Legend Captain Cook เจมส์คุกผู้เขียนแผนที่โลกคนแรก

Author: Pirate Onepiece / ป้ายกำกับ:

Pirate World Captain James Cook

http://legendtheworld.blogspot.com/2013/08/captain-james-cook_20.html
ฉายา ผู้เขียนแผนที่โลกคนแรก
ตำแหน่ง นักสำรวจ (EXPLORER)
- นักเขียนแผนที่ (Navigator-Cartographer)
สัญชาติ อังกฏษ(England)
บิดา นายเจมส์.คุก.ซีเนียร์ เชื้อสายสก็อต(James Cook)
มารดา นางเกรซ.เพียซ(Grace Pace)
บุตรธิดา James Cook ,Nathaniel.Cook ,Elizabeth.Cook ,Joseph.Cook, George Cook , Hugh.Cook
เกิดเมื่อ วันที่27ตุลาคม.ค.ศ. 1728 
- ที่หมู่บ้านมอตั้นในเขตนอร์ทยอร์คเชียร์ (Marton-Yorkshire)
เสียชีวิต อายุ.50.ปี วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 
- ถูกฆ่าตายโดยชาวเกาะฮาวาย(Kealakekua Bay-Hawaii)

       เจมส์ คุก(Captain James Cook)เป็นนักสำรวจและนักเดินเรือชาวอังกฤษ และยังเป็นนักทำแผนที่อีกด้วย เค้าเดินเรือไปยังทวีปต่ง ๆ เพื่อสำรวจแนวชายทะเลจนทำเป็นแผนที่และพบแผ่นดินใหม่ ๆ ขึ้น ซึ่งชาวยุโรปไม่เคยเดินทางไปมาก่อนเลย เขาเป็นทั้งนักสำรวจ นักค้นพบแผ่นดินใหม่ๆ และนักทำแผนที่โลกคนแรกที่สามารถ วาดผังของแต่ละทวีป แต่ละประเทศ แต่ละหมู่เกาะ จนนำไปสู่การขยายอาณานิคมอย่างกว้างขวางให้กับอังกฤษ ในเวลาต่อมา ทำให้อังกฤษได้เปรียบนักล่าอาณานิคมจากยุโรปรายอื่น ๆ  การมีแผนที่ของคนสมัยนั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ช่วยสร้างความได้เปรียบใน เชิงการทหารเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ง่ายต่อการวางแผนกองกำลังและการรบของแต่ละฝ่าย และนั่นคือสาเหตุสำคัญของอังกฤษที่สามารถเข้าไปยึดครอง ขยายอาณาจักรได้มากกว่าผู้อื่น จนเรียกได้ว่ามีธงอังกฤษโบกสะบัดไปทั่วทุกแห่งของโลก  กลายเป็นประเทศที่พระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน  

                  ประวัติ เจมส์ คุก เป็นชาวอังกฤษ เกิดในครอบครัวที่มีฐานะต่ำต้อย เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1728 ที่หมู่บ้านในเขตนอร์ทยอร์คเชียร์ เขาเป็นหนึ่งในบุตรห้าคน  ของนายเจมส์ คุก ซีเนียร์ เชื้อสายสก็อต และนางเกรซ คุก ซึ่งเป็นชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น เขาเป็นทั้งนักสำรวจ นักเดินเรือ และยังเป็นนักทำแผนที่อีกด้วย งานสำรวจของเขาช่วยทำให้โลกเราได้ทราบสภาพของภูมิศาสตร์ของโลกภาคพื้น มหาสมุทรแปซิฟิกมากขึ้น เขาได้รับยกย่องว่าเป็นนักสำรวจคนสำคัญที่สุดในศตวรรษที่ 18
        นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ช่วยให้จักรภพอังกฤษได้ครอบครองดินแดนออสเตรเลีย  เขาเดินทางรอบโลกและเดินทางไปครบทั้ง 7 ทวีปภายในช่วงเวลาที่เขามีชีวิตอยู่ ซึ่งน้อยคนนักในเวลานั้นที่จะสามารถเดินทางไกลและพบเห็นดินแดนและหมู่เกาะ มากมายที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนเช่นเขา
        ในปี ค.ศ. 1755 เขาก็สมัครเข้าทำงานในหน่วยราชนาวีอังกฤษ  ค.ศ. 1755 ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ได้ทำสงครามที่เรียกว่า “สงครามเจ็ดปี” ระหว่างฝรั่งเศส ออสเตรีย รัสเซีย แซกโซนี สวีเดน และสเปน ผลของสงครามครั้งนี้ทำให้อังกฤษกลายเป็นเจ้าอาณานิคมในครอบครองมากที่สุด   ในปีเดียวกันเขาได้เริ่มต้นตำแหน่งเป็นกะลาสีเรือชั้นหนึ่งเขาได้รับการ เลื่อนขั้นอย่างรวดเร็วเป็นหัวหน้าผู้บังคับบัญชาการเรือ 
          ราวปี ค.ศ. 1757 ภายในระยะเวลาเพียง 2 ปีของการเข้าร่วมหน่วยราชนาวี เขาผ่านการทดสอบให้สามารถควบคุมการเดินเรือและกองทัพเรือได้


              ในระหว่างการทำสงครามเจ็ดปี เจมส์ คุก ในฐานะที่เป็นหัวหน้าเรือเพ็มโบรก เขาได้มีส่วนร่วมในการยึดเมืองควิเบก ก่อนที่จะเกิดการสู้รบที่ทุ่งอับราฮัม ในปี ค.ศ. 1759 ซึ่งเป็นการสู้รบระหว่างกองทัพบกและกองทัพเรือของอังกฤษกับกองทัพฝรั่งเศส ที่ทุ่งราบภายนอกเมืองควิเบก เจมส์ คุก ได้แสดงพรสวรรค์ออกมาในการสำรวจและการทำแผนที่ และรับผิดชอบการทำแผนที่ตรงทางเข้าแม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ ซึ่งผลจากการสำรวจและทำแผนที่ของเจมส์ คุก นี้ทำให้นายพลวอล์ฟ สามารถทำการโจมตีและรบชนะกองทัพฝรั่งเศสในทุ่งอับราฮัมได้ ทำให้อังกฤษสามารถยึดครองดินแดนแถบนั้นเป็นอาณานิคมได้ในที่สุด
         ด้วยความเชี่ยวชาญในการสำรวจของเขาได้ทำแผนที่ชายฝั่งอันขรุขระของนิ วฟาวด์แลนด์ ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่นอกชายฝั่งตะวันออกของอเมริกาเหนือ โดยทำเป็นแผนที่ชายฝั่งทะเลของเกาะที่มีความละเอียดสูงเป็นแผนที่แรก และทำให้เขาได้รับความสนใจจากกระทรวงกองทัพเรืออังกฤษ และราชสมาคม ที่จะให้เขาเป็นผู้นำในการเดินทางสำรวจดินแดนโพ้นทะเลอื่นๆ
         ต่อมาเขาได้ล่องเรือต่อไปยังตะวันตกเฉียงใต้สู่นิวซีแลนด์ และใช้เวลาทำแผนที่ทั้งสองเกาะเป็นเวลา 6 เดือน เขาได้ทำแผนที่ชายฝั่งนิวซีแลนด์ให้สมบูรณ์ เขาได้ค้นพบว่าเกาะนิวซีแลนด์ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนที่ยิ่งใหญ่ทาง ตอนใต้ที่เขาค้นหาอยู่ แต่เป็นเกาะใหญ่ 2 เกาะใกล้กัน เขาเดินทางมานิวซีแลนด์โดยมีหัวหน้าเรือชาวตาฮิติที่พูดกับชาวเมารีรู้ เรื่อง ทำให้คณะการเดินทางของเขาได้รับการต้อนรับอย่างดีจากชาวเมารี และพบว่าชาวเมารีเป็นชนพื้นเมืองที่มีจิตใจเป็นนักรบและกล้าหาญ  ว่ากันว่าชาวตะวันตกรู้จักการสักเป็นครั้งแรกก็เพราะเจมส์ คุก ชาวเกาะทะเลใต้หรือเมารีนั้นนิยมการสักกันมากและเรียกว่า “ทาทาอู” ในบันทึกส่วนตัวของเขา 

               ในปี ค.ศ. 1769 ได้เดินทางไปยังหมู่เกาะ Marquesas Islands เขาได้พบเห็นการสักเหล่านี้และเขาได้เขียนบันทึกไว้ว่า “พวกเขาทำสัญลักษณ์บนผิวหนังของคนและเรียกสิ่งนี้ว่าแทตโทว์” เขาได้นำชาวพื้นเมืองเมารีที่เชี่ยวชาญการสักกลับไปอังกฤษด้วย และการสักเกิดติดลมกลายเป็นแฟชั่นในหมู่คนชั้นสูง เพราะคนมีเงินเท่านั้นจึงจะมีรอยสักได้เนื่องจากมีราคาแพง  หลังจากนั้นเขาจึงตัดสินใจกลับอังกฤษโดยแล่นเรือไปทางทิศตะวันตก และไปถึงชายฝั่งทะเลทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปออสเตรเลียได้ในที่สุด
              ปี ค.ศ. 1770 เขาเป็นชาวยุโรปพวกแรกที่เดินทางไปถึงและค้นพบชายฝั่งทะเลตะวันออกของทวีป ออสเตรเลีย  เขาบันทึกว่าเขาได้พบกับชาวพื้นเมืองที่ต่อมาถูกเรียกว่า “อะบอริจิ้นส์” ที่เกาะบรัซ โดยบันทึกไว้ว่า “ชาวอินเดียน...สี่ถึงห้าคน...เปลือยกายและตัวดำมาก”  กระแสลมทำให้เรือของเขาได้ถูกพัดขึ้นไปทางเหนือเรื่อยๆ และได้มาพักที่อ่าวใหญ่แห่งหนึ่ง เขาและลูกเรือได้เดินทางเหยียบพื้นแผ่นดินใหญ่ของทวีปออสเตรเลียเป็นครั้ง แรก โดยเขาได้ตั้งชื่อสถานที่แห่งนี้ว่า “โบทานีย์เบย์” (Botany Bay) นัก พฤกศาสตร์ที่เดินทางไปด้วย ได้พบและเก็บตัวอย่างพืช นก และสัตว์ใหม่ๆ จำนวนมากมาย ดังนั้นเจมส์ คุก จึงตั้งชื่อที่แห่งนี้ว่าโบตานีเบย์ (แปลว่าอ่าวแห่งต้นไม้) จากการพบพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ๆ นั่นเอง 
          หลังจากนั้นเจมส์ คุก ก็ล่องเรือต่อไปทางเหนือมาเรื่อยๆ และก็เกิดอุบัติเหตุขึ้นเมื่อเรือเอนเดฟเวอร์แล่นเรือเกยตื้นโขดหินไปชนแนว ปะการังขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งก็คือปะการังเกรตแบริเออร์รีฟที่อยู่ทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศออสเตรเลีย เกรตแบริเออร์รีฟเป็นแนวปะการังที่ยาวที่สุดในโลกคือยาว 2,600 กิโลเมตร กินพื้นที่ถึง 344,400 ตารางกิโลเมตร  การชนปะการังทำให้เรือได้รับความเสียหายมาก และทำให้การเดินทางต้องล่าช้า เรือจอดซ่อมที่ชายหาดแห่งหนึ่ง ปัจจุบันคือ Cook Town ซึ่งสถานที่แห่งนี้อยู่ใกล้ๆ กับปากแม่น้ำเอนเดฟเวอร์ ในขณะที่หยุดซ่อมแซมเรืออยู่นั้น เขาได้ออกสำรวจพร้อมด้วยลูกเรือบางคนของเขาเข้าไปภายในทวีป และได้พบจิงโจ้สัตว์ประหลาดที่มีถุงเลี้ยงลูกอยู่ที่ท้อง พวกเขาได้ถูกชาวพื้นเมืองรบกวนหลายทางจนถึงกับจุดไฟป่าไล่พวกเขาไป

 
           เมื่อซ่อมเรือเสร็จจึงออกเดินทางต่อ และล่องเรือผ่านแหลมยอร์ค ทอร์เรสสเตรท ซึ่งอยู่ระหว่างออสเตรเลียและนิวกีนี และก็ทอดสมอและลงเรือที่เกาะโพเซสชั่น เจมส์ คุกชักธงอังกฤษขึ้นที่นี่ และอ้างสิทธิ์ในแถวตะวันออกของทวีปทั้งหมดนี้ให้อยู่ภายใต้ชื่อ "นิวเซาธ์เวลส์" แด่พระเจ้าจอร์จที่ 3  เขาเดินทางถึงอังกฤษ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1771 
        กรกฎาคม ค.ศ. 1775 เค้าเกษียณตัวเองไปทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล Royal Hospital ในกรีนนิช แต่เขาก็ยังคงคิดถึงการเดินทาง เขาจึงวางแผนเดินทางอีกเป็นครั้งที่สามซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายสำหรับเขาได้ บังคับบัญชาเรือ HMS Resolution อีกครั้ง และมีเรืออีกลำคือ Discovery เดินทางออกไป      เขาแล่นเรือขึ้นทางเหนือและค้นพบหมู่เกาะฮาวายเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 18 เดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1778 โดยเขาได้ตั้งชื่อเกาะแห่งนี้ว่า “หมู่เกาะแซนด์วิช” ตามชื่อของลอร์ดแซนด์วิช ซึ่งเป็นเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ต่อมาหมู่เกาะนี้ได้ตั้งชื่อใหม่และเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า “หมู่เกาะฮาวาย”          
       เจมส์ คุก ได้ทำแผนที่ส่วนใหญ่ของชายฝั่งทะเลของทวีปอเมริกาเหนือบนแผนที่โลกได้เป็น ครั้งแรก เขาได้พยายามแล่นเรือข้ามช่องแคบแบริ่งหลายครั้ง แต่ก็ล้มเหลว เขาจึงเริ่มที่จะทรมานจากอาการปวดท้อง เขากลับมายังฮาวายอีกครั้งในปี ค.ศ. 1779 และในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เขาถูกฆ่าตายโดยชาวเกาะฮาวาย โดยเรือ HMS Resolution และเรือ Discovery ก็เดินทางกลับถึงอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1780
...........................



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น