ฉายา ราชันย์เหนือราชาไซรัสมหาราช (Cyrus the Great)
ตำแหน่ง มหาราชนักรบไซรัสแห่งเปอร์เซีย(Cyrus king of Persia)
- ปฐมกษัตริย์แห่งจักรวรรดิอาคีเมนิด (Achaemenid Empire)
-กษัตริย์ผู้ปกครองทั้ง4ทิศ(King.of.the.Four Corners of the World)
สัญชาติ เปอร์เซีย-อีหร่าน( Old PERSIAN)
พระบิดาพระเจ้าแคมไบซิสที่ 1(Cambyses I)
พระมารดา นางแมนดาเนแห่งมีเดีย(Mandane)
พระมเหสี นางแคสแซนดาเน
โอรส/ธิดา แคมไบซิสที่ 2 ,บาร์ดียา ,อาร์ติสโตน ,อาทอสซา
ครองราชย์ ปีที่ 556 ถึง 530 ก่อนคริสตกาล
พระราชสมภพ ราวปีที่ 600 หรือ 576 ก่อนคริสตกาล
- อันฉาน เปอร์เซีย(Anshan - Persia)
สวรรคต อายุประมาณ 46-70ปี - 4 ธันวาคมปีที่ 530.BC
- ริมฝั่งแม่น้ำซีร์ ดาร์ย่า(Syr Darya)
พระเจ้าไซรัสที่ 2 แห่งเปอร์เซีย (Cyrus II of Persia) พระองค์ทรงผนวกขึ้นจากอารยรัฐแถบตะวันออกใกล้แต่เดิม และทรงขยายจนเจริญกว้างขวางกระทั่งทรงมีชัยเหนือเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียกลางส่วนใหญ่ ยุโรปบางส่วน และคอคาซัส (Caucasus) ด้วย พระองค์จึงเฉลิมนามรัชกาลว่า "พระมหาราชผู้เป็นพระเจ้ากรุงเปอร์เซีย พระเจ้ากรุงอันชัน พระเจ้ากรุงมีเดีย พระเจ้ากรุงแบบาลอน พระเจ้ากรุงซูเมอร์กับแอแกด พระเจ้าแว่นแคว้นทั้งสี่แห่งแผ่นดินโลก" ในราวปีที่ 539 ถึง 530 ก่อนคริสตกาล พระองค์ยังได้ตราจารึกทรงกระบอก เรียก "กระบอกพระเจ้าไซรัส" (Cyrus Cylinder) มีเนื้อหาซึ่งถือกันว่าเป็นประกาศสิทธิมนุษยชนฉบับต้น ๆ ของโลกด้วย
ตามจารึกแห่งไซรัส (Cyrus Cylinder) ที่ถูกค้นพบในปี 1879 ในอิรัก คาดว่าจารึกแห่งไซรัสนี้ถูกสร้างขึ้นในปี 539-530 BC จารึกซึ่งสลักด้วยอักษาอัคคาเดียน คูนิฟอร์ม (Akkadian cuneiform) ที่ได้กล่าวถึงกษัตริย์แห่งอคาเมนิด (Achaemenid) ไซรัส
เปอร์เซียในสมัยโบราณจัดเป็นชนชาติ อารยะที่เจริญรุ่งเรือง ทั้งด้านวัฒนธรรม การเมืองและการทหาร แต่เดิมพวกเค้าเป็นชนเผ่าที่อพยพย้ายถิ่นมาจากบริเวณทะเลสาปแคสเปี้ยนเข้ามา ตั้งถิ่นฐานใหม่ในดินแดนเมโสโปเตเมีย โดยแยกออกเป็น 2 กลุ่มแยกกันอยู่ พวกหนึ่งเรียกตัวเองว่า มีเดีย(Media) ซึ่งเป็นชนชั้นสูงส่วนอีกพวกที่มีกำลังน้อยกว่าเรียกว่าเปอร์เซีย(Persia) แม้ทั้งสองชนชาติจะมีรากฐานเดียวกันแต่กลับไม่ลงรอยกันนักมักก่อสงคราม ต่อกันบ่อยครั้ง
ในปี 590 ก่อนคริสตกาล เมื่อไซรัสอายุได้ 10 ปี เขาได้พบกับกษัตริย์ออสเตียเจส ผู้เป็นตาของตนเอง ทำให้กษัตริย์ออสเตียเจสรู้สึกสงสัยในหน้าตาของไซรัส จึงได้คาดคั้นเอาความจริงจากฮาร์ปากัส ซึ่งสารภาพว่าไม่ได้ฆ่าไซรัสเมื่อตอนเด็ก หลังจากลงโทษฮาร์ปากัสแล้ว กษัตริย์ออสเตียเจสได้อนุญาตให้ไซรัสกลับมาอยู่พ่อแม่ที่แท้จริง ไซรัส อภิเษกกับ คาสซานเดน (Cassandane) และมีลูกด้วยกันสี่คน คือ แคมไบเซส ที่ 2 (Cambyses II), บาร์ดิย่า (Bardiya~Smerdis), อตอสซ่า (Atossa) และอีกคนไม่ทราบชื่อ , บางข้อมูลบอกว่าไซรัสยังมีลูกคนที่ 5 ชื่อ อาร์ติสโตน (Artystone) ซึ่งอาจจะเกิดจากนางสนมหรือจากคาสซานเดน
559 ปีก่อนคริสตกาล แคมไบเซส ที่ 1 ผู้เป็นพ่อเห็นว่า ไซรัสผู้เป็นบุตรชายเป็นผู้มีความสามารถและช่วยทำให้บ้านเมืองเจริญขึ้นจึงทรง สละราชสมบัติ และให้ไซรัสขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งแอนชาน แทนตน
553 ปีก่อนคริสตกาล ไซรัสและฮาร์ปากัส เริ่มพยายามนำชาวเปอร์เซียก่อกบฏเพื่อโค่นอำนาจของกษัตริย์ออสเตียเจส โดยเร้ิ่มต้นจากการส่งคนไปผูกมิตรกับอาณาจักร บาบิโลน อย่างลับๆ จนในที่สุดกษัตริย์แอสไทอะจิสทรงเรียกเข้าพบเพื่อให้อธิบายถึงข้อเท็จจริง แต่พระองค์ก็ไม่ทรงไป และเป็นจุดเริ่มต้นของการประกาศตนเป็นเอกราชไม่ขึ้นตรงกับอาณาจักร มีเดีย
551 ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์แคมไบเซสที่ 1 พ่อของไซรัส เสด็จสวรรคต พระเจ้าไซรัส ทรงเริ่มกรีฑาทัพบุกดินแดนต่างๆของเพื่อนบ้าน อย่างต่อเนื่องกันเป็นลำดับ
547 ปีก่อนคริสตกาล ต่อมาได้บุกเข้าตีกรุงเอ็คบาตาน่า (Ecbatana) ของอาณาจักรมีเดียและโค่นกษัตริย์ออสเตียเจสได้สำเร็จ แต่ก็ไม่ทรงฆ่า ออสเตียเจสเพราะมีศักดิ์เป็นเสด็จตาของตน และยังให้ครองเมืองเช่นเดิมเพียงแต่ต้องเป็นเมืองใต้ปกครองของอาณาจักรใหม่
546 ปีก่อนคริสตกาล ไซรัสสถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์แห่งมีเดีย แต่ว่าได้เปลี่ยนชื่ออาณาจักรมีเดีย มาเป็นอาณาจักรเปอร์เซีย (Persia) และไซรัสได้เริ่มก่อสร้างเมืองหลวงของเปอร์เซีย ชื่อ กรุงปาซาร์กาด (Pasargad) ช่วงนี้เองที่บรรดาอาณาจักรโดยรอบต่างพากันยำเกรงอาณาจักรเปอร์เซียใหม่เป็นอย่างมากที่สามารถตีอาณาจักร มิเดียแตกได้จึงเกิดการรวมตัวของอาณาจักรโดยรอบเพื่อเป็นพันธมิตรในการต่อต้านเปอร์เซีย นำโดยอาณาจักรมิเดีย ร่วมด้วยอียิปต์และบาบิโลน โดยทั้งสามเมืองหวังจะรวมตัวกันเข้าตีเปอร์เซียพร้อมกัน แต่แผนรั่วซะก่อนที่จะรวมตัวกันได้
โดยพระเจ้า ไซรัสยกทัพเข้าตี จักรวรรดิลิเดีย ที่เป็นหัวหอกก่อน (Lydia Empire บริเวณตุรกีปัจจุบัน)โดยส่งสารไปถึงกษัตริย์ คีซัสว่า "เจ้าจงรีบเร่งเดินทางมาที่ ออคบาน่า นะบัดนี้ เพื่อยอมรับโทษและยอมเป็นข้ารองบาทแก่แต่โดยดี" กษัตริย์คีซัสเมื่อได้อ่านก็ทรงพิโรธเป็นอันมากที่เด็กเมื่อวานซืนอย่างไซรัสกล้ามากระตุกหนวกเสือ จึงทรงคุมทัพออกศึกด้วยตัวเอง ต่างผลัดกันแพ้พลัดกันชนะจนย่างเข้าฤดูหนาว พระเจ้าคีซัสเสียไพร่พลไปมากจึงถอยทัพกลับเข้าเมือง พระเจ้าไซรัสเห็นศัตรูถอยทัพก็เกรงว่าหากรบยืดเยื้ออาจถูกเมืองอื่นตลบหลังได้จึงติดตามไปจนถึงกำแพงเมืองและพูดท้าทายให้ กษัตริย์คาซัสออกมารบต่อเพื่อให้รู้แพ้ชนะ เมื่อถูกท้าทายกษัตริย์คาซัสนำทัพม้ากองใหญ่ เข้าโจมตีใส่ทัพของพระเจ้าไซรัส แต่นั่นคือความผิดพลาดพระเจ้าไซรัสใช้ อูฐแทนม้า เมื่อม้าเห็นอูฐก็พยศ วิ่งไปคนละทิศละทางจนในที่สุดก็พ่ายแพ้ต่อทัพอูฐของพระเจ้าไซรัส
540 ปีก่อนคริสตกาล กันยายน,ไซรัสบุกบาบิโลน (Babylon) สมรภูมิโอพิส (Battle of Opis) 7 ตุลาคม, ทหารของเปอร์เซีย นำโดย กุบารุ (Gubaru) เดินสวนสนามเข้าไปยังบาบิโลได้โดยปราศจากการต่อต้าน กล่าวกันว่าพระราชินีนิโตกริส (Nitokris) ของบาบิโลนไม่ต้องการให้ประชาชนเดือดร้อน จึงได้สั่งให้มีการระบายน้ำจากแม่น้ำยูเฟรเตส (Euphrates river) เข้าไปในคลองเพื่อให้น้ำลดลง และทหารของเปอร์เซียก็สามารถเดินข้ามแม่น้ำได้สะดวก 29 ตุลาคม, ไซรัส เดินทางเข้าไปยังบาบิโลนด้วยพระองค์เอง และต่อมาได้สถาปนาพระองค์เองเป็นกษัตริย์แห่งบาบิโลน ซึ่งพระองค์ปกครองบ้านเมืองอยู่ดีมีสุขและเป็นที่รักของประชาชน
539 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากชนะเมืองใหญ่ทั้งสองได้เป้าหมายต่อไปคือ อียิปต์ที่ปกครองโดย ฟาร์โรอมาซิสที่ 2 ซึ่งจัดเป็นกษัตริย์ที่มีความสามารถพระองค์หนึ่ง การปกตีคงไม่ใช่เรื่องง่ายประกอบกับการรบสองครั้งที่ผ่านมาเสียไพร่พลไปมาก การบุกครั้งนี้จึงต้องรอไปก่อน
530 ปีก่อนคริสตกาล ธันวาคม ไซรัส สวรรคต, จากการรบกับ ชาวเมสซาไท (Massagetae) ซึ่งอยู่บริเวณเอเซียกลาง ระหว่างที่ตั้งค่ายอยู่ริมฝั่งแม่น้ำซีร์ ดาร์ย่า (Syr Darya) โทไมริส (Tomyris) พระราชนีแห่งเมสซาไท ได้นำทัพออกมารบกับไซรัสด้วยพระองค์เอง และไซรัสเสียชีวิตในการรบ แต่บ้างก็ว่าทรงเสียชีวิตตอนรบกับชาวดาเฮีย (Dahae) บริเวณต้นแม่น้ำซีร์ ดาร์ย่า และถูกสังหาร และสุดท้ายว่ากันว่า ไซรัสนำทหารไปปราบการกบฏของเผ่าเดอร์บิเซส (Derbices) และได้รับบาดเจ็บสาหัส ซึ่งเป็นเหตุให้สวรรคตในเวลาต่อมา สุดท้ายแบบท้ายสุด พระเจ้าไซรัสทรงสวรรคตอย่างสงบภายในกรุงปาซาร์กาด
สุสานฝังพระศพของกษัตริย์ไซรัสถูกสร้างขึ้นด้วยหินปูนสีขาว ตั้งอยู่ในกรุงปาซาร์กาด เมือง หลวงแห่งอาณาจักรของพระองค์ ซึ่งเมืองนี้ตั้งอยู่ในอิหร่านยุคปัจจุบัน ราชวงศ์ที่พระองค์ได้ทรงสถาปนาขึ้นมา น่าจะทำสงครามหลายครั้งกับนครรัฐของอาณาจักรกรีกโบราณ ก่อนที่จะถูกพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช พิชิตได้ในที่สุด
ตำนานกองทัพอมตะแห่งไซรัส(Immortal)
การแผ่ขยายอาณาจักรของกษัตริย์ไซรัส ยังทิ้งร่องรอยอารยธรรมของเปอร์เซีย เช่นภาษา ตัวอักษร วัฒนธรรม ไปยังเมืองต่างๆ รวมถึงการรับเอาวัฒนธรรมของเมืองที่อยู่ภายใต้อาณัติการปกครอง มาใช้ในเมืองของตนเอง โดยสิ่งที่โดดเด่นอีกอย่างคือกองกำลังที่แข็งแกร่งของพระองค์ที่มีชื่อว่า อิมมอร์ทัลส์(IMMORTAL) กองทัพอมตะแห่งเปอร์เซีย เป็นนักรบที่เก่งกาจจนหาผู้ใดที่จะเทียบเคียงได้ในยุคนั้น และมีระบบการจัดการกองทัพที่ชาญฉลาด มีกองเสบียงที่มีสัตว์เลี้ยงและเกษตรกรเพื่อการเพาะปลูก แต่ละกองจะมีกำลังพล 10,000 คน โดยแต่ละคนถูกคัดจากทหารราบในแต่ละกองเพื่อถูกฝึกให้เป็นกองกำลังที่แข็งแกร่งที่สุด โดยจำนวนจะเป็น 10,000 เสมอไม่ว่าจะป่วยหรือบาดเจ็บจะถูกคัดออกและถูกแทนที่ทันทีอันเป็นที่มาของชื่อ กองทัพอมตะที่จำนวนจะไม่มีวันลดลงไม่ว่าจะผ่านการรบสักกี่ครั้ง
กองกำลังติดอาวุธ หอกยาวมีปลายเป็นทอง(Short spears) โล่หวายติดแผ่นเหล็ก(Wicker shields) ดาบและมีดสั้นอาหรับ(Swords or large daggers) ธนูกับลูกศร (Bow and arrow)เกราะหนาใต้เสื้อคลุม(Armour coat) ติดตามมาด้วยกองสเบียงอาหารที่จัดเฉพาะพิเศษให้พวกเค้า และยังมีผู้หญิงอีกจำนวนติดตามมาด้วยเพื่อให้ความสูขในยามพักรบ
ปรากฏครั้งแรกในการเข้ายึดเมืองบาบิโลนในสมัยกษัตริย์นาโบนีดัส กษัตริย์ไซรัสใช้การปิดล้อมโดยไม่มีการทำลายสิ่งใดทั้งสิ้น จนกระทั่งชาวเมืองเปิดประตูเมืองต้อนรับแต่โดยดี และเป็นการเข้าเมืองอย่างสันติ กษัตริย์ไซรัสยังสั่งให้มีการปลดปล่อยทาสและเชลยศึกที่ถูกอาณาจักรบาบิโลนคุมขังมาตั้งแต่ครั้งอดีต โดยเฉพาะชาวอิสรออีล
ดินแดนที่มีร่องรอยของการเดินทัพ อิมมอร์ทัลส์(IMMORTAL) ของกษัตริย์ไซรัสและอยู่ภายใต้อาณัติการปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย มีดังนี้
ทิศตะวันออก ครอบคลุมอัฟกานิสถาน ปากีสถาน จรดประเทศอินเดีย รวมถึงเตอร์กเมนิสถาน ทาจิกิสถาน อุซเบกิสถาน และคีร์กิสถาน ที่ติดกับมณฑลซินเกียง ประเทศจีนในปัจจุบัน
ทิศตะวันตก ครอบคลุมอาณาจักรบาบิโลน(อิรัก) อาณาจักรยูดาห์(อิสราเอล) อาณาจักรอัสซีเรีย(ซีเรีย) อาณาจักรอียิปต์โบราณ รวมถึงประเทศลิเบีย อาณาจักรลิเดีย(ตุรกี) และอาณานิคมบางส่วนของอาณาจักรกรีก ตามแนวชายฝั่งตะวันออกของทะเลเอเจียน (ตุรกีและมาซิโดเนีย
ทิศเหนือ แผ่ขยายจรดเทือกเขาคอเคซัส ที่อยู่ระหว่างทะเลดำและทะเลแคสเปียน ครอบคลุม อาร์เมเนีย จอร์เจีย และอาเซอร์ไบยัน
ทิศใต้ ติดอ่าวเปอร์เซีย อ่าวอาหรับ อ่าวโอมาน และทะเลอาราเบียน
ขอบคุณบทความจาก Alquranstories.
..............................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น