ตำแหน่งเทพผู้สร้างโลก(Earth)
ปรากฏตำนานกรีซโบราณ(GREEK Mythology)
-ตำนานฮีเซียด (Hesiod)
สถานที่พำนักจักรวาลความว่างเปล่า เคออส(Chaos)
พระบิดาเอเธอร์-อากาศ(Aether)
พระมารดาเคออส-ความวุ่นวาย(Hemera.or Chaos)
พี่น้องทอร์ทารัส(Tartarus) ,อีรอส(Eros)
สัญลักษณ์ประจำตัวคือ ดิน
ไกอา หรือ เกอา (Gaia หมายความว่าพื้นดินหรือพื้นโลก) หรือ จีอา (Gaea) เป็นเทพีองค์แรกของโลกตามตำนานของชาวกรีก ร่างกายของนางคือพื้นพิภพ นามในภาษาละตินของนางคือ เทร์รา (Terra)แต่เดิมนั้นในโลกมีเพียงความวุ่นวายและมืดมน นั่นก็คือเคออส ต่อมาไกอาได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นพื้นพิภพ พร้อมๆกับนิกซ์ผู้เป็นกลางคืน อีรีบุสผู้เป็นความมืด อีรอสหรือกามเทพ และทาร์ทะรัส คุกใต้พิภพ ต่อมาไกอาจึงสร้างอูรานอส หรือท้องฟ้าขึ้นปกคลุมเหนือผืนดิน ปอนตัสหรือทะเล และโอยูเรีย หรือภูเขาขึ้น ไกอาเป็นเทพีองค์แรกของโลก และเป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่งทั้งปวง ดังนั้นไกอาจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในด้านการสร้าง นางมีสวามีหลายองค์และให้กำเนิดลูกหลานเป็นเทพ อสุรกาย และภูตพรายต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก
ตำนานฮีเซียด (Hesiod) กล่าวว่า จักรวาลเริ่มต้นจากความว่างเปล่ามีเทพชื่อ เคออส(Chaos)แปลว่าความว่างเปล่า จากนั้นก็มี ดิน-ไกอา (Gaia) นรก-ทอรทารัส(Tartarus) และ ตัญหา-อีรอส(Eros ) เกิดขึ้นมา แล้วGaiaก็ให้กำเนิด ท้องฟ้า-ยูเรนัส (Uranus) โดยลำพัง แต่ตามคำรา Apollodorus แล้ว เรื่องมันเริ่มตรงที่ Gaia เลย แตกต่างกันนิดหน่อย ไม่มาก แล้ว Uranus ก็ได้เป็นผู้ปกครองเทพเจ้าทั้งหมดเป็นคนแรก
เทพเจ้ากรีก ส่วนใหญ่จะเป็นตัวแทนของสิ่งต่างๆ ทั้งรูปธรรม และ นามธรรม ตัวอย่างก็เช่น เวลาพูดถึง Uranus ก็ให้คิดถึงท้องฟ้า ความกว้างใหญ่ที่แผ่ปกคลุมพื้นดิน หรือ Eros ซึ่งเป็นความรู้สึก เป็นนามธรรม มีผลกับทุกสิ่งทั้งเทพเจ้าและมนุษย์ เวลาอ่าน ก็ลองคิดตามไปด้วย จะคิดว่า Tartarus เป็นเทพเจ้าแห่งนรก เป็นผู้สร้างนรก หรือเป็นตัวนรกเองก็ได้ หรือจะคิดว่า Gaia ก็คือ พระแม่ธรณี จะนึกภาพเป็น เทพเจ้าแห่งพื้นดิน หรือเป็นตัวพื้นดินเอง ก็ได้เช่นกัน
จากนั้น Gaia และ Uranus ก็สมสู่กัน และให้กำเนิดลูกๆ มากมาย (อย่าตกใจนะว่า ก็แม่ลูกกันไม่ใช่เหรอ มันเป็นเรื่องของนิยายเชิงนามธรรม) ลูกๆ ของ Gaia และ Uranus ก็แบ่งได้เป็นสองกลุ่ม
กลุ่มแรกเป็นยักษ์ร้อยมือ ห้าสิบหัว มีสามตนด้วยกัน ชื่อ Briareus (ไบอาริอุส), Gyes (กายเอ็ส) และ Cottus (คอททัส)
กลุ่มที่สองเรียกว่า Cyclopes หรือยักษ์ตาเดียว ชื่อ Arges (อาเกส), Steropes (สเตอโรเปส) และ Brontes (บรอนเตส) ชื่อของสามคนนี้แปลว่า แสงสว่างจากฟ้า ฟ้าผ่า และ ฟ้าร้อง
ลูกทั้งหกคนนื้ ถูก Uranus จับโยนลงไปในนรกและขังไว้เพราะความเกลียดชัง จากนั้น Uranus และ Gaia ก็มีลูกสองกลุ่มถัดมา เรียกว่า กลุ่ม Titans (ไททาน) ซึ่งเป็นชายหกคน และ Titanides (ไททานไนด์) ซึ่งเป็นหญิงเจ็ดคน แต่บางทีก็ถูกเรียกเป็น Titans เหมือนกันหมด
เนื่องจาก Uranus หรือท้องฟ้าเนี่ย กลัวว่าลูกของตนจะมาแย่งชิงอำนาจ และตำแหน่งเทพแห่งเทพไปเมื่อ Gaia ให้กำเนิด Titans ออกมา Uranus ก็เอาไปขังไว้ใต้ดินทีละคนทุกๆคนตรงนี้ต้องคิดนิดหนึ่งไอ้ใต้ดินเนี่ยมันที่ไหนก็ในเมื่อ Gaia คือพื้นดินใต้ดินก็น่าจะเป็นในตัว Gaia เองพวก Titansถูก Uranusขังไว้ในท้อง Gaia เมื่อมากๆเข้า Gaia ก็เจ็บปวดและทนไม่ไหวจึงวางแผนที่จะให้ลูกๆในท้องทำร้ายพ่อและหนีออกมาจึงสร้างเคียวขึ้นมาจากสิ่งที่เรียกว่า Adamant ซึ่งเชื่อว่าแข็งแรงที่สุดและนำไปให้ลูกๆในท้อง พร้อมกับบอกแผนการไปแต่เนื่องจากลูกทุกคนก็กลัวพ่อจึงไม่มีใครกล้าทำตามแผนของGaiaยกเว้น Cronus(โครนัส)ซึ่งยอมที่จะช่วยแม่Cronusเป็นเทพแห่งเวลาหรือตัวเวลานั่นเองตามแผนของ Gaia นั้น Cronus จะรอจนกว่า Uranus จะมาสมสู่กับ Gaia พอมาถึง Cronus ซึ่งอยู่ในท้องก็จะต้องใช้มีดตัดอวัยวะเพศของ Uranus แล้วพาพี่น้องหนีกันออกมา แน่นอน ว่าสำเร็จตามแผน
ตั้งแต่นั้นมาท้องฟ้าก็ไม่เคยสัมผัสพื้นดินอีกเลย เมื่อออกมาแล้ว Cronus ก็นำอวัยวะของพ่อไปทิ้งทะเล เมื่อตกโดนทะเลก็มีฟองเกิดขึ้นมากมายแลในท่ามกลางฟองนั้นก็มีเทพเจ้าอีกคนถือกำเนิดขึ้นมาคือ Aphrodite นั้นเอง(จริงๆแล้วในภาษากรีก คำว่า Aprhoditeแปลว่าเกิดจากฟอง) Aphrodite จึงเป็นเทพแห่งความรักและตัญหา ทว่า มีข้อขัดแย้งนิดหน่อยตรงนี้ที่กล่าวมาเกี่ยวกับการเกิดของ Aphrodite เป็นไปตามที่ Hesiod เขียนแต่ตำราApollodorusนั้ Aphrodite เป็นลูกของ Zeus เกิดเรียบง่ายกว่าเยอะไม่หวือหว่าเท่าเอาละ Cronus ก็พาพี่น้องออกกันมาได้สำเร็จ และกลายเป็นมหาเทพหลังจากแย่งชิงบัลลังค์จากพ่อได้
ดังที่ Uranus กลัว ก็ขึ้นครองบัลลังค์เป็นราชาแห่งเทพแทน ตำราภายหลังเล่าต่ออีกนิดว่า Uranus ก็แช่ง Cronus ไว้ว่าจะหลานจะมาชิงบัลลังก์เหมือนที่พ่อทำกับปู่ทำให้ Uranus ระแวงและต่อไปจะนำไปสู่ตำนานกำเนิดมหาเทพ Zeus (ซูส หรือ เซอูส)ราชาแห่งเทพคนปัจจุบัน
...............................
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น