LEGEND KingNaresuan ตำนานสมเด็จพระนเรศวรแห่งสยาม ประเทศ

Author: Pirate Onepiece / ป้ายกำกับ:

Myth.Phra.Naresuan.the.Great

http://legendtheworld.blogspot.com/2013/10/somdet-phra-naresuan-maharat.html
ฉายาพระองค์ดำ(Black Prince)
-สมเด็จพระนเรศวร ราชาธิราช ราชวงค์ สุโขทัย
ตำแหน่งพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
-1ใน8มหาราชแห่งชาติไทย
สัญชาติอยุธยา- ไทย(THAILAND)
พระบิดาสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
พระมารดา พระวิสุทธิกษัตรีย์ 
อัครมเหสี เจ้าขรัวมณีจันทร์
ครองราชย์ 15 ปี / 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 - 25 เมษายน พ.ศ. 2148
พระราชสมภพ พ.ศ. 2098, 
-อำเภอเมืองพิษณุโลก, จังหวัดพิษณุโลก, อาณาจักรสุโขทัย
สวรรคต   50 พรรษา - 25 เมษายน พ.ศ. 2148
- อำเภอเวียงแหง, จังหวัดเชียงใหม่
อาวุธ ช้างทรงเจ้าพระยาไชยานุภาพ
- พระแสงดาบคาบค่าย / พระแสงของ้าว
- พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง / พระแสงอัษฎาวุธ

           สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒  รัชสมัยในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นยุคแห่งสงครามที่แทบจะไม่มีช่วงเวลาแห่งความสงบเลย ซึ่งล้วนเป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาติไทย พระองค์ได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด นั่นคือ จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านตะวันออก ทางด้านทิศใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู ทางด้านทิศเหนือก็ถึงฝั่งแม่น้ำโขงโดยตลอด และยังรวมไปถึงรัฐไทใหญ่บางรัฐ 
http://legendtheworld.blogspot.com/2013/10/somdet-phra-naresuan-maharat.html 





            พระองค์ดำ ที่ชาวบ้านทั่วไปในครั้งนั้น ต่างเรียกขานกันในครั้งกาลนั้น เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตริย์  ขณะที่ทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงใช้ชีวิตอยู่ในพระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก จนกระทั่ง พระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก สมัยสงครามช้างเผือก สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เจ้าเมืองพิษณุโลก ยอมอ่อนน้อมต่อหงสาวดีจึงทำให้พิษณุโลกต้องแปรสภาพเป็นเมืองประเทศราชของหงสาวดีและไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา 

         ในปี พ.ศ. 2107 (องค์ประกันหงสา) พระเจ้าบุเรงนองทรงขอพระนเรศวรไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดีทำให้พระองค์ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนตั้งแต่มีพระชนม์มายุเพียง 9 พรรษา  พระองค์เป็นผู้ที่มีน้ำพระทัยเป็นนักรบมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว น้ำพระทัยกว้างขวางสมกับที่เป็นเชื้อสายของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย แม้พระองค์จะถูกนำไปเป็นตัวประกันถึงหงสาวดี แต่ตลอดระยะเวลาพระองค์มิได้ทรงหวั่นไหว ครั้งที่อยู่ในเมืองหงสาวดีก็ได้แสดงความปรีชาสามารถให้ปรากฏหลายต่อหลายครั้ง ทำให้พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์ของหงสาวดีรู้สึกหวาดหวั่น เกรงว่าต่อไปภายหน้าอาจรวบรวมแผ่นดินอยุธยาได้
         ปี พ.ศ. 2112  หลังจากพระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาแตกได้สถาปนาสมเด็จพระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะประเทศราชของหงสาวดีแล้ว ภายหลังพระองค์ดำหนีกลับมายังกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ และทรงเริ่มเตรียมการที่จะกอบกู้เอกราชของกรุงศรีอยุธยา
        ปี พ.ศ. 2117(เขมรแอบปล้น) ในขณะที่กองทัพกรุงศรีอยุธยาภายใต้การบังคับบัญชาของสมเด็จพระธรรมราชาธิราชและพระนเรศวรได้ยกกองทัพไปช่วยพระเจ้าหงสาวดีเพื่อตีเมืองศรีสัตนาคนหุต พระยาละแวกได้ถือโอกาสยกกองทัพมาทางเรือเข้าตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง แต่โชคดีที่ พระนเรศวรประชวรเป็นไข้ทรพิษ จึงยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยาและทำการรับศึกทัพเรือเขมร ซึ่งขึ้นมาถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อเดือนอ้าย พ.ศ. 2118 โดยได้การศึกครั้งนั้นฝ่ายอยุธยาหลอกล่อให้ข้าศึกรุกไล่เข้ามาในพื้นที่การยิงหวังผลของปืนใหญ่ เมื่อพร้อมแล้วจึงระดมยิงปืนใหญ่ถูกทหารเขมรแตกพ่ายกลับไป


         นปี พ.ศ. 2121 (เขมรเหิมเกิม) พระยาจีนจันตุ ขุนนางจีนของกัมพูชา แสร้งทำทีเป็นสวามิภักดิ์เมื่อข่าวลั่วก็ได้ทำการหลบหนี พระนเรศวรจึงเสด็จลงเรือกราบกันยารับตามไป ได้ทันกันเมื่อใกล้จะออกปากน้ำ ยิงปีนต่อสู้กันอยู่นานจนเรือสำเภาของพระยาจีนจันตุสามารถหนีรอดออกทะเลไป หลังจากนั้นการทำสงครามกับเขมรก็ยังไม่จบสิ้นฝ่ายเขมรยังคงเข้ามาปล้นชิงหังเมืองทางตะวันออกอยู่เรื่อย  ครั้งหนึ่งพระนเรศวรทรงทราบว่ามีกองทัพเขมรกว่า 5,000 คนบุกปล้นชาวบ้านจึงนำทหาร 3,000 คนออกสกัดทั้งที่มีกำลังพลน้อยกว่าแต่สมเด็จพระนเรศวรก็สามารถวางกลศึกหลอกล่อ โจมตีทัพเขมรให้แตกหนีกลับไปได้ในที่สุดยังผลให้หลังจากนั้นเขมรไม่กล้าลอบมาโจมตีไทยถึงพระนครอีกเลย
          เมื่อปี พ.ศ. 2126 (ประกาศเอกราช) พระเจ้าอังวะเป็นกบฏ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงยกทัพหลวงไปปราบ ในการณ์นี้พระนเรศวรยกทัพไทยไปช้า  ทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงสั่งให้พระมหาอุปราชาคุมทัพรักษากรุงหงสาวดีไว้ถ้าทัพไทยยกมาถึงก็ให้ต้อนรับและหาทางกำจัดเสีย แต่แผนการล่วงรู้ถึงหูพระนเรศวรเสียก่อน จึงมีดำริว่า

    "ด้วยพระเจ้าหงสาวดี มิได้อยู่ในครองสุจริตมิตรภาพขัตติยราชประเพณี  เสียสามัคคีรสธรรม  ประพฤติพาลทุจริต
 คิดจะทำอันตรายแก่เรา .....
      ตั้งแต่นี้ไป กรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดีมิได้เป็นมิตรร่วมสุวรรณปฐพีเดียวกันดุจดังแต่ก่อนสืบไป..."

      จากนั้นพระองค์ทรงพาพวกครัวไทยที่พม่ากวาดต้อนไปแต่ก่อนให้อพยพกลับบ้านเมือง ได้ผู้คนมาประมาณหมื่นเศษให้ยกล่วงหน้าไปก่อน โดยพระองค์จะทรงคุมกองทัพยกตามมาข้างหลัง ช่วงกำลังข้ามแม่น้ำ สะโตง ได้มีการต่อสู้กันที่ริมฝั่งแม่น้ำ สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงปืนคาบชุดยาวเก้าคืบ ยิงถูกสุรกรรมาแม่ทัพหน้าพม่าตายบนคอช้าง กองทัพของพม่าเห็นแม่ทัพตาย ก็พากันเลิกทัพกลับไป 
        เมื่อพระมหาอุปราชาแม่ทัพหลวงทรงทราบ จึงให้เลิกทัพกลับไปกรุงหงสาวดี พระแสงปืนที่ใช้ยิงสุรกรรมาตายบนคอช้างนี้ได้นามปรากฏต่อมาว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง"นับเป็นพระแสงอัษฎาวุธ-อันเป็นเครื่องราชูปโภค 
       เมื่อกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาแล้ว สมเด็จพระมหาธรรมราชาก็พระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่พวกมอญที่สวามิภักดิ์ ทรงตั้งพระมาหาเถรคันฉ่องเป็นพระสังฆราชาที่สมเด็จอริยวงศ์ และให้พระยาเกียรติ พระยารามมีตำแหน่งยศได้พระราชทานพานทองควบคุมมอญที่เข้ามาด้วย ให้ตั้งบ้านเรือนที่ริมวัดขมิ้นและวัดขุนแสนใกล้วังจันทร์ของสมเด็จพระนเรศวร แล้วทรงมอบการทั้งปวงที่จะตระเตรียมต่อสู้ข้าศึกให้สมเด็จพระนเรศวรทรงบังคับบัญชาสิทธิขาดแต่นั้นมา 
       ปี พ.ศ. 2127 หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพได้ 7 เดือน พม่าจัดทัพสองทัพให้ยกมาตีไทย ทัพแรกมีพระยาพสิม คุมกำลัง 30,000 บุกมาทางด่านเจดีย์สามองค์ แต่ก็ถูกพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุโขทัยตีแตกที่เขาพระยาแมน อีกทัพยกมาจากเชียงใหม่มีกำลังพล 100,000 สมเด็จพระนเศวรมีรับสั่งให้พระราชมนูยกทัพไปตีข้าศึกที่ปากน้ำบางพุทรา เมื่อไปถึงพระราชมนูเห็นว่ากำลังน้อยกว่ามาก  จึงแต่งกองโจรคอยดักฆ่าพม่าจนเสียขวัญ สุดท้ายทัพพม่าจึงถอยกลับไป

         ปีพ.ศ. 2129 (สยามรับศึกใหญ่) พระเจ้านันทบุเรงยังจัดทัพกว่า 250,000 คนยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา การศึกครั้งนี้พม่าหมายมั่นจะตีกรุงศรีอยุธยาให้ได้ แต่ด้วยความแข็งแกร่งของทหารไทยจึงรักษาที่มั่นเอาไว้ได้เสมอ มีตครั้งหนึ่งพระองค์ทรงไล่ตามข้าศึกจนมาถึงค่ายทรงลงจากม้าคาบพระแสงดาบแล้วนำทหารปีนบันไดขึ้นกำแพงข้าศึก แต่ถูกพม่าใช้หอกแทงตกลงมาข้างล่างหลายครั้งจึงเสด็จกลับพระนคร พระแสงดาบนี้มีนามว่า พระแสงดาบคาบค่าย  สุดท้ายกองทัพหงสาวดีบอบช้ำจากการสู้รบกับไทยอย่างมากจึงถอยทัพกลับไปเช่นเดิม

   เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2133 พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ..วันอาทิตย์ที่29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 เมื่อพระชนมายุได้ 35 พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวร หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2 และโปรดเกล้า ฯ ให้พระเอกาทศรถ พระอนุชา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช แต่มีศักดิ์เสมอพระมหากษัตริย์อีกพระองค์
 
       ปี พ.ศ. 2133 เดือน 12  พระมหาอุปราชายกทัพเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ เพื่อตรงมาตีพระนครศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรทรงยกกองทัพหลวงไปรับศึกที่เมืองกาญจนบุรี พอกองทัพพม่ายกมาถึงก็รบกันอย่างตะลุมบอน พระยาพุกามแม่ทัพพม่าคนหนึ่งตายในที่รบ กองทัพพม่าถูกไทยฆ่าฟันล้มตายเป็นอันมาก  ไทยไล่ติดตามไปจับพระยาพสิมได้ที่บ้านจระเข้สามพัน พระมหาอุปราชาเองก็หนีไปได้อย่างหวุดหวิด เมื่อกลับไปถึงหงสาวดีพวก แม่ทัพนายกองก็ถูกลงอาญาไปตามๆ 
       ในปี พ.ศ. 2135 (สงครามยุทธหัตถี) พระเจ้านันทบุเรง โปรดให้พระมหาอุปราชา นำกองทัพทหาร 240,000 คน มาตีกรุงศรีอยุธยาหมายจะชนะศึกในครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวร ทรงนำกำลัง 100,000 คนเดินทางไปสุพรรณบุรี ในระหว่างการรบช้างทรงวิ่งไล่ตามพม่าหลงเข้าไปในแดนพม่า  เมื่อทรงเห็นว่าเป็นการเสียเปรียบข้าศึกจึงไสช้างเข้าไปใกล้พระมหาอุปราชา แล้วตรัสถามด้วยคุ้นเคยมาก่อนแต่วัยเยาว์ว่า 

"พระเจ้าพี่เราจะยืนอยู่ใยในร่มไม้เล่า........
เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน..ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด 
ภายหน้าไปไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว..."


       พระมหาอุปราชาได้ยินดังนั้น จึงไสช้างนามว่า พลายพัทธกอเข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพเสียหลัก พระมหาอุปราชาทรงฟันสมเด็จพระนเรศวรด้วยพระแสงของ้าว แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงหลบทัน จึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด จากนั้นเจ้าพระยาไชยานุภาพชนพลายพัทธกอเสียหลักสมเด็จพระนเรศวรทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูกพระมหาอุปราชาเข้าที่อังสะขวาสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้างเมื่อทหารพม่าเห็นว่าแพ้แน่แล้วจึงยกทัพกลับกรุงหงสาวดีไป นับแต่นั้นมาก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกมากล้ำกรายกรุงศรีอยุธยาอีกเป็นระยะเวลาอีกยาวนาน
        ปี พ.ศ. 2148 (ถึงกาลสวรรคต) ครั้นเสด็จไปเมืองเชียงใหม่ ถึงเมืองหางแล้วก็ให้ตั้งค่ายหลวงประทับอยู่ที่ทุ่งแก้ว สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวรเป็นหัวระลอก (ฝี) ขึ้นที่พระพักตร์ แล้วกลายเป็นบาดทะพิษพระอาการหนัก จึงโปรดให้ข้าหลวงรีบไปเชิญเสด็จสมเด็จพระเอกาทศรถมาเฝ้า สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จฯ มาถึงได้ 3 วัน สมเด็จพระนเรศวรก็เสด็จสวรรคต วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 สิริพระชนมพรรษา 49 พรรษาเศษรวมสิริดำรงราชสมบัติ 14 ปีเศษสมเด็จพระเอกาทศรถจึงได้อัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระนเรศวรกลับกรุงศรีอยุธยา
.......................

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เป็นความรู้ดีมากครับ
เสียดาย มาเห๋็นช้าไปหน่อย

แสดงความคิดเห็น