้นก็ไม่ทรงรู้วิธีการใช้ยุทธวิธีในการต่อสู้ แต่กระนั้นทั้งพระเจ้าหลุยส์และพระราชินีเอเลเนอร์ก็ได้รับความนิยมจากประชาชนในสิ่งที่ทรงตั้งพระทัยจะทำให้สำเร็จเป็นอันมาก พระราชินีเอเลเนอร์ทรงได้รับการเปรียบเทียบว่าเป็นเพ็นเธซิเลีย (Penthesilea) พระราชินีในตำนานอเมซอน
                   เมื่อกองทัพครูเสดเข้าสู่เอเชียไมเนอร์สถานะการณ์ก็เริ่มเลวลง แต่พระเจ้าหลุยส์และพระราชินีเอเลเนอร์ยังทรงคิดว่าสถานะการณ์ยังอยู่ในสภาพดี จักรพรรดิไบแซนไทน์ทรงรายงานว่าพระเจ้าจักรพรรดิคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมนีทรงได้รับชัยชนะต่อกองทัพตุรกี (ซึ่งอันที่จริงแล้วกองทัพเยอรมันถูกสังหารอย่างเกือบไม่เหลือหรอ) แต่เมื่อทรงตั้งค่ายอยู่ที่นิเซีย (Nicea) กองทหารเยอรมันที่รอดมาได้รวมทั้งจักรพรรดิคอนราดเองที่อยู่ในสภาพที่ร่อแร่ ก็มาถึงค่ายทหารฝรั่งเศส และนำข่าวการพ่ายแพ้อย่างยับเยินมาบอก กองทหารฝรั่งเศสกับกองทหารเยอรมันที่เหลือก็รวมตัวเดินทัพอย่างไม่เป็นระเบียบต่อไปยังอันติออค กองทหารยังมีกำลังใจดีในวันก่อนวันคริสต์มาสเมื่อตั้งค่ายที่อีฟิซัส แต่ถูกกองทหารตุรกีซุ่มโจมตีแต่ทหารฝรั่งเศสสามารถตอบโต้ได้  พระเจ้าหลุยส์ตัดสินพระทัยข้ามเทือกเขาฟริเจียน (Phrygian mountains) เพราะทรงหวังว่าจะเดินทางได้ร่นระยะการเดินทางขึ้นเพื่อที่จะไปพึ่งเรย์มงด์แห่งอันติออคพระปิตุลาของพระราชินีเอเลเนอร์ แต่เมื่อทรงเริ่มเดินขึ้นเขาก็ทรงเห็นภาพที่สยดสยองของทหารเยอรมันที่ถูกสังหารก่อนหน้านั้นนอนอยู่เกลื่อนกลาด  

               วันที่จะข้ามเขาแคดโมสพระเจ้าหลุยส์ทรงเลือกคุมกองหลังซึ่งเป็นกลุ่มของนักแสวงบุญผู้ไม่ถืออาวุธและกองเครื่องใช้ต่างๆ กองหน้าที่พระราชินีเอเลเนอร์ร่วมเดินนำโดยเจฟฟรีแห่งแรนคองนายทหารจากแคว้นในการปกครองของอากีแตน ถึงแม้ว่าจะต้องควบคุมสิ่งของต่างแต่เจฟฟรีก็ขึ้นถึงยอดเขาแคดโมสสำเร็จ ซึ่งตามพระราชโองการแล้วเจฟฟรีก็ควรจะไปตั้งค่ายคอยรอกองหลังอยู่บนยอดเขา แต่เจฟฟรีตัดสินใจเดินทัพต่อเพื่อจะไปสมทบกับเคานท์แห่งมอเรียนพระปิตุลาของพระเจ้าหลุยส์ตรงบริเวณที่เป็นที่ราบสูงซึ่งเหมาะแก่การตั้งค่ายมากกว่า การขัดพระราชโองการเช่นนี้ดูเป็นเรื่องปกติของการเดินทัพครั้งนี้ เพราะพระเจ้าหลุยส์มิได้ออกคำสั่งอย่างเด็ดขาด  ราวบ่ายอ่อนๆ ทางกองหลังก็คิดว่าเกือบถึงจุดหมายที่จะตั้งค่ายบนยอดเขา ก็เริ่มระส่ำระสายแบ่งแยกเป็นกลุ่มย่อยๆ บางกลุ่มก็เดินเลยยอดเขาไปแล้วแต่บางกลุ่มก็ยังพยายามเดินให้ถึงยอด ทหารตุรกีที่เฝ้าติดตามดูมาหลายวันเห็นได้ทีก็โจมตีผู้ที่ยังไม่ได้ข้ามยอดเขา ขณะที่ทหารฝรั่งเศสและนักแสวงบุญที่ถูกโจมตีโดยคาดไม่ถึงไม่มีทางหลบหนี ผู้ที่พยายามหนีก็ถูกสังหาร ผู้คน ม้า และสิ่งของก็ถูกโยนลงไปในหุบเหวเบื้องล่าง วิลเลียมแห่งไทร์กล่าวโทษว่าความหายนะที่เกิดขึ้นเป็นเพราะการที่ต้องลากสิ่งของต่างๆ ที่ส่วนใหญ่เป็นของสตรีมาด้วยกับขบวน  พระเจ้าหลุยส์ทรงหลบหนีมาได้เพราะความไร้สมรรถภาพของพระองค์เนื่องด้วยความที่ไม่โปรดที่จะทรงเครื่องแบบกษัตริย์จึงทรงแต่เครื่องแบบทหารอย่างง่ายๆ เมื่อเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นจึงทรงหลบหนีมาได้โดยไม่เป็นที่สังเกต  
           ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นสาเหตุของความหายนะครั้งนี้คือเจฟฟรีแห่งแรนคองผู้ที่ตัดสินใจเดินทัพต่อจากจุดที่ควรตั้งค่าย มีผู้เสนอให้แขวนคอเจฟฟรีแต่พระเจ้าหลุยส์ไม่ทรงทำตาม แต่ในเมื่อเจฟฟรีแห่งแรนคองเป็นนายทหารของแคว้นในความปกครองของพระราชินีเอเลเนอร์ หลายคนก็เชื่อว่าความรับผิดชอบในการเปลี่ยนแผนก็ควรจะตกไปเป็นของพระองค์ซึ่งก็คือควรจะเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อการสังหารหมู่ที่เกิดขึ้น เหตุการณ์นี้ทำให้ชื่อเสียงของพระราชินีเอเลเนอร์เสื่อมลง นอกไปจากการที่กองหลังต้องลากสมบัติต่างๆ ที่เป็นของส่วนพระองค์มาด้วย และการที่ไม่ทรงมีส่วนในการต่อสู้ป้องกันกองหลัง แต่สิ่งที่ทำให้ชื่อเสียงของพระองค์เสื่อมลงไปยิ่งกว่านั้นคือข่าวลือที่ว่าทรงมีความสัมพันธ์กับเรย์มงด์แห่งอันติออคพระปิตุลาฉันคนรัก  
         ช่วงสุดท้ายของชีวิต อยู่ในช่วฃสงครามระหว่างพระเจ้าจอห์นกับพระเจ้าฟิลิปปะทุขึ้นอีก พระราชินีเอเลเนอร์ก็ทรงประกาศสนับสนุนพระโอรส และทรงเดินทางจากแอบบีฟองเทวฟรอด์ไปปัวตีเยร์เพื่อป้องกันมิให้พระนัดดาอาร์เธอร์ที่ 1 ดยุกแห่งบริตานีผู้เป็นศัตรูของพระเจ้าจอห์นเข้าครอบครอง เมื่อทราบว่าพระราชินีเอเลเนอร์จะเสด็จมาดยุกอาร์เธอร์ก็ดักจับเอเลเนอร์ที่ปราสาทมิราโบ พอพระเจ้าจอห์นได้รับข่าวก็ทรงรีบเดินทัพมาทางใต้ มาถึงก็ทรงโจมตีและจับตัวดยุกอาร์เธอร์ได้ พระราชินีเอเลเนอร์จึงเสด็จกลับแอบบีฟองเทวฟรอด์ เมื่อกลับไปถึงก็ทรงรับศีลเป็นชี พระราชินีเอเลเนอร์สิ้นพระชนม์เมื่อปี ค.ศ. 1204 พระศพอยู่ที่แอบบีเคียงข้างกับพระสวามีพระเจ้าเฮนรีที่ 2และพระโอรสพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 อนุสรณ์ของพระองค์เป็นพระรูปที่กำลังทรงอ่านคัมภีร์ไบเบิลประดับด้วยเครื่องตกแต่งอย่างงดงาม
......................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น