Myth.Esther.Queen.of.the.Persian
ฉายา ฮาดาซาห์ วีรสตรีผู้ปกป้อง ( Hadassah )
- มีหมายความว่า“ต้นไม้หอม (myrtle)
ตำแหน่งราชินีแห่งเปอร์เซีย (Queen of the Persian)
ปรากฏ หนังสือบุค อ๊อฟ ดาเนียล(Book of Daniel)
เชื้อสาย เผ่าผู้ถูกเนรเทศ เบนจามิน(Tribe of Benjamin)
ครองราชย์ นาน 27 ปีคริสต์ศักราช 1262 - 1289
สัญชาติ เปอร์เซียโบราณ(Persia-Iran)
บิดาบุญธรรม มอร์โดคาย (Mordecai)
มารดา ---
พระสวามี พระราชาอาฮาซูรุส(King.Ahasuerus-King Xerxes)
กำเนิด ปรากฏครั้งแรกเมื่อถูกเนรเทศในปี คริสศักราช 586
เสียชีวิต เมื่อใดไมาปรากฏ
- กรุงฮามาน ประเทศอิหร่าน(Hamadan In Iran)
ราชินีเอสเธอร์(Esther) ราชินีผู้เป็นวีรสตรีในหนังสือ บุค อ๊อฟ เอเธอร์ (Book of Esther) ซึ่งเป็นคัมภีร์ไบเบิ้ลเล่มหนึ่งอ้าวอิงจากคัมภีร์ไบเบิ้ลพบว่า พระนางเป็นราชีนีชาวยิวของพระราชาชาวเปอร์เซียพระนามว่าพระราชาอาฮาซูรุส(Ahasuerus) ตามพระนามในคัมภีร์ไบเบิ้ล แต่โดยทั่วไปพระองค์ถูกเรียกว่าพระราชาเซอร์เซสที่ 1 แห่งเปอร์เซีย เรื่องราวของพระนางถูกนำมาใช้ในงานวันปูริม (Purim) ซึ่งเป็นงานเฉลิมฉลองของชาวยิวในปัจจุบัน วันปูริมเป็นวันหยุดของชาวยิวตามปฎิทินแบบฮิบรู ในวันนี้จะเป็นวันที่ชาวยิวจะแลกเปลี่ยนของขวัญซึ่งกันและกัน และเป็นวันแห่งการกุศลคือนำสิ่งของไปมอบแก่คนยากจนอีกด้วย นอกจากนี้ผู้คนก็จะออกมาเฉลิมฉลองตามท้องถนนและแต่งกายด้วยเสื้อผ้าดูแปลกตา
ประวัติพระนางเอสเธอร์ตามคัมภีร์ไบเบิ้ล
พระราชาอาฮาซูรุสหรือที่รู้จักในชื่อกษัตริย์ เซอร์ซิส ครั้งหนึ่งทรง จัดงานเฉลิมฉลองถึง 180 วันที่เมืองซูซา (Susa) ขณะทื่พระองค์ทรงเมามายจากการดื่มไวน์ พระองค์สั่งให้ พระราชินีวัชตี (Vashti) ให้ออกมาแสดงพระองค์เพื่ออวดพระสิริโฉมอันงดงามของพระนางต่อหน้าแขกเหรื่อในงาน แต่พระนางวัชตีปฏิเสธคำสั่งนั้น พระองค์ทรงกริ้วเนื่องด้วยพระนางวัชตีไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง พระองค์จึงถามที่ปรึกษาคนหนึ่งของพระองค์ว่าควรจะจัดการอย่างไร มีที่ปรึกษาผู้หนึ่งตอบว่าการที่พระนางวัชตีกระทำเช่นนี้จะทำให้ผู้หญิงในราชอาณาจักรปฏิบัติตามด้วยการขัดคำสั่งสามี อันจะสร้างปัญหาใหญ่หลวงให้ราชอาณาจักรได้ จึงเห็นควรให้ขับไล่พระนางออกไปเสีย
ในที่สุดพระองค์ก็ทรงเลือกเอสเธอร์เด็กสาวกำพร้าผู้ถูกชุบเลี้ยงโดยมอร์โดคาย (Mordecai) ญาติของเธอให้เป็นราชินีแทนที่พระราชินีวัชตีที่ขัดคำสั่งของพระองค์ อันที่จริงแล้วพระราชินีเอสเธอร์มีชื่อเรียกว่า ฮาดาซาห์ เป็นชื่อของต้นไม้ที่ใช้คำเครื่องหอม“ในที่สุดพระองค์ก็ทรงเลือกฮาดาซาห์ หรือก็คือเอสเธอร์ นางไม่มีทั้งบิดาและมารดา นางเป็นหญิงสาวแสนสวย ผู้ซึ่งถูกชุบเลี้ยงโดยมอร์โดคาย
หลังจากที่นางสิ้นทั้งบิดาและมารดา มอร์โดคายจึงรับนางมาอุปการะเป็นบุตรสาวของเขา”ขณะที่มอร์โดคายนั่งอยู่ที่หน้าประตูปราสาท เขาได้ยินหัวทหารองครักษ์ของพระราช 2 คนคุยกันเรื่องการวางแผนจะลอบสังหารพระราชา มอร์โดคายจึงนำเรื่องไปบอกให้พระราชินีเอสเธอร์รับรู้ พระนางจึงนำเรื่องไปทูลแก่พระราชา มอร์โดคายจึงได้รับความดีความชอบในครั้งนี้ ส่วนคนทรยศทั้งสองถูกแขวนอยู่ที่ลานประหาร
หลังจากนั้นไม่นาน พระราชาก็ทรงประทานเกียรติยศให้แก่ฮามาน (Haman) หนึ่งในเจ้าชายผู้ที่มีความสำคัญที่สุดพระองค์หนึ่งของราชอาณาจักร ผู้คนทั่วไปต้องก้มหัวให้กับฮามานทุกยามที่เขาขี่ม้าผ่านไปตามท้องถนน ทุก ๆ คนกระทำตามหมดแต่ยกเว้นคนหนึ่งนั่นคือมอร์โดคายผู้ซึ่งเป็นชาวยิวเขาจะไม่ก้มหัวให้ใครยกเว้นพระเจ้าของเขาเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ฮามานเกิดบันดาลโทสะขึ้นอย่างมากเขากับภรรยาและผู้ให้คำปรึกษาจึงวางแผนกันเพื่อที่จะหาทางต่อต้านชาวยิว โดยเขาวางแผนจะฆ่าล้างเผ่าพันธ์ยิวออกไปจากอาณาจักรเปอร์เซียให้หมด หลังจากวางแผนปลุกปั่นเพื่อทำให้เกิดการต่อต้านชาวยิวเสร็จแล้ว ฮามานก็ได้รับอนุญาตจากพระราชาให้ออกคำสั่งในการสังหารได้ โดยเขาทูลกับพระราชาว่าชาวยิวเป็นพวกไร้ประโยชน์ควรจะกำจัดเสียพร้อมทั้วงเสนอเงินจำนวนมากถึง 10,000 ก้อนเงินให้กับท้องพระคลัง พระราชาจึงประทานอนุญาตให้สังหารชาวยิวในเมืองได้
เมื่อได้ทราบข่าวนี้มอร์โดคายจึงฉีกเอาเสื้อคลุมของเขาออกและนำเอาเถ้าถ่านโรยบนศีรษะ (เป็นการแสดงเชิงสัญลักษณ์ของการโศกเศร้าและความทุกข์ใจ) พระราชีนีเอสเธอร์จึงส่งเสื้อผ้าสะอาด ๆ ให้เขาสวมใส่แต่เขากลับปฏิเสธ เขาให้เหตุผลว่าชาวยิวจะต้องได้รับการปลดปล่อย หากเป็นเช่นนี้เอสเธอร์จะต้องถูกฆ่าตายด้วยเป็นแน่พระนางจึงต้องหาทางทำอะไรสักอย่างที่สามารถทำได้ นั่นคือการเข้าไปพูดคุยกับองค์ราชา แต่เอสเธอร์ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าพบพระราชาได้หากพระองค์ไม่ประสงค์จะพบพระนางไม่เช่นนั้นแล้วพระนางจะต้องถูกฆ่าตาย พระนางกระวนกระวายใจเป็นอย่างมาก พระนางและเหล่านางรับใช้รวมทั้งประชาชนชาวยิวที่อาศัยในเปอร์เซียจึงได้รวบรวมความกล้าในการขอเข้าพบพระราชา เมื่อพระราชาได้เห็นเอสเธอร์พระองค์ก็ทรงพอพระทัยอย่างมากและยื่นคทาออกมาที่พระนาง เป็นการตอบรับการเข้าเฝ้าของพระนาง พระองค์จึงตรัสถามกับพระนางว่าพระนางประสงค์สิ่งใดพระองค์ก็จะทรงยกให้แม้ครึ่งหนึ่งของราชอาณาจักรพระองค์ก็ทรงให้ได้ พระนางขอพระราชทานอนุญาตในการจัดงานเลี้ยงระหว่างพระนาง พระราชาและฮามาน และในระหว่างงานเลี้ยงนั้นพระนางก็ขอประทานอนุญาตงานเลี้ยงเช่นเดียวกันนี้ต่อไปอีกในวันถัดไป
หลังจากงานเลี้ยงนั้นฮามานก็ได้สั่งการให้สร้างลานประหารสำหรับแขวนนักโทษสูงถึง 75 ฟุตเพื่อแขวนคอมอร์โดคาย ในขณะที่พระราชาทรงนึกขึ้นได้ในภายหลังว่ามอร์โดคายได้เคยช่วยชีวิตพระองค์ไว้จากการวางแผนถูกลอบสังหารและมอร์โดคายยังไม่ได้รับสิ่งใดเป็นการตอบแทนเลย เช้าวันถัดมาฮามานเข้าเฝ้าพระราชาเพื่อขอพระราชทานอนุญาตให้ประหารชีวิตมอร์โดคาย แต่ก่อนที่ฮามานจะเอ่ยวาจาใดพระองค์ก็ทรงตรัสถามฮามานว่า
“เราควรจะตอบแทนแก่บุคคลผู้ที่ทำให้พระราชาพอพระทัยอย่างไรดี”
ฮามานคิดว่าพระราชาพูดถึงตัวเขา เขาจึงตอบกลับไปว่า
“บุคคลผู้นั้นควรได้รับเกียรติให้สวมเสื้อคลุมพระราชทานและเป็นผู้ขี่ม้าของกษัตริย์นำขบวนแห่ไปตามท้องถนน”
“นี่คือสิ่งที่ควรทำสินะ” พระราชาตรัสจากนั้นก็มีคำสั่งให้ฮามานนำตัวมอร์โดคายแห่ขบวนเกียรติยศไปตามท้องถนนในฐานะที่เป็นผู้นำเรื่องการลอบสังหารมากราบทูลพระราชได้ทันท่วงที หลังจากเกิดเหตุเช่นนี้ฮามานก็รีบเดินทางกลับบ้านทันที ภรรยาของเขาจึงกล่าวกับเขาว่า “ท่านจะต้องถึงคราวพินาศเป็นแน่”
และในคืนเดียวกันนั้นเองระหว่างงานเลี้ยง พระราชินีเอสเธอร์ได้ทูลกับพระราชาถึงแผนการของฮามานเรื่องการฆ่าล้างชาวยิวในเปอร์เซีย พระนางก็ได้ทูลให้พระองค์ทรงทราบถึงเผ่าพันธุ์ชาวยิวของพระนางด้วย ฮามานคุกเข่าอ้อนวอนต่อพระนางเพื่อให้ไว้ชีวิต นั่นยิ่งทำให้พระราชาทรงกริ้วหนักกว่าเดิมมากจึงมีรับสั่งให้นำตัวฮามานไปประหาร ณ ลานประหารที่ฮามานสั่งทำเพื่อมอร์โดคาย พระราชาทรงแต่งตั้งให้มอร์โดคายเป็นอัครมหาเสนาบดีของพระองค์และประทานอนุญาตให้ชาวยิวมีสิทธิ์ปกป้องตนเองจากศัตรูที่คุกคาม
นอกจากนี้ยังทรงประทานอนุญาตให้ชาวยิวพกอาวุธติดตัวได้ด้วยเพื่อป้องกันตนจากศัตรูและอนุญาตให้ฆ่าทั้งศัตรูและลูกเมียของศัตรูและสามารถปล้นสะดมศัตรูได้ด้วย การกระทำเช่นนี้จึงเป็นการตอบโต้ต่อศัตรูของชาวยิว การต่อสู้นี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 13 ตามปฏิทินแบบฮิบรู เฉพาะที่เมืองซูซามีศัตรูถูกฆ่าตายถึง 800 คนและอีก 75000 คนทั่วทั้งราชอาณาจักร โดยที่ชาวยิวไม่ได้ทำการปล้นสะดมแต่อย่างใด
ความหมายและจุดเริ่มต้นของตำนาน
พระราฃินีเอสเธอร์แต่เดิมมีพระนามว่า ฮาดาซาห์ (Hadassah) มีความหมายตามภาษาฮิบรูว่า “ต้นไม้หอม (myrtle)” มีการคาดการณ์กันว่าคำว่า เอสเธอร์นั้นน่าจะมาจากการสร้างขึ้นใหม่มาจากคำว่าอัสทรา(Astra)ซึ่งแปลว่าต้นไม้หอมเหมือนกัน
อีกแนวคิดหนึ่งกล่าวว่าคำว่าเอสเธอร์น่าจะมาจากชื่อของเทพเจ้าอิชตาร์ (Ishtar) ในหนังสือ Book of Daniel (บุค อ๊อฟ ดาเนียล) มักจะแทนชื่อของชาวยิวที่ถูกเนรเทศเป็นชื่อของเทพเจ้าในบาบิโลน อย่างเช่นชื่อของมอร์โดคายมีความหมายว่า ผู้รับใช้ของเทพมาร์ดุค (Marduk) ซึ่งเป็นเทพเจ้าพระองค์หนึ่งในบาบิโลน ชื่อเอสเธอร์อาจจะมีความหมายหลายความหมายในภาษาฮิบรูตามรากของภาษาโบราณ
วัฒนธรรมของชาวเปอร์เซียที่มีต่อชาวยิว
จากประวัติศาสตร์ความเกี่ยวข้องกันระหว่างชาวเปอร์เซียและชาวยิว ชาวยิวในเปอร์เซียจะถูกเรียกว่าบุตรของเอสเธอร์ (Esther’s Children) สุสานของเอสเธอร์และมอร์โดคายตั้งอยู่ที่เมืองฮาเมดาน (Hamedan) ในประเทศอิหร่าน แต่ก็ยังมีอีกสถานที่หนึ่งคือหมู่บ้านคาฟาร์ บาราม (Kafar Baram) ที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอิสราเอลซึ่งก็มีความเชื่อว่าหมู่บ้านนี้น่าจะเป็นสถานที่ฝังพระศพของพระราชินีเอสเธอร์เช่นกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น