ฉายาพยัคฆ์เหิน(Tiger With Wings
-หมาป่าเหลียวหลัง สุมาอี้ ผู้พิชิตสามก็ก
ตำแหน่งจักรพรรดิชวนแห่งราชค์วงจิน(Emperor Xuan)
ปรากฏพงศาวดารจีน-สามก็ก(Romance of the Three Kingdoms)
สัญชาติ จีน(Chinees)
บิดาสุมาหอง-เจ้าเมืองโฮโล่
พี่น้อง ชายหญิงรวม 7คน
บุตรและธิดาสุมาสู ,สุมาเจียวและ สุมา หลุน
หลาน สุมาเอี๋ยน และ สุมาฮิว
กำเนิด ประมาณ ค.ศ. 179
-อำเภออุน เมืองเหอเน่ย.(โห้ลาย ) มณฑลเหอหนาน
เสียชีวิตอายุ73.ปี-7.กันยายน ค.ศ. 251
- เมืองลกเอี๋ยง ประเทศจีน
ลักษณะพิเศษแววตาแหลมเล็กคล้ายตาเหยี่ยว..เฉลียวฉลาด ชำนาญตำราพิชัยสงคราม หนักแน่นเด็ดขาดในการตัดสินใจ
อาวุธ พัดวิหกสามขา(ซานชิง - Suanxing)
สุมาอี้ หรือ ซือหม่าอี้ (Sima Yi) นายทหารคนสำคัญของวุยก๊ก หลังยุคที่โจโฉสิ้นไปแล้วมีชื่อรองว่า ชงต๊ะ ในเรื่องสามก๊กนั้นยกย่องขงเบ้งเป็นกุนซือที่เก่งที่สุด และโจโฉเป็นคนที่เหี้ยมที่สุด แต่สุดท้ายสุมาอี้น่าจะเป็นคนที่ร้ายกาจที่สุดในสามก๊ก…เพราะเป็นคนทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของตนได้เสมอ โดยไม่สนใจในเรื่องคุณธรรมศักดิ์ศรี และมีความใจดำอำมหิตอยู่เต็มหัวใจ ซึ่งนิสัยนี้มักเป็นของผู้มีอำนาจในประวัติศาสตร์ทุกยุคสมัย สุมาอี้เริ่มต้นจากการรับราชการตำแหน่งเล็กก่อนที่จะไต่เต้าไปสู่ตำแหน่งเสนาธิการและแม่ทัพ อย่างไรก็ตาม ความสุขุมลุ่มลึกของสุมาอี้นั้น ทำให้แม้แต่โจโฉยังไม่ไว้วางใจ และเคยเตือนบุคคลรอบข้างให้ระวังสุมาอี้ เมื่อโจโฉและโจผีสิ้นลง โจยอยได้ขึ้นครองราชย์ สุมาอี้ได้รับตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ของวุยก๊ก และเป็นคู่ปรับคนสำคัญของขงเบ้ง
.........................
สุมาอี้ หรือซือหม่าอี้ ชื่อรอง จงต๊ะ เป็นบุตรชายคนรองของสุมาฮอง ผู้ว่าการแห่งนครหลวงลั่วหยางในตระกูลขุนนางชั้นสูงแห่งเฮอไน คำว่าซือหม่านั้นจะเป็นเหมือนกับยศถาที่ให้แก่ชนชั้นตระกูลขุนนางที่สืบทอด กันมายาวนาน ซึ่งบรรพบุรุษของสุมาอี้นั้นรับราชการมาตั้งแต่สมัยของฌ้อปาอ๋อง โดยพูดได้ว่าสุมาอี้นั้นเกิดมาเพื่อเป็นชนชั้นปกครองโดยเฉพาะ
ในวัยเด็กเขาได้รับการศึกษา ร่ำเรียนสรรพวิชา หลักปรัชญาของขงจื๊อ เม่งจื๊อ เรียนหลักพิชัยสงคราม หลักการปกครอง และรำทวน ขี่ม้า ยิงธนู เรียกว่าได้เรียนทุกอย่างครบเครื่องตามแบบฉบับของบุตรที่เกิดจากตระกูลขุน นางเลยทีเดียว และจะว่าไปเขาก็มีพื้นเพการศึกษามาคล้ายๆกับโจโฉ สุมาอี้นับเป็นคนดังคนหนึ่งแห่งเฮอไน ด้วยความอัจฉริยะและความฉลาดหลักแหลมจนเป็นที่กล่าวขวัญ ประกอบกับตระกูลสุมาและโจโฉนั้นมีบุญคุณผูกพันกันอยู่เนื่องจากสุมาฮองบิดา ของสุมาอี้นั้นเคยช่วยเหลือโจโฉในสมัยที่ยังรับราชการในเมืองหลวง ด้วยความสัมพันธ์เช่นนี้ทำให้โจโฉอยากได้สุมาอี้ตัวมารับใช้ แต่เขาไม่อยากไปอยู่กับโจโฉ จึงแกล้งป่วยเพื่อบอกปัดไม่ไปอยู่กับโจโฉ แต่โจโฉขู่ว่าหากไม่มาจะจับฆ่าเสีย
สุมาอี้จึงจำต้องเข้ารับราชการโจโฉเมื่อได้ตัวสุมาอี้มาแล้ว ก็ให้เขาเป็นเสนาธิการ ที่ปรึกษาด้านการทหาร แต่ก็น่าแปลกที่โจโฉไม่ค่อยจะเชื่อในคำแนะนำของสุมาอี้เท่าใดนัก ทั้งที่ๆความเห็นที่เขาเสนอต่อโจโฉนั้นค่อนข้างจะเฉียบขาดและยอดเยี่ยม เขาทำสงครามปราบปรามอ้วนเสี้ยวทางภาคเหนือลงได้ ทำให้กลายเป็นผู้ยิ่งใหญ่ควบคุมแผ่นดินภาคเหนือและกลางขอประเทศได้ทั้งหมด และเตรียมตัวจะทำการรุกลงใต้เพื่อรวมประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวแต่ สุมาอี้เป็นคนแรกๆที่คัดค้านการบุกลงใต้ แต่โจโฉไม่สนใจคำทัดทานของสุมาอี้ จนสุดท้ายก็พ่ายแพ้ในศึกเซ็กเพ็ก จนเหลือทหารเพียงไม่กี่ร้อย จากนั้นสุมาอี้ก็เริ่มได้รับการขยับฐานะเป็นที่ปรึกษาที่มีความสำคัญมาก ขึ้น โดยช่วยในเรื่องการบริหารกิจการภายในแต่ก็ยังไม่มีบทบาทอะไรมากมายนัก
ยกแรกของศึกฮั่นจง เริ่มจากการที่โจโฉนำกองทัพเข้าบุกตีฮั่นจง ซึ่งตอนนั้นมีเตียวลู่เป็นผู้ปกครอง ในขณะที่ทางเสฉวนนั้นเล่าปี่เพิ่งจะเข้ายึดมากจากเล่าเจี้ยง เรียกว่าสองฝ่ายแข่งกันยึดก็ไม่ผิด จากนั้นเมื่อโจโฉยึดฮั่นจงได้สำเร็จ ก็กำลังลังเลอยู่ว่าจะตามตีเอาเสฉวนต่อดีไหม สุมาอี้เป็นคนที่เสนอแนะให้โจโฉใช้จังหวะที่เล่าปี่ยังไม่ทันสร้างฐานอำนาจ ที่มั่นคงในเสฉวน บุกเข้าไปยึดมา เพราะถ้าพลาดโอกาสนี้ เล่าปี่สามารถปักหลักที่เสฉวนได้เมื่อไหร่ ฝ่ายตนก็ยากจะตีเสฉวนได้แต่โจโฉหลังจากลังเลอยู่นานก็ปฏิเสธแผนการนี้ เพราะในตอนนี้เขามีอายุปาเข้าไป 60 แล้ว ความกระหายและความทะยานอยากย่อมต้องลดลง ช่วงปลายชีวิตของโจโฉนั้นเขาเคยพูดกับโจผีเกี่ยวกับสุมาอี้ในทำนองว่า อย่าให้เจ้านี่มันได้กุมอำนาจทหารเด็ดขาด แสดงว่าโจโฉตีค่าสุมาอี้ไว้สูงมาก และมองออกถึงความทะเยอทะยานของชายคนนี้ ว่าถ้ามีอำนาจทหารล่ะก็ จะเหมือนการติดปีกให้แก่จิ้งจอก
ในปี ค.ศ.220 โจโฉสิ้นใจลงบุตรชายคนโตโจผีขึ้นสืบทอดอำนาจต่อ และสถาปนาตัวเป็นฮ่องเต้แห่งราชวงศ์วุยฮั่น ส่วนสุมาอี้นั้นมีความสนิทสนมกับโจผีในฐานะที่ปรึกษาคนสนิทมาตั้งแต่สมัย ก่อน จึงได้เป็นหนึ่งในคณะเสนาบดีที่คอยดูแลบ้านเมือง
เมื่อโจผีขึ้นเป็นฮ่องเต้ เขาพยายามจะแสดงแสนยานุภาพทางทหารออกมาเหมือนกัน ด้วยการจัดทัพไปตีง่อก๊ก แต่ก็แพ้อย่างไม่เป็นท่า จากนั้นเขาก็รู้สึกขยาดและเบื่อในสงคราม เมื่อดูแล้วว่าการสงครามไม่เหมาะกับตน จึงหันไปทุ่มเทให้เรื่องของวรรณกรรมมากกว่า เรื่องคุมกองทัพ ตอนแรกตำแหน่งนี้เป็นของโจหยิน ต่อด้วยโจหอง แต่ก็ไม่ได้เก่งเหมือนรุ่นก่อนๆ
แม้โจผีจะไม่ยกกองทัพให้สุมาอี้ดูแลเต็มที่ แต่อย่างน้อยสุมาอี้ก็ยังมีอำนาจในเรื่องทหารอยู่มากจนมาถึงตอนที่ โจยอยขึ้นครองราชย์ ได้มอบอำนาจทางทหารให้สุมาอี้ดูแลควบคู่ไปกับโจจิ๋นที่เป็นพระญาติ และเมื่อขงเบ้งคิดจะยกทัพบุกโจมตีวุยที่เมืองเตียงฮัน ด้วยความที่เกรงในฝีมือของสุมาอี้จึงได้ปล่อยข่าวไปว่าสุมาอี้คิดกบฏ ทำให้สุมาอี้ถูกปลดจากการคุมทหารไปขงเบ้งเห็นว่าแผนยุสำเร็จ จึงนำทัพบุกตีเตียงฮันจากทางกิสาน
ภายหลังจากนั้นโจจิ๋นที่รู้สึกผิดหวังในผลการรบของตนก็ได้ล้มป่วยลง ทำให้สุมาอี้ขึ้นรับตำแหน่งแม่ทัพใหญ่แทนและกลายเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วาง ใจและอำนาจในการควบคุมการทหารอย่างเต็มที่บารมีกับเหล่าทหารและผู้คนก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่บรรดาแม่ทัพและนายทหารที่เป็นคนของตระกูลโจค่อยๆล้มตายไปเรื่อยๆ
จนกระทั่งเตียวคับซึ่งเป็นแม่ทัพคนสุดท้ายที่รับใช้ตระกูลโจมายาวนานได้ตายลง เท่ากับว่าเหล่าแม่ทัพรุ่นใหม่ๆต่อจากนี้เป็นคนที่สุมาอี้ปั้นขึ้นมาทั้ง สิ้น
จนกระทั่งเตียวคับซึ่งเป็นแม่ทัพคนสุดท้ายที่รับใช้ตระกูลโจมายาวนานได้ตายลง เท่ากับว่าเหล่าแม่ทัพรุ่นใหม่ๆต่อจากนี้เป็นคนที่สุมาอี้ปั้นขึ้นมาทั้ง สิ้น
ศึกสุดท้ายระหว่างขงเบ้งและสุมาอี้ ขงเบ้งวางแผนหลอกล่อให้สุมาอี้เข้ามาในหุบเขาน้ำเต้า และกะจะสังหารสุมาอี้ด้วยการวางดินระเบิดเอาไว้ในหุบเขา เมื่อล่อสุมาอี้เข้าไปแล้วก็จุดระเบิดเพื่อจัดการสุมาอี้ในทีเดียวแผนการทำท่าจะสำเร็จ แต่ระหว่างที่ดินระเบิดกำลังถล่มกองทัพของสุมาอี้นั้น ได้มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้สุมาอี้รอดตายออกมาได้ จนขงเบ้งถึงกับท้อว่าวางแผนทุกอย่างดิบดี แต่ฟ้าไม่เป็นใจเรื่องนี้บ้างก็วิเคราะห์กันว่าอาจจะเป็นเรื่องแต่ง เพราะสมัยนั้นจีนยังคิดค้นดินระเบิดไม่ได้ แต่ถ้าหลอก้วนจงแต่งออกมาอย่างนั้น เขาอาจจะต้องการสื่อถึงว่าคนจะเป็นใหญ่แม้แต่ฟ้าก็ยังช่วยหนุนก็ได้ล่ะมั้ง
ในปีค.ศ.234 เมื่อขงเบ้งสิ้นใจลงอย่างสงบโดยที่ไม่อาจจะตีเตียงฮันได้ นั่นเท่ากับเป็นผลงานสุดยิ่งใหญ่ของสุมาอี้ ที่ปราบมังกรหลับได้สำเร็จ เวลานี้ทอดตาไปทั่วแผ่นดินผู้ แม่ทัพหรือกุนซือ หรือจอมวางแผนผู้เก่งกาจที่จะต่อกรกับเขาแทบจะไม่มีอีกแล้ว จะเหลือก็เพียงลกซุนแห่งง่อคนเดียว แต่นโยบายของง่อคือการตั้งรับเป็นหลัก ดังนั้นแทบจะหมดห่วง
ในปีค.ศ.237 เกิดกบฏที่เหลียวตงโดยกองซุนเอี๋ยน ลุกฮือขึ้นเพราะไม่พอใจการปกครองของโจยอย ระดมทหารได้หลายแสนคนหมายจะบุกตีลกเอี๋ยง พระเจ้าโจยอยจึงให้สุมาอี้นำกำลังทหารไปปราบ แต่ไม่อาจระดมไปได้มากนัก เพราะต้องเหลือไว้รับศึกจ๊กก๊กและง่อก๊ก สุมาอี้จึงเอาทหารไปเพียง 4 หมื่นคน
เขาใช้เวลานานถึง 2 ปีในการเดินทางไปเหลียวตงที่เส้นทางลำบากยากแค้น แต่ด้วยความอดทนและมุ่งมั่นที่จะชนะศึกของสุมาอี้ แม้เสบียงจะหมดลงและกำลังทหารของเขามีน้อยกว่าเป็นเท่าตัว แต่ก็สามารถเอาชนะกองซุนเอี๋ยนลงได้ ซึ่งศึกนี้เป็นการประกาศศักดาตอกย้ำถึงความหนักแน่นของสุมาอี้ได้อีกครั้ง
เมื่อสุมาอี้ชนะศึกที่เหลียวตง ระหว่างเดินทัพกลับได้ข่าวโจยอยประชวร จึงรีบเร่งเดินทางเข้าเมืองหลวงเพื่อเข้าเฝ้า ซึ่งก่อนตาย โจยอยได้ฝากฝังบุตรชายโจฮองที่อายุแค่ 9 ปีให้สุมาอี้ดูแล โดยงานบ้านเมืองนั้นให้สุมาอี้และโจซองที่เป็นบุตรชายของอดีตแม่ทัพใหญ่โจ จิ๋นและเป็นพระญาติใกล้ชิดคอยดูแลควบคู่กัน แล้วก็สิ้นลง
โจซองนั้นหวั่นเกรงสุมาอี้ว่าจะทำการใหญ่ จึงคิดจะลิดรอนอำนาจด้วยการเลื่อนยศเขาให้ไปเป็นราชครูอันเป็นตำแหน่งระดับ สูงแต่ไร้อำนาจทางทหาร เป็นการจัดการกับสุมาอี้อย่างแยบยล ซึ่งตัวสุมาอี้เองก็พอจะรู้ว่าใครคือคนที่อยู่เบื้องหลัง จึงจำยอมรับตำแหน่งราชครูและให้ลูกชายทั้งสองคนคือสุมาสูและสุมาเจียวลาออก ตามด้วย เพื่อสร้างภาพลวง และหันไปเน้นให้กับการพัฒนาบ้านเมืองเพื่อสร้างภาพและความนิยมกับผู้คน แต่ขณะเดียวกันก็ใช้เวลาแอบซ่องสุมกำลังคนไว้อย่างลับๆเพื่อเตรียมจะก่อการ ในวันหน้า
สุมาอี้เป็นคนที่ร้ายกาจมาก เขาอดทนรอคอยเวลาโดยไม่ยอมแก่ตายสักทีเป็นเวลานานถึง 8 ปี โดยไม่ยุ่งเรื่องการเมืองและการบริหารประเทศ ปล่อยให้โจซองและพรรคพวกทำการตามอำเภอใจ แต่ตนเองนั้นพร้อมจะแว้งกัดทันทีเมื่อโอกาสมาถึง
ในปีค.ศ.249 โอกาศก่อกบฏก็มาถึง เมื่อโจซองส่งคนของตนไปตรวจสภาพของสุมาอี้ จิ้งจอกเฒ่ารู้ว่าคนของโจซองมาเยี่ยมที่บ้านก็แกล้งทำเป็นป่วยโจซองคิดว่าสุมาอี้ป่วยหนัก จึงพาพรรคพวกตนออกไปล่าสัตว์นอกเมืองพร้อมๆกับอัญเชิญฮ่องเต้ไป ด้วย สุมาอี้เมื่อรู้ว่าพวกโจซองออกไปนอกเมือง จึงสั่งการให้คนของตนที่ซ่องสุมไว้ประมาณ 3 พันคนลงมือทันที โดย กุยห้วยแม่ทัพคนสนิทนำ กำลังพลเข้าควบคุมสถานที่สำคัญในเมืองหลวง ในเวลาไม่นานก็สามารถเข้าควบคุมจุดสำคัญในเมืองหลวงได้หมด โดยที่ตัวสุมาอี้เองนั้นนำกำลังไปดักพวกโจซองไว้ที่หน้าเมือง และให้สุมาสูและสุมาเจียวบุตรชายเข้าไปอัญเชิญประกาศกล่าวโทษโจซองจากไทเฮา ถึงในตำหนัก เพื่อความชอบธรรมในการลงมือครั้งนี้
แต่สุมาอี้กลับจะตัดรากถอนโคน เมื่อได้ตัวพรรคพวกของโจซองก็สั่งประหารโคตรญาติตระกูลโจของโจซองถึง 7 ชั่วโคตร และยังลามไปถึงพวกคนในตระกูลแฮหัวที่เกี่ยวดองเป็นญาติกันด้วยเรื่องครั้งนี้ทำให้แฮหัวป๋า แม่ทัพซึ่งเป็นบุตรชายคนโตของแฮหัวเอี๋ยนไม่พอใจและลุกฮือขึ้นแถบชายแดน แต่ก็ถูกกุยห้วยแม่ทัพของสุมาอี้ตีจนแตกพ่ายไปและจำต้องไปสวามิภักดิ์อยู่ กับเกียงอุยที่จ๊กก๊กแทน
"สุมาอี้ขึ้นเป็นผู้ยิ่งใหญ่แต่ผู้เดียวในเมืองหลวง"
เมื่อได้อำนาจทั้งหมดมาอยู่ในมือแต่ก็ไม่ยอมล้มล้างราชวงศ์วุย เพื่อตั้งตัวเป็นฮ่องเต้ซะเอง จะว่าไปเขาก็ลอกเลียนวิธีการนี้มาจากโจโฉนั่นคือการยอมอยู่ใต้คนเดียว แต่อยู่เหนือคนนับหมื่น เพียงแต่เขาโหดเหี้ยมมากกว่าตรงที่สั่งล้างตระกูลโจถึง 7 ชั่วโคตร ในขณะที่โจโฉยังเลี้ยงดูพระเจ้าเหี้ยนเต้และเหล่าพระญาติอย่างดี แม้จะปลดลงในสมัยที่โจผีขึ้นครองอำนาจ แต่ก็มิได้ประหารล้างโคตรขนาดนี้ นับว่าสุมาอี้ยังโหดและเด็ดขาดกว่าโจโฉอีกหนึ่งขั้นในการยึดอำนาจเบ็ดเสร็จ
ปีค.ศ.251 สุมาอี้ที่เล้มป่วยลง และถึงแก่กรรมไปด้วยวัย 72 ปี ปล่อยให้บุตรชายทั้งสองคนคือสุมาสูและสุมาเจียวสืบทอดการก่อตั้งราชวงศ์ของ ตระกูลสุมาต่อไป และก็ทำได้สำเร็จเมื่อสุมาเอี๋ยนหลายชายของสุมาอี้ได้ล้มล้างราชวงศ์วุยของ ตระกลโจ และขึ้นเป็นฮ่องเต้แห่งราชวงศ์จิ้นนามพระเจ้าจิ้นหวู่ตี้ ในปี ค.ศ.265
ในปีค.ศ. 280 ทายาทตระกูลสุมาได้ รวมแผ่นดินจีนที่แตกเป็นสามก๊กให้เป็นหนึ่งได้อีกครั้ง เป็นอันปิดฉากยุคสามก๊กอันยาวนานลง
.........................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น