Legend Yang Guifei หญิงงามนามหยางกุ้ยเฟยผู้สยบหมู้มวลดอกไม้

Author: Pirate Onepiece / ป้ายกำกับ:

Myth YangGufei-มวลผกาละอายนาง

ฉายา"มวลผกาละอายนาง" (XIU HUA-羞花)
-ความงามที่ทำให้แม้แต่มวลหมู่ดอกไม้ยังต้องละอาย
ตำแหน่งสนมเอก
-ราชินีแห่งราชวงศ์ถัง(Imperial Consort Yang)ู
สัญชาติ จีน(Chinees)
บิดาหยางหยวนเอี่ยน(Yang Xuanyan)
มารดานางหลี่ซื่อ(Lady.of Liang)
เกิดเมื่อ  26 มิถุนายน ค.ศ. 719
-ชาวเมืองหย่งเล่อ(Yongle-China)
เสียชีวิตอายุ 37 ปี 
-เมื่อวันที่15กรกฎาคม ค.ศ.756

               หยางกุ้ยเฟย (Yang Guifei - 楊貴妃) พระนามเดิมคือ หยางอี้หวน (Yang Yuhuan - 楊玉環)  เป็นหนึ่งในสี่หญิงงามแห่งแผ่นดินจีน "ความงามที่ทำให้แม้แต่มวลหมู่ดอกไม้ยังต้องละอาย” หลังจากที่เข้าวังแล้วนางก็มักจะคิดถึงบ้านเกิด วันหนึ่งนางไปเดินเล่นในสวนดอกไม้ มองเห็นดอกโบตั๋นและกุหลาบจีนที่กำลังบานสะพรั่ง แล้วคิดถึงตนเองที่ถูกกักอยู่ในวังหลวง ผ่านวัยสาวไปอย่างไร้ความหมาย นางร้องไห้พลางลูบดอกไม้นั้น เมื่อนางแตะถูกกลีบดอกไม้กลีบนั้นก็หุบลง ใครจะคิดว่าต้นไม้ที่นางลูบนั้นคือต้นนางอาย นางกำนัลคนหนึ่งพบเห็นเหตุการณ์นี้เข้า จึงนำไปเล่าลือว่าหากหยางอี้หวนเทียบความงามกับดอกไม้แล้ว ดอกไม้ยังต้องละอายก้มลงให้แก่นาง เรื่องนี้ได้ยินไปถึงพระกรรณฮ่องเต้ พระองค์มีความยินดีเป็นอย่างมาก จึงทรงเรียกหยางอี้หวนให้เข้าพบทันที นางแต่งกายงดงามแล้วจึงมาเข้าเฝ้า ฮ่องเต้ได้พบว่านางมีรูปโฉมที่งดงามเป็นอย่างยิ่ง จึงให้อยู่ปรนนิบัติรับใช้ข้างกาย เนื่องจากนางรู้จักเอาใจจึงเป็นที่โปรดปรานของฮ่องเต้ ไม่นานนักก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกุ้ยเฟย 
http://legendtheworld.blogspot.com/2013/08/yang-guifei.html





         หยางกุ้ยเฟย มีความสามารถในทางดนตรีขับร้องและฟ้อนรำ ที่จริงเป็นชายาของโซ่วอ๋อง โอรสองค์ที่ 18 ของฮ่องเต้ถังเสวียนจง ภายหลังถังเสวียนจงพบว่าหยางอี้หวนมีรูปโฉมงดงาม คิดจะเรียกเข้าวัง ดังนั้นจึงตั้งให้เป็นนักบวชหญิงฉายาไท่เจิน สมัยเทียนเป่าปีที่สี่ (ค.ศ. 745) ได้เข้าวัง เป็นที่โปรดปรานของถังเสวียนจง จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสนมเอกหรือกุ้ยเฟย (ในขณะนั้นถังเสวียนจงมีพระชนมายุ 61 พรรษา ส่วนหยางกุ้ยเฟยมีอายุเพียง 27 ปีเท่านั้น) 

      ตอนที่นางจะเกิดนั้น มารดาของนางได้ฝันเห็นสายรุ้งพาดโค้งจากฟากฟ้าลงมาที่เตียงนอน พร้อมส่งแสงประกายระยิบระยับงดงาม แต่เพียงชั่วครู่เดียวก็หายวับไป กลายเป็นดาวตกพุ่งตกลงมาสู่พื้น มีเสียงดังสนั่นหวั่นไหว  อวี้หวน เมื่อเจริญวัยขึ้น มีรูปโฉมที่งดงามและเปล่งปลั่งชวนมองยิ่งนัก อีกทั้งยังมีผิวกายที่มีกลิ่นหอมจรุงใจ เป็นที่เลื่องลือไปทั่วทั้งหมู่บ้าน และตำบลที่นางอาศัยอยู่ นางมีความสามารถทางดนตรี ขับร้องและฟ้อนรำ

           ในปีที่ ๒๕ ของรัชสมัยจักรพรรดิถังเสวียนจง (唐玄宗) พระองค์ทรงดำริที่จะหาพระชายาให้พระโอรสโซ่วอ๋อง (寿王) โอรสองค์ที่ ๑๘ อาของอวี้หวนทราบข่าวจึงนำนางเข้าไปถวาย และก็ไม่ผิดหวัง 
        โซ่วอ๋อง เมื่อแรกได้เห็นนางนั้น ก็ถึงกับตะลึงพรึงเพริดในความงามของนาง ดังนั้นนางจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระชายาของพระโอรสโซ่วอ๋อง ตั้งแต่นางมีอายุได้เพียง ๑๖ ปี ซึ่งกำลังอยู่ในวัยสาวแรกรุ่น

         ต่อมา อู่กุ้ยเฟย พระสนมที่จักรพรรดิถังเสวียนจง ทรงโปรดปรานได้เสียชีวิตลงอย่างกะทันหัน พระองค์ยังทรงหาพระชายาใหม่ที่ถูกพระทัยไม่ได้ ขันทีเกาลี่ซื่อผู้ใกล้ชิดจึงทูลเสนอว่า หญิงงามที่สุดในแผ่นดินไม่มีใครงามเกินหยางอวี้หวน พระชายาของโซ่วอ๋อง
แล้วเกาลี่ซื่อได้ออกอุบายให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรนาง เพียงแรกประสบพบเท่านั้น พระองค์ก็ถึงกับลุ่มหลงในความงามของนางโดยทันที แต่เนื่องจากติดขัดที่นางเป็นชายาของโซ่วอ๋อง
       เกาลี่ซื่อจึงบอกอุบายอันแยบยล ให้พระองค์แต่งตั้งนางเป็นนักพรตหญิงฉายาไท่เจิน แล้วหาพระชายาใหม่ให้โซ่วอ๋องแทน 

       สมัยเทียนเป่าปีที่สี่ ( พ.ศ.๑๒๘๘ ) อวี้หวนได้เข้าวัง และเป็นที่โปรดปรานของถังเสวียนจง จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสนมเอกหรือกุ้ยเฟย (ขณะนั้นจักรพรรดิถังเสวียนจงมีพระชนมายุ ๖๑ พรรษา ส่วนหยางกุ้ยเฟยมีอายุเพียง ๒๗ ปีเท่านั้น)

         พ่อ พี่น้องแลเครือญาติของนางทั้งหมดได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนาง และฮูหยินทั้งหมด จนเป็นที่โจษจันกันไปทั่วว่า เพราะมีลูกสาวดี จึงได้ดิบได้ดีกันถ้วนหน้าทุกครั้งที่นางจะนั่งรถม้า ต่างก็มีบรรดาขุนนางใหญ่บังคับรถม้าให้ด้วยตัวเอง นางมีช่างถักทอและปักผ้าถึงเจ็ดร้อยคน มีผู้คนมากมายแย่งกันมอบของกำนัลต่างๆ ให้ เนื่องจากขุนนางจางจิ่วจางและหวังอี้มอบของกำนัลให้นางจึงได้เลื่อนตำแหน่ง ดังนั้นบรรดาขุนนางทั้งหลายต่างก็หวังที่จะได้รับผลตอบแทนเช่นเดียวกัน 

        หยางกุ้ยเฟยโปรดปรานลิ้นจี่จากแดนหลิ่งหนาน ก็มีผู้คนคิดหาวิธีที่จะนำมาส่งมาถึงเมืองฉางอานให้เร็วที่สุด ความที่จักรพรรดิ์ถังเสวียนจง ทรงลุ่มหลงอยู่แต่นาง และเล่นดนตรี จนละเลยการปกครองว่าราชการเมือง ทำให้หยางกั๋วจง (杨国忠-YANG KGUOA ZHONG) พี่ชาย (ลูกพี่ลูกน้อง) ของนางได้รวบอำนาจการปกครองไว้ถึง ๔๐ ตำแหน่ง จนมีตำแหน่งเทียบเท่าสมุหนายก กินสินบนอย่างเปิดเผย ใช้ระบบอุปถัมภ์ในการคัดเลือกคนเข้ารับราชการหรือเลื่อนตำแหน่ง ทำให้เกิดความเดือดร้อนไปทั่ว
         เป็นเหตุให้ อานลู่ซาน (安禄山-AN LU SHAN) ได้หยิบยกข้ออ้างนี้มาก่อการกบฏ โดยนำทหารจากชายแดนและทหารทิเบตเข้ามายึดนครฉางอานได้โดยง่ายดายในปี พ.ศ. ๑๒๙๙ ทำให้องค์จักรพรรดิถังเสวียนจง ต้องทรงลี้ภัยชั่วคราวไปในทางตอนใต้ของมณฑลซื่อชวน (เสฉวน) อานลู่ซานยกกองทัพติดตามไป ไม่เพียงเพราะต้องการแผ่นดินราชวงศ์ถังเท่านั้น แต่ยังต้องการครอบครองสาวงามหยางกุ้ยเฟยอีกด้วย
        ในระหว่างทางที่ทรงลี้ภัยไปนั่นเอง หยางกั๋วจงได้ถูกเหล่าทหารรุมจับสังหารเสีย จากนั้นเหล่าทหารได้ทูลพระองค์ว่า "การที่เกิดกบฏเข้ายึดบ้านครองเมือง ทำให้ราชวงศ์ต้องเสื่อมถอยก็เพราะหยางกั๋วจงเป็นต้นเหตุ เมื่อหยางกั๋วจงตายไปแล้ว แต่โดยรากยังคงอยู่นั่นคือ หยางกุ้ยเฟย ฉะนั้นนางก็ไม่สมควรอยู่ให้เป็นที่ครหาด้วย"


        จักรพรรดิ์ถังเสวียนจงทรงโทมนัสในพระทัยอย่างสุดพรรณนา ในที่สุดจึงทรงรับสั่งให้ประหารชีวิตหยางกุ้ยเฟย โดยให้กาลี่ซื่อผู้นำนางมาถวายพระองค์ นำผ้าแพรขาวไปมอบให้นางเพื่อให้แขวนคอตายใต้ต้นหลีในสวน  หยางกุ้ยเฟยได้จบชีวิตลงอย่างน่าสงสารในปี พ.ศ.๑๒๙๙ ระหว่างทางลี้ภัยไปมณฑลซื่อชวน ขณะนั้นนางมีอายุเพียง ๓๘ ปีเท่านั้น
     ภายหลัง กวีเอกไป๋จวีอี้ได้แต่งลำนำ “ฉางเฮิ่นเกอ” (长恨歌) บรรยายเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ตอนนี้ขึ้น

"...ยามเมื่อนางหันมาแย้มสรวล ก็นำมาซึ่งเสน่ห์ร้อยประการ
เป็นเหตุให้นางสนมทั้ง ๖ ตำหนัก ต้องด้อยรัศมีลง
ยามเมื่อนางอาบน้ำในสระ (หัวชิงฉือ)
เหล่านางสวรรค์กำนัลใน (๓,๐๐๐ นาง)
ต่างก็พรึงเพริดด้วยโฉมอันงามวิไลนัก..."
 
      หลังจากที่หยางกุ้ยเฟยฆ่าตัวตายไปแล้ว ไม่มีภาพวาดของนางปรากฏให้เห็นอีกเลย อีกทั้งตระกูลหยาง ยังถูกตัดสินฆ่าล้างทั้งตระกูล จนบัดเดี๋ยวนี้ ก็ยังไม่แน่ใจว่ายังมีหลักฐานเกี่ยวกับ หยางกุ้ยเฟยหลงเหลืออีกหรือไม่

..........................

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น