ฉายา อัลเฟรดมหาราช(Alfred the Great)
- พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช.ราชวงค์เวสเซ็กซ์
ตำแหน่ง พระมหากษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์
- มหาราชพระองค์เดียวแห่งชนชาติอังกฏษ
สัญชาติเวสเซ็กซ์-อังกฏษ(WESSEX )
พระบิดาพระเจ้าเอเธลวูล์ฟแห่งเวสเซกซ์(Aethelwulf)
พระมารดาออสเบอร์กา(Osburh)
อัครมเหสี เอลสวิธ
บุตรเอ็ดเวิร์ดเดอะเอลเด้อ(Edward the Elder)
ครองราชย์ 28 ปี
- 23 เมษายน ค.ศ. 871 - 26 ตุลาคม ค.ศ. 899
พระราชสมภพ ราว ค.ศ. 849
- แวนเทจ, บาร์คเชอร์(Wantage - Oxfordshire)
สวรรคต 50 พรรษา - 26 ตุลาคม ค.ศ. 899
- วินเชสเตอร์(Winchester)
พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช (Alfred the Great) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ ทรงมีชื่อเสียงในการป้องกันราชอาณาจักร จากการรุกรานของชาวไวกิงจากเดนมาร์ก และเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษพระองค์เดียวที่รับสมญานามว่า “มหาราช” พระเจ้าอัลเฟรดทรงเป็นกษัตริย์แห่งแซกซันตะวันตกพระองค์แรก ที่ทรงแสดงพระองค์ว่าเป็นกษัตริย์แห่งชาวแองโกล-แซกซัน ทรงเป็นผู้มีการศึกษาดี และทรงส่งเสริมการศึกษาและปรับปรุงทางด้านกฎหมายในราชอาณาจักรและระบบการทหาร พระราชประวัติของพระองค์ถูกกล่าวถึงในงานเขียนของแอสเซอร์ (Asser) นักปราชญ์ชาวเวลส์
พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช เสด็จพระราชสมภพประมาณระหว่างปี ค.ศ. 847 ถึง ปี ค.ศ. 849 ที่แวนเทจ ในปัจจุบันอยู่ในเทศมลฑลบาร์กเชอร์พระเจ้าอัลเฟรดเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 5 และองค์เล็กของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟแห่งเวสเซ็กซ์ และออสเบอร์กาพระชายาองค์แรก
ในปี ค.ศ. 868 พระเจ้าอัลเฟรดทรงเสกสมรสกับ เอลสวิธ (Ealhswith) ธิดาของเอเธลเรด มูซิลล์ผุ้เป็นผู้ปกครองไกนิ (Gaini) กล่าวกันว่าเมื่อพระเจ้าอัลเฟรดพระชนมายุได้ 5 พรรษาทรงถูกส่งตัวไปกรุงโรม และจากบันทึกเหตุการณ์แองโกล-แซกซัน สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 4 ก็ประกาศยอมรับและ “เจิมว่าเป็นกษัตริย์” สาเหตุมาจากการที่พระเจ้าอัลเฟรดเสด็จติดตามพระราชบิดาไปแสวงบุญที่โรมต่อมาและประทับที่ราชสำนักของพระเจ้าชาร์ลพระเศียรล้าน (Charles the Bald) พระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสอยู่ระยะหนึ่งราวปี ค.ศ. 854 หรือ ค.ศ. 855
ในปี ค.ศ. 856 เสด็จกลับมาจากโรม ตอนนี้เอง พระเจ้าเอเธลวูลฟ ถูกโค่นอำนาจโดยเอเธลบอลด์ (Æthelbald) พระโอรส เมื่อเอเธลวูล์ฟสิ้นพระชนม์เมื่อ ค.ศ. 858 เวสเซ็กซ์จึงปกครองโดยพระเชษฐาสามพระองค์ของพระเจ้าอัลเฟรดต่อเนื่องกันมา แอสเซอร์กล่าวว่าเมื่อพระเจ้าอัลเฟรดยังทรงพระเยาว์ทรงได้รับรางวัลเป็นหนังสีอโคลงกลอนเป็นภาษาอังกฤษจากพระมารดาและเป็นพระโอรสองค์แรกที่ทรงจำโคลงกลอนจากหนังสือเล่มนั้นได้อย่างแม่นยำ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องจริงหรืออาจจะเป็นเรื่องที่เล่าเพื่อสร้างเสริมพระบารมีในความที่มีชื่อว่าเป็นผู้รักการศึกษาเล่าเรียนก็ได้
ในปี ค.ศ. 866 พระเจ้าเอเธลเรดที่ 1 ขึ้นครองราชย์ พระเจ้าอัลเฟรดก็เริ่มมีบทบาททางการปกครอง ซึ่งเป็นช่วงที่แอสเซอร์ถวายตำแหน่งที่เป็นเอกลักษณ์ให้ว่า “secundarius” ซึ่งอาจจะเป็นตำแหน่งเทียบกับตำแหน่ง “tanist” ของชาวเคลต์ ซึ่งหมายถึง “ผู้สืบราชบัลลังก์” หรือผู้ที่มีความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์และเป็นผู้ที่ยอมรับกันว่าจะเป็นสืบราชบัลลังก์ต่อไป
ในปี ค.ศ. 868 พระเจ้าอัลเฟรดทรงต่อสู้ร่วมกับพระเจ้าเอเธลเรดในสงครามต่อต้านการรุกรานของชาวเดนส์ในอาณาจักร์เมอร์เซียแต่มิได้ประสบความสำเร็จ ไวกิงมิได้รุกรานเวสเซกซ์ อยู่สองปีเพราะอัลเฟรดทรงจ้างไม่ให้รุกราน
ในมีนาคม ค.ศ. 871 พระเจ้าเอเธลเรดเสด็จสวรรคต อัลเฟรดขึ้นครองราชบัลลังก์เวสเซกซ์ต่อจากพระเชษฐาผู้มีมีพระโอรสของพระองค์เองที่ยังทรงพระเยาว์สองพระองค์ โดยปราศจากการประท้วงในสิทธิการสืบราชบัลลังก์ของพระองค์เพราะทรงเป็นผู้มีความปรีชาสามารถทางการทหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่บ้านเมืองต้องการ
ขณะที่ทรงยุ่งกับพิธีทำพระศพของพระเชษฐา ชาวเดนส์ก็แอบโจมตีท้ายครัว และโจมตีต่อพระพักตร์ที่วิลต์ตันในแคว้นวิลท์เชอร์ในเดือนพฤษภาคม หลังจากนั้นบ้านเมืองก็มีความสงบสุขอยู่ราวห้าปีขณะที่ชาวเดนส์ยึดครองส่วนอื่นของอังกฤษ
ในปี ค.ศ. 877 ภายใต้กูธรัมผู้อาวุโส (Guthrum the Old) ผู้นำคนใหม่ ในขณะที่แสร้งทำการเจรจาเดนส์ก็กลับไปโจมตีและพยายามยึดครอง เอ็กซีเตอร์ ในแคว้นเดวอน แต่พระเจ้าอัลเฟรดทรงสามารถปิดท่าขณะที่กองเรือของชนชาวเดนส์ถูกพายุกระหน่ำจนจำต้องพ่ายแพ้และถอยทัพไปยังเมอร์เซีย
มกราคม ปี ค.ศ. 878 ชาวเดนส์ก็กลับมาจู่โจมชิพเพ็นนัมที่เป็นที่มั่นและเป็นที่ประทับของพระเจ้าอัลเฟรดระหว่างคริสต์มาสโดยไม่รู้ตัว จนต้องทรงถอยไปตั้งหลักที่เอเธลนีย์ ขณะที่หลบภัยจากข้าศึกพระเจ้าอัลเฟรดทรงตั้งที่มั่นเป็นที่ต่อต้านศัตรูอยู่ที่บริเวณเกาะเลนใกล้เพเธอร์ตันเหนือ (North Petherton) โดยใช้กองทหารท้องถิ่นจากเทศซัมเมอร์เซต วิลต์เชอร์ และแฮมป์เชอร์
ตำนานการปลอมพระองค์อีกเรื่องหนึ่งคือเมื่อทรงปลอมเป็นนักดนตรีเข้าไปสืบแผนการโจมตีอังกฤษในค่ายของ กูธรัมผู้อาวุโส ผลจากการกระทำครั้งนี้ทำให้ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ทำให้อังกฤษถูกแบ่งเป็นสองส่วน ด้านใต้อยู่ภายใต้การปกครองของแซ็กซอน และบริเวณทางเหนือรวมทั้งลอนดอนที่รู้จักกันในนาม “บริเวณเดนลอว์” อยู่ภายใต้การปกครองของไวกิง
ในปี ค.ศ. 893 เมื่ออำนาจในยุโรปเริ่มอ่อนแอลงชนชาวเดนส์ก็หันมารุกรานอังกฤษ ครั้งนี้มากับกองทัพเรือที่ประกอบด้วยเรือ 330 ลำ ที่แบ่งเป็นสองกองๆ ใหญ่ กองใหญ่ตั้งอยู่ที่มั่นอยู่ที่แอปเปิลดอร์ (Appledore) และกองเล็กที่มิลตัน (Milton) ภายใต้การนำของ เฮสเตน (Haesten) กองกำลังรุกรานนำครอบครัวรวมทั้งผู้หญิงและเด็กมาด้วยเพื่อมาตั้งถิ่นฐานและยึดอังกฤษเป็นอาณานิคม
ในปี ค.ศ. 894 พระเจ้าอัลเฟรดทรงตั้งที่มั่นตรงจุดที่ทรงสามารถมองเห็นกองกำลังของศัตรูทั้งสองกองได้พร้อมกัน แต่ขณะที่ทรงทำการเจรจากับเฮสเตน กองกำลังที่แอปเปิลดอร์ก็แยกตัวออกไปโจมตีทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ แต่ก็พ่ายแพ้ต่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโสพระราชโอรสองค์โตของพระองค์ และมาพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ที่ฟาร์นแนม (Farnham) ในมณฑลเซอร์รี (Surrey) จนต้องถอยไปหลบอยู่บนเกาะในแม่น้ำโคลนแต่ในที่สุดก็ต้องยอมพ่ายแพ้ และถอยไปที่เอสเซ็กส์แต่ก็ไปแพ้อีกครั้งหนึ่งที่เบ็นฟลีท
หลังจากนั้นก็ไปถอยไปรวมตัวกับเฮสเต็นที่ชูบรี (Shoebury) ขณะที่พระเจ้าอัลเฟรดเสด็จนำทัพไปยังทอร์นีย์เพื่อไปช่วยพระราชโอรสก็ทรงได้รับข่าวว่าชนชาวเดนส์เข้าล้อมเมือง พระเจ้าอัลเฟรดจึงหันทัพกลับไปทางตะวันตกเพื่อไปหยุดยั้งการรุกรานที่เอ็กซีเตอร์ จนเกิดการสู้รบขึ้น กองทัพเดนส์พยายามหนีจากแนวแต่ไม่สำเร็จ ผู้ที่หนีได้ก็หนีไป กองทัพอังกฤษพยายามเข้าต่อสู้และเข้าทำลายกองเสบียง จนสำเร็จ
เมื่อต้นปี ค.ศ. 895 กองทัพเดนส์ก็ถอยทัพกลับไปมณฑลเอสเซ็กส์เพราะขาดเสบียง พอปลายปี ก็ล่องกองเรือขึ้นแม่น้ำเทมส์และแม่น้ำลีและไปตั้งที่มั่นอยู่เหนือตัวเมืองลอนดอน แม้จะพยายามโจมตีกองทัพของเดนส์แต่ก็ล้มเหลว ต่อมาได้คิดแผนที่จะปิดแม่น้ำ ทำให้กองทัพเดนส์ไม่มีทางเลือกต้องถอยกลับไปผืนแผ่นดินใหญ่
หลังจากที่กำจัดกองทัพเดนส์ได้ ทรงเสริมกำลังทางน้ำให้แข็งแกรางมากขึ้น และทรงเข้าร่วมสงครามทางทะเลหลายครั้ง
วันที่ 26 ตุลาคม ปี ค.ศ. 899 พระเจ้าอัลเฟรดเสด็จสวรรคต สาเหตใดก็ไม่เป็นที่ทราบแน่นอน แต่ตลอดพระชนม์ชีพ พระองค์ก็ประชวรด้วยพระอาการหลายอย่างซี่งอาจจะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารก็ได้
หลังจากเสด็จสวรรคตพระบรมศพถูกนำไปเก็บไว้ชั่วคราวที่มินส์เตอร์เก่าที่วินเชสเตอร์ ต่อมาก็อัญเชิญไปที่มินสเตอร์ใหม่ซึ่งอาจจะสร้างสำหรับบรรจุพระบรมศพโดยเฉพาะแต่ในรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ที่ฝังพระศพก็ถูกปล้นโดยเจ้าของวัดใหม่ โลงพระศพถูกหลอมเอาตะกั่ว พระศพที่เหลือก็ถูกฝังอย่างไม่มีพิธีรีตองในลานวัด แต่หลุมพระศพถูกขุดขึ้นมาอีกครั้งระหว่างการสร้างคุกใหม่ในปี ค.ศ. 1788 ทำให้กระดูกกระจัดกระจายไปหมด แต่กระดูกที่พบในบริเวณคล้ายเคียงกันในคริสต์ทศวรรษ 1860 ได้รับการประกาศว่าเป็นกระดูกของพระองค์ ในการขุดค้นทางโบราณคดีในปี ค.ศ. 1999 ในหลุมที่เชื่อว่าเป็นหลุมของพระองค์ พระชายาและพระโอรสแทบจะไม่พบซากใด ๆ ในหลุม
...........................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น