Legend Elizabeth อลิซาเบธที่1ราชินีพรหมจรรย์

Author: Pirate Onepiece / ป้ายกำกับ:

Myth Elizabeth I of England Virgin Queen
ฉายาราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์(Virgin Queen)
-พระมหากษัตรีย์ของยุคทองของอังกฤษ
ตำแหน่ง สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ
(Elizabeth I of England)
-สมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์
สัญชาติ อังกฏษ(England)
ราชวงศ์ทิวดอร์f(Tudor dynasty)
พระบิดาพระเจ้าเฮนรีที่8แห่งอังกฤษ(Henry VIII)
พระมารดาแอนน์..โบลีน(Anne Boleyn)
พระนัดดา เจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งคอร์วอลล์
- สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ
- พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษ
ครองราชย์ 17 พฤศจิกายน ค.ศ.1558-24 มีนาคม ค.ศ. 1603
ราชสมภพ  7 กันยายน ค.ศ.1533
-กรีนิช-ลอนดอน,อังกฤษ(Palace..of..Placentia-Greenwich)
สวรรคต อายุ 69 ปี - 24 มีนาคม ค.ศ.1603
-ริชมอนด์,ลอนดอน,อังกฤษา(Richmond..Palace-Surrey)

      สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่1.แห่งอังกฤษ (Elizabeth I of England) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษพระฉายานามว่า“ราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์”เนื่องจากการไม่อภิเษกสมรสเลยตลอดพระชนม์ชีพ  รัชสมัยของพระองค์เป็นที่รู้จักกันว่า “สมัยเอลิซาเบธ” ที่มีชื่อเสียงเหนือสิ่งใดว่าเป็นยุคเรอเนสซองซ์ของนาฏกรรมของอังกฤษ ที่นำโดยนักเขียนบทละครผู้มีชื่อเสียง กล่าวว่าทรงเป็นผู้มีอารมณ์หุนหันพลันแล่น และบางครั้งก็ทรงเป็นผู้นำผู้ไม่มีความเด็ดขาด ผู้ทรงได้รับผลประโยชน์จากโชคมากกว่าที่จะทรงใช้พระปรีชาสามารถ ในปลายรัชสมัยปัญหาต่างๆ ทางเศรษฐกิจ และทางการทหารก็ทำให้บ้านเมืองอ่อนแอลง จนถึงกับกล่าวกันว่าการเสด็จสวรรคตนำมาซึ่งความโล่งใจของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน

http://legendtheworld.blogspot.com/2013/10/elizabeth-i-of-england-virgin-queen.html






        ชีวิตในวัยเด็กของพระองค์ยากลำบากมากเมื่อพระเจ้าเฮนรี่ที่แปดได้ประกาศเพิกถอนการสมรสกับพระราชินีแอนโบลีน ซึ่งทำให้เอลิซาเบทกลายเป็นลูกนอกสมรสไปในชั่วพริบตาด้วยอายุเพียง 3 ขวบ เอลิซาเบทถึงกับเอ่ยปากถามพระพี่เลี้ยงว่า "เป็นไปได้อย่างไร เมื่อวานนี้เจ้ายังขานนามข้าว่าเจ้าหญิง แต่วันนี้ข้าเป็นเพียงเลดี้ เอลิซาเบท" 


        เมื่อเฮนรี่สมรสใหม่กับพระนางเจน ซีมัวร์ นั้นทำให้พระองค์ก็มิได้ใส่ใจกับเอลิซาเบทอีกต่อไป ถึงขนาดที่พระพี่เลี้ยงต้องส่งหนังสือถึงเฮนรี่เพื่อขอให้จัดหาเสื้อผ้าใหม่ให้แก่เอลิซาเบท เพราะเหตุว่าพระองค์เจริญพระชนมายุเกินกว่าที่จะสวมใส่เสื้อผ้าเก่านั้นได้ต่อไปอีกแล้ว  เมื่อพระนางเจน ซีมัวร์เสียชีวิตหลังจากที่ได้ให้กำเนิดแก่เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด พี่น้องต่างมารดา พระเจ้าเฮนรี่จึงสมรสใหม่กับแคทเธอรีน ฮาวเวิร์ด ซึ่งเป็นพระญาติกับพระราชินีแอน โบลีน แคทเธอรีนดูแลให้ความรักแก่เจ้าหญิงองค์น้อยนี้เป็นอย่างดี ทั้งยังได้ยกย่องพระองค์ให้สมกับตำแหน่งเจ้าหญิง แต่ความสุขความอบอุ่นก็มาเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ และจบลงเมื่อแคทเธอรีนต้องโทษประหารชีวิตอีกคน เอลิซาเบทตกอยู่ในสภาพที่สับสนทางจิตใจมาก เมื่อเห็นผู้หญิงที่เธอรักสองคนต้องตายตกตามกันไปเพราะผู้ชายคนเดียวกัน ถึงขนาดที่เธอเอ่ยปากกล่าวกับโรเบิร์ต ดัดเลย์ เพื่อนเล่นเมื่อครั้งยังพระเยาว์จนเติบโตมาเป็นเพื่อนใจในยามหนุ่มสาวว่า ในชีวิตนี้พระองค์จะไม่อภิเษกกับใครทั้งสิ้น
           เมื่อสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 เสด็จสวรรคตราชบัลลังก์อังกฤษก็ตกไปเป็นของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 พระราชโอรสแต่ก็ครองราชได้ไม่นาน เจ้าหญิงแมรีก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแมรี ที่ 1 ผู้ทรงเป็นโรมันคาทอลิก 



       17 พฤศจิกา ค.ศ.1558 พระราชินีแมรีที่ 1 เสียชีวิตลงในตอนนั้น อลิซาเบธอายุ 25 ปี ได้ขึ้นเสวยราชย์เป็นราชินีองค์ใหม่ ได้รับการแซ่ซ้องและยอมรับเป็นอย่างมากจากผู้คนที่หวังจะได้มีเสรีภาพทางศาสนามากขึ้นหลังจากที่ได้ถูกกดขี่มาโดยตลอดในรัชกาลก่อนๆ โดยมีที่ปรึกษาราชการผู้มีคุณธรรม พนำโดยวิลเลียม เซซิล บารอนแห่งเบอร์ลีย์ที่ 1 สิ่งแรกที่ทรงกระทำในฐานะพระราชินีนาถคือการสนับสนุนการ ก่อตั้งสถาบัน โปรเตสแตนต์อังกฤษ ซึ่งมีพระองค์เองเป็น “ประมุขสูงสุด” (Supreme Governor) นโยบายทางศาสนาของพระองค์เป็นนโยบายที่ดำเนินตลอดมาในช่วงรัชสมัยการปกครอง และต่อมาวิวัฒนาการมาเป็น “นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์” ในปัจจุบัน
      นโยบายต่อต้านและเข้มงวดต่อผู้ถือนิกายโรมันคาทอลิกเพิ่มความรุนแรงขึ้น มีผลให้อังกฤษสนับสนุนฝ่ายกบฏชาวฮอลันดาที่ต่อต้านสเปน มีการ “แต่งตั้งโจรสลัด” อย่างเป็นงานเป็นการ ดังเช่นจอห์น ฮอว์ลีน และ ฟรานซิส เดรกเพื่อคอยดักปล้นทรัพย์สินของพวกสเปนในโลกใหม่ ปรากฏการณ์เหล่านี้ยั่วยุให้สเปนก่อสงครามรุกรานอังกฤษ 


          ในปี พ.ศ. 2101 กองเรืออาร์มาดาอันยิ่งใหญ่ของสเปนได้บุกเข้ามาปิดช่องแคบอังกฤษ แต่ก็ถูกทำลายจากทั้งพายุที่มีชื่อว่า ลมโปรแตสแตนท์และการตีโต้กลับจากฝ่ายอังกฤษจนสูญเสียเรือเป็นจำนวนมากพ่ายแพ้อย่างบอบช้ำจนต้องถอยกลับสเปน  
       หลังจากที่สามารถเอาชนะศึกทางทะเลได้สำเร็จทำให้นานาประเทศต่างยอมรับและยำเกรง ต่อราชวงค์อังกฏษเป็นอันมากนำมาซึ่งยุคสมัยอันเรืองรองในการเดินเรือที่นำโดยพระราชินีอลิซาเบธ เรียกยุคสมัยนี้ว่า “ยุคสมัยแห่งเอลิซาเบธ” หรือยุคทองทางทะเล เนื่องจากเป็นยุคที่อังกฤษขยายแสนยานุภาพไปทั่วโลก ในยุคสมัยนี้ ได้มีชาวอังกฤษผู้โด่งดังในสาขาวิชาต่างๆ มากมาย เช่น กวีชื่อก้องโลก วิลเลียม เชกสเปียร์ คริสโตเฟอร์ มาโลว์ และ จอห์น เบ็นสัน ก็ได้มีเริ่มมีชื่อเสียงในยุคนี้ ฟรานซิส เดรก ได้เป็นชาวอังกฤษคนแรกที่เป็นนักเดินเรือสำรวจรอบโลก ฟรานซิส เบคอน ได้เสนอความคิดทางปรัญชาและทางการเมืองได้สร้างอาณานิคมของอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนือ

        ช่วงชีวิตในช่วงหลังของยุคสมัยของเธอ เป็นไปอย่างเชื่องช้าและต้องทนมองคนสนิทของเธอต้องตายไปทีละคนเริ่มจากที่ปรึกษาคนสนิทที่เสียชีวิตลงในปี 1598 ต่อด้วยแคทเธอรีน ฮาวเวิดท์ญาติสนิทของเธอในปี 1603 ความเสียใจของเธอทำให้สูขภาพย่ำแย่จนในที่สุด ในวันที่  24 มีนาคม ค.ศ.1603 สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งราชวงศ์ทิวดอร์ก็สิ้นใจลงที่พระราชวังริชมอนต์  พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งราชวงศ์สจวร์ตขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ต่อไป การครองราชย์ที่ยาวนานของพระองค์ตรงกับช่วงที่อังกฤษเริ่มมีแสนยานุภาพทางทะเลของโลกและช่วงที่เรียกว่าเป็น "ยุคฟื้นฟูศิลปะของอังกฤษ" (English Renaissance) 
         การเป็นตำนาน "พระราชินีพรหมจรรย์" ของพระองค์ที่พระองค์เองก็มีส่วนสนับสนุนให้เรียกพร้อมกับกวีและนักแต่งบทละครในราชสำนักเพื่อให้คนทั่วไปที่รู้จักไปในทางนั้น กลายเป็นสิ่งบดบังบทบาทของพระองค์ในฐานะเป็นผู้สร้างสำนึกแห่งความเป็นชาติของอังกฤษไปสิ้น
................................

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น