ฉายา จ้าวแห่งการเดินเรือ (Great Navigator)
ตำแหน่ง พลเรือเอก(Admiral)
-นักสำรวจ (Admiral Diplomat Explorer)
สัญชาติ จีน (CHINA)
บิดา ชนชาติหุย แซ่หม่า
มารดา ชนชาติหุย แซ่หม่า
เกิดเมื่อ ค.ศ 1371(พ.ศ.1914)
- เมืองคุนหยาง,มณฑลยูนนาน (Kunyang - Yunnan )
เสียชีวิตอายุ 61 ปี ค.ศ. 1433
- ในทะเลจีนใต้
เจิ้งเหอ (Zheng He หรือ Cheng Ho)เป็นผู้บัญชาการกองเรือมหาสมบัติของจีนสมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368-1644)
การเดินเรือสำรวจทางทะเลในระยะเวลา 28 ปีของเจิ้งเหอ ประกอบด้วยกองเรือกว่า
300 ลำ ลูกเรือเกือบ 28,000 ชีวิต ออกสำรวจทางทะเลรวม 7 ครั้ง
เดินทางมากกว่า 50,000 กิโลเมตร ท่องต่างแดนมากกว่า 30
ประเทศจากทะเลจีนใต้ไปจนถึงชายฝั่งตะวันออกของอาฟริกา
เริ่มต้นเป็นครั้งแรกในเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 1405 (พ.ศ.1948)
ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระรามราชาธิราชแห่งราชวงศ์อู่ทองปกครองกรุงศรีอยุธยา
สิ้นสุดในปีค.ศ.1433 (พ.ศ.1976) พร้อมกับการเสียชีวิตของเจิ้งเหอ
เจิ้งเหอมีนามเดิมว่าหม่าซันเป่า คนไทยรู้จักกันดีในนามว่า "ซำปอกง" เกิดในครอบครัวชนชาติหุยมณฑลยูนนานในปีคริสต์ศักราช 1371 ปู่และพ่อของเขาล้วนเป็นชาวมุสลิมที่เคร่งครัด อีกทั้งเปี่ยมด้วยจิตใจนักผจญภัยด้วย ได้เคยไปแสวงบุญที่เมกกะมาแล้ว จึงรอบรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประเทศที่อยู่แดนไกลเป็นอย่างดี
เมื่อเจิ้งเหอมีอายุ 10 ขวบนั้น ได้เกิดสิ่งที่ไม่คาดฝันขึ้น คือ เจิ้งเหอถูกทหารองครักษ์จับตัวไปยังนครนานกิงพระราชธานีราชวงศ์หมิงซึ่งอยู่ห่างไกลบ้านเกิดของเขากว่าพันกิโลเมตร เพื่อถวายเป็นขันทีในราชสำนัก เนื่องจากเป็นคนมีพรสวรรค์และฉลาด ทำให้เจิ้งเหอเป็นคนโปรดของพระจักรพรรดิ และได้รับพระราชทานนามสกุลใหม่ว่า "เจิ้ง" และชื่อว่า "เหอ"
ปีคริสต์ศักราช 1405 เมื่อเจิ้งเหอมีอายุ 34 ปี จูตี้พระจักรพรรดิในเวลานั้นมีพระราชโองการให้เจิ้งเหอเป็นหัวหน้าคณะทูตไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับดินแดนที่อยู่แถบมหาสมุทรทางตะวันตกโดยขบวนเรือ ขบวนเรือของเจิ้งเหอออกเดินทางจากท่าเรือแม่น้ำแยงซีนอกนครนานกิง ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ บริเวณรอบๆ นครนานกิงในสมัยนั้นมีอู่ต่อเรือสามสิบถึงสี่สิบแห่ง เป็นแหล่งชุมนุมของช่างต่อเรือจากพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ฝีมือการต่อเรืออยู่ในระดับสูงสุดของโลกในเวลานั้น และเป็นแหล่งที่มาของขบวน "เรือสำเภา" ขนาดใหญ่ที่ใช้ในการเดินทางครั้งแรกของเจิ้งเหอ เรือสำเภาลำที่ใหญ่สุดมีตันระวางขับน้ำสูงถึงหนึ่งพันตัน จัดเป็นเรือทะเลที่เดินเรือทางไกลใหญ่ที่สุดในโลกในเวลานั้น ขบวนเรือสำเภาของเจิ้งเหอประกอบด้วยเรือสำเภาใหญ่เล็กต่างๆ หลายสิบลำ ลูกเรือทั้งหมดมีประมาณ 2 หมื่นนาย บรรทุกไว้บนเรือนั้นมีผ้าไหม เครื่องกระเบื้อง ศิลปหัตถกรรมและงานศิลปอื่นๆ มากมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่มีเฉพาะในจีนเท่านั้น
เมื่อถึงประเทศใด เจิ้งเหอก็ประกาศพระราชสาส์นของพระจักรพรรดิราชวงศ์หมิงของจีน แล้วนำสิ่งของพระราชทานจากพระจักรพรรดิราชวงศ์หมิงของจีนไปถวายแด่พระจักรพรรดิของประเทศนั้นๆ แล้วเชิญชวนประเทศเหล่านี้จัดส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชวงศ์หมิงของจีน ขบวนเรือสำเภาของเจิ้งเหอเดินทางไกลสุดถึงทะเลแดงและชายฝั่งทะเลตะวันออกของทวีปแอฟริกา ผ่านทวีปเอเชีย ยุโรปและแอฟริกาสามทวีปรวมกว่า 30 ประเทศและเขตแคว้น การเดินเรือรอบโลกของเจิ้งเหอมีประวัติเก่าแก่กว่าโคลัมบัสนักเดินเรือที่มีชื่อเสียงอีกผู้หนึ่งถึงกึ่งศตวรรษ
ในช่วง 28 ปี เจิ้งเหอเดินทางรอบโลกถึง 7 ครั้ง ในปีคริสต์ศักราช1435 เจิ้งเหอในวัย60กว่าได้ล้มป่วยจากความเหน็ดเหนื่อยและถึงแก่กรรมในเวลาต่อมา ณ ประเทศอินเดียระหว่างเดินทางกลับหลังเสร็จสิ้นการเดินเรือเป็นครั้งที่ 7 ขบวนเรือของเขานำร่างของเขากลับถึงประเทศ แล้วนำไปฝังไว้ที่บริเวณเชิงเขาด้านทิศใต้ของภูเขาหนิวโส่วซาน (แปลว่า ภูเขาหัวกระบือ) ในนครนานกิง ท่านผู้ฟังคะ การเดินเรือไปยังดินแดนแถบมหาสมุทรตะวันตกของเจิ้งเหอได้สร้างประวัติศาสตร์ให้ชาวจีนบุกเบิกพัฒนาเอเชียอาคเนย์ เนื่องจากเส้นทางการเดินเรือสำเภาของเจิ้งเหอได้เชื่อมเส้นทางคมนาคมทางทะเลจากจีนถึงพื้นที่ต่างๆ ของเอเชียอาคเนย์ทุกเส้นทาง เปิดทางให้ชาวจีนจำนวนมากย้ายถิ่นไปยังเอเชียอาคเนย์มากกว่าในอดีต
ปี 2005 เป็นปีครบรอบ 600 ปีแห่งการเดินเรือรอบโลกของเจิ้งเหอ จีนจึงจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อรำลึกถึงเจิ้งเหอ ผู้ซึ่งเคยสร้างคุณูปการในด้านการเดินเรือของโลกและในฐานะทูตสันถวไมตรีระหว่างจีนกับโลก
"ซำปอกง" เทพเจ้าแห่งการเดินเรือ
คุณูปการ
ของเจิ้งเหอที่มีต่อชาติจีนและชาวโลกนั้นมหาศาล
ชาวจีนทั้งในประเทศจีนและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กองเรือของเขาเคย
จอดแวะ ได้ตั้งศาลสักการะเจิ้งเหอเป็นเทพเจ้าแห่งการเดินเรือ เรียกว่า ศาลเจ้าซำปอกง
ทั้งๆ ที่เจิ้งเหอเป็นมุสลิม ศาลเจ้าในแถบตะวันออกเฉียงใต้มีที่สะมารัง
จ.ชวาตะวันออก ปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา ในประเทศอินโดนีเซีย มะละกา ปีนัง
กูชิง กัวลาตรังกานู ในประเทศมาเลเซีย ซูลู ในประเทศฟิลิปปินส์
ประเทศบรูไนและในประเทศไทย
.............................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น