Legend_JiangWe_ เกียงอุยลมหายใจสุดท้ายมังกร

Author: Pirate Onepiece / ป้ายกำกับ:

Myth JiangWei The last General
ฉายา เกียงอุยขุนพลตับโต
ตำแหน่ง ต้าเจียงกุน(Fei Yi) มหาขุนพลพิทักษ์อาณาจัก
-นักรบแห่งจ็กก็ก-ฉู่ฮั่น(Warrior of Shu Han)
ปรากฏพงศาวดารจีน-สามก็ก (Romance of the Three Kingdoms) 
สัญชาติ จีน(Chinees) 
บิดาเกียง..เจียง(Jiang Jiong)
มารดา ----
ภรรยา โจไซ
กำเนิด เกิดปี ค.ศ.202 
 -ชนเผ่าเกี๋ยงอัน..อำเภอยิ เมืองเทียนสุย ประเทศจีน
เสียชีวิต อายุ 62 ปี - ค.ศ.264
อาวุธ หอกมังกรฟ้า(Blue Dragon Spear)
- ทวนมังกรพิโรธ(Dragon's Spleen)

          เกียงอุย โป๊ะเยียะ (Jiang Wei) เป็นผู้ที่มีสติปัญญาหลักแหลม รอบรู้กลวิธีรบเป็นอย่างดี เชี่ยวชาญการศึก และเก่งกาจในเพลงอาวุธ แม้แต่จูล่งยังต้องกล่าวชื่นชม มีความกตัญญูรู้คุณต่อบิดามารดา หน้าตาดี ไม่ใฝ่ในทางโลภ เคยวางกลซ้อนทับขงเบ้ง จนขงเบ้งต้องยอมรับในฝีมือ  เมื่อครั้งก่อนขงเบ้งจะตาย เขาก็ได้มอบตำราพิชัยสงครามที่ ทั้งหมด 24 เล่ม ให้เกียงอุยไว้ศึกษาต่อเพื่อใช้ทำการใหญ่แทนตน  แม้จะเชี่ยวชาญเก่งทั้งบุ๋นบู๊ ยากจะหาได้ในจ๊กก๊กคอยค้ำจุนบัลลังก์ตลอดมาจน ภายหลังจ๊กก๊กต้องล่มสลายลงเพราะความโฉดเขลาของเล่าเสี้ยน  ทำให่เกียงอุยยอมรับไม่ได้จึงเชือดคอตัวเองตายที่ไม่อาจรับได้ที่ชาติต้องล่มในยุคของเค้า
http://legendtheworld.blogspot.com/2013/10/jiang-wei-last-general.html.........
 




       เกียงอุยหรือเจียงเว่ย ชื่อรองคือโป๊ะเยียะ พื้นเพเป็นชนเผ่าเกี๋ยงอัน เป็นชนเผ่าเร่ร่อนที่ ชำนาญการรบบนหลังม้า ยิงธนู และเขายังขึ้นชื่อว่าเป็นคนหน้าตาดีมากคนหนึ่งด้วย  ช่วงวัยเด็กไม่มีแน่ชัด บอกเพียงว่าเมื่อเข้าอายุ 20 ต้นๆ เขาก็รับราชการที่เมืองเทียนสุย ซึ่งตอนนั้นเป็นเมืองชายแดนหน้าด่านของวุยก๊ก โดยสังกัดในกองทัพม้าของแฮหัวหลิมเจ้าเมืองเทียนสุย

         ในปี ค.ศ. 225  ขงเบ้งนำทัพเข้าตีเมืองเทียนสุยโดยให้นายเฒ่าจูล่งเป็นทัพหน้า ผลปรากฏว่าจูล่งผู้ผ่านสมรภูมิมานับไม่ถ้วนและไม่เคยพบกับความพ่ายแพ้แม้สัก ครั้ง ต้องเสียท่าและเกือบพ่ายแพ้เป็นครั้งแรกให้กับนาทหารหนุ่มที่มีอายุเพียง 23 ปีเท่านั้น ซึ่งการนำทัพเข้าตีเมืองของจูล่งในครั้งนี้ก็เกิดจากการวางแผนการของขงเบ้ง ด้วย นั่นเท่ากับว่านายทหารหนุ่มคนนี้สามารถอ่านแผนการของขงเบ้งออกและยังหาทางตีโต้กลับได้ด้วย

        ขงเบ้งประหลาดใจที่มีคนอ่านแผนของตนออกได้อย่างง่ายดาย และเมื่อพบว่าอีกฝ่ายเป็นเพียงนายทหารหนุ่มไร้ชื่อก็ยิ่งตกใจเข้าไปใหญ่ และทำให้เกิดความชื่นชมในความสามารถขึ้นด้วย และเมื่อสืบทราบว่านายทหารหนุ่มผู้นั้นมีชื่อว่าเกียงอุย ขงเบ้งก็ปรารถนาที่จะได้ตัวมาอย่างยิ่ง
        ขงเบ้งจึงวางแผนหลายชั้นเพื่อทำให้เกียงอุยต้องผิดใจ กับแฮหัวหลิมเจ้าเมืองเทียนสุยและทำให้เกียงอุยไม่อาจกลับไปวุยก๊กได้อีก จากนั้นก็ให้ตามตัวแม่ของเกียงอุยเพื่อมาเกลี้ยกล่อมให้เขายอมสวามิภักดิ์ ต่อจ๊กก๊ก  เมื่อได้เกียงอุยมาแล้ว เขาคนนี้ก็กลายเป็นแม่ทัพคนสนิทที่ขงเบ้งมักจะปรึกษาหารืองานด้านทหารทุกครั้งและไม่ว่าศึกครั้งใดก็จะนำเขาไปด้วยเสมอ
         ในศึกทั้งหกครั้งของขงเบ้งในการตีวุยก๊กนั้น เกียงอุยเข้าร่วมด้วยในฐานะแม่ทัพคนสำคัญ และหลังจากที่ขงเบ้งตายลง เขาก็ได้รับสืบทอดอำนาจด้านการบัญชาทหารมาจากขงเบ้งในตำแหน่งแม่ทัพพิทักษ์ ฮั่น จากนั้นหลายปีต่อมาจึงขึ้นมารับ ตำแหน่งต้าเจียงกุน (มหาขุนพล) ควบคุมกำลังทหารทั้งหมด ภายในจ๊กก๊กหรือเสฉวน    

       ในปี ค.ศ. 234 ช่วงสุดท้ายของยุคหลังจากสิ้นพระเจ้าเล่าปี่และ 5 ทหารเสือขุนพลกล้าแล้ว ก็มาถึงคราวขงเบ้งที่จะตามพวกเค้าไป


         หลังขงเบ้งเสียชีวิต ผู้ที่มีอำนาจการบริหารดูแลจัดการทั้งหมดมีสามคนด้วยกัน เจียวอ้วนได้รับตำแหน่งไจเสี่ยง ดูแลกิจการทั้งหมดในจ๊กก๊ก โดยมีบิฮุยซึ่งเป็นคนที่มีลักษณะประนีประนอมเป็นรอง ส่วนเกียงอุยนั้นรับหน้าที่ควบคุมกำลังทหารคอยประจำอยู่ตามชายแดน  การรับราชการในจ๊กก๊กหรือเมืองเสฉวนของเกียงอุยนั้น กล่าวกันว่ามีอุปสรรคอยู่มาก เนื่องจากว่าเกียงอุยนั้นเป็นผู้ที่ชูนโยบายทำสงครามกับวุยก๊กซึ่งเขารับสืบ ทอดมาจากขงเบ้งที่ตายไป ในขณะที่บิฮุยชูนโยบายปกปักรักษาดินแดนและทั้งสองมักจะขัดแย้งกันเสมอ แต่ยังดีที่เจียวอ้วนผู้กุมอำนาจสูงสุดค่อนข้างเห็นด้วยกับบิฮุย 

         จ๊กก๊กยุคหลังสิ้นขงเบ้งจึงเริ่มฟื้นตัวจากความสูญเสียมาไม่น้อยเพราะ ปราศจากสงคราม  จะว่าไปแล้วอาเต๊าหรือพระเจ้าเล่าเสี้ยนบุตรของเล่าปี่นั้นก็เป็นฮ่องเต้ที่ ขาดอิสรภาพไม่ใช่น้อย เพราะอำนาจการบริหารประเทศนั้นตกอยู่ในมือขงเบ้งมาหลายปีแล้วยังตกมาสู่ผู้ ที่ขงเบ้งกำหนดไว้ก่อนตายอีก ทำให้มีคนไม่พอใจอยู่ไม่น้อย เนื่องจากพื้นเพเป็นชนเผ่านอกด่าน ซึ่ง เกียงอุยเองก็คงรู้ตัวดี ดังนั้นเขาจึงเลือกที่จะประจำอยู่ตามชายแดนมากกว่าจะอยู่ในส่วนกลางซึ่
         หลังจากนั้นเมื่อเจียวอ้วนตายลง บิฮุยขึ้นรับสืบทอดอำนาจแทน ระบบการบริหารในจ๊กก๊กเริ่มเปลี่ยนแปลง เมื่อเหลืออำนาจเพียงสองขั้วขับเขี้ยวกัน


       ในปีค.ศ. 249 ตระกูลสุมาซึ่งนำโดยสุมาอี้ก่อการรัฐประหาร สังหารโจซองผู้สำเร็จราชการตาย และจับเครือญาติของโจซองสังหารหมดสิ้น  เกียงอุยถือโอกาสที่ฝ่ายวุยเกิดความเปลี่ยนแปลงนี้ เข้าเฝ้าพระเจ้าเล่าเสี้ยนเพื่อขอนำทัพออกศึก  บิฮุยพยายามทัดทานแต่ก็ไม่เป็นผล ไม่นานเกียงอุยก็นำทัพบุกไปวุยก็กและำนำกำลังเข้าตีอย่างฉับพลันแต่ก็ถูกโต้กลับจากแม่ทัพเตงงาย ทำให้ผลการศึกครั้งนี้เกียงอุยต้องพ่ายแพ้และเสียไพร่พลไปไม่ใช่น้อย ทำให้เกียงอุยเริ่มรู้ว่าการจะเอาชนะวุยไม่ใช่ของง่าย และทำให้เขาหันมาฝึกฝนไพร่พลเพื่อการตั้งรับตามนโยบายของบิฮุย
         ในปี ค.ศ. 253 บิฮุยก็ถูกขุนนางฝ่ายวุยที่มาสวามิภักดิ์แทงตาย  เกียงอุยจึงกลายเป็นผู้กุมอำนาจเต็มที่ในจ๊กก๊ก และตัดสินใจยกทัพทำศึกกับวุยอีกครั้งทันที  แม้แต่พระเจ้าเล่าเสี้ยนเองก็ไม่อาจห้ามเขาได้   เกียงอุยนำทัพออกศึกอีกแปดครั้ง ในช่วงเวลาหลายปีต่อจากนั้น ซึ่งก็ประสบกับความปราชัยต่อเตงงายแม่ทัพของวุยแทบทุกครั้ง แม้จะมีที่ชนะบ้างก็ไม่ค่อยจะได้เห็นเป็นรูปธรรมเท่าใด 
       ความพ่ายแพ้ของเกียงอุยสาเหตุไม่ใช่มาจากความไล้สามารถของเค้าแต่มาจากการที่คนรุ่นก่อนเร่งที่จะทำสงครามมากเกินไปจนทรัพยกร ต่างๆทั้งคน สเบียง  ต่างหมดไปอย่างรวดเร็วหรือแม้แต่แม่ทัพก็ไม่มีให้ใช้สอย ซึ่งต่างจากจ็กก็กที่ชนะเมืองไหนก็ปล้นชิงทรัพย์สินไปจนหมด
        ในปีค.ศ. 263 ทางฝ่ายวุยก๊ก นำโดยสุมาเจียวลูกของสุมาอี้ ได้ตัดสินใจส่งกองทัพใหญ่ที่มีเตงงายและจงโฮยเป็นแม่ทัพ นำเข้าตีจ๊กก๊ก โดยเข้ายึดเมืองฮันต๋งเป็นเมืองแรก  โดยในขณะนั้นเกียงอุยอยู่ที่ปาเส เมื่อรู้ข่าวการเสียเมืองฮันต๋ง จึงรีบส่งจดหมายกลับเมืองหลวงแต่จดหมายกลับไปไม่ถึง ทัพวุยยังคงบุกตียึดหัวเมืองน้อยใหญ่ได้อย่างง่ายดาย จนเกียงอุยซึ่งอยู่ที่ปาเสต้องนำทัพที่เหลือไปตั้งมั่นที่กิก๊กอันเป็น ปราการด่านสุดท้ายก่อนจะเข้าถึงเมืองหลวงเฉิงตู
          ที่ด่านนี้มียอดผาสูงชันเป็นปราการธรรมชาติ ทำให้สามารถป้องกันการบุกรุกของฝ่ายวุยได้อย่างเข้มแข็ง จนทัพวุยไม่อาจตีแตกได้ จึงแบ่งทัพเป็นสองทัพ จงโฮยแบ่งทหารเป็นกองเล็กบุกเข้าตีด่านกิก๊กอย่างต่อเนื่อง ส่วน เตงงายนำหน่วยรบพิเศษจำนวนหนึ่งเข้าเส้นทางลัดที่เต็มไปด้วยหน้าผาสูง  ในที่สุดเตงงายสามารถนำทหารอ้อมเขาเข้ายึดเมืองเฉิงตูได้โดยง่าย เพราะเล่าเสี้ยนยอมสวามิภักดิ์ด้วยการพาข้าราชบริพารออกมาเข้าแถวคำนับที่ หน้าเมือง
         เกียงอุยซึ่งอยู่ที่กิก๊กนั้นยังไม่รู้เรื่อง และยังคงสู้รบรักษาด่านต่อไปจนกระทั่งมีราชโองการมาจากเล่าเสี้ยนให้ยอมแพ้ และนั่นก็คืออวสานของจ๊กก๊ก  
         จากนั้นเกียงอุยแสร้งทำเป็นยอมสวามิภักดิ์ต่อจงโฮย จากนั้นจึงวางแผนยุให้จงโฮยก่อกบฏและให้ใส่ความว่าเตงงายเป็นกบฏต่   สุมาเจียว จึงนำทัพหลักมาตั้งมั่นดูเหตุการณ์ณ์ที่เตียงฮัน และได้มีคำสั่งให้จับกุมเตงงายฐานกบฏ และถูกตัดในที่สุด ส่วนจงโฮยนั้นคิดก่อกบฏจริงๆ แต่ก็ทำไม่สำเร็จถูกฆ่าตายระหว่างรบ
       ส่วนเกียงอุยนั้นเชือดคอตายท่ามกลางความวุ่นวาย เหล่าทหารวุยก๊กต่างพากันชำแหละเอาศพของเยงอุยมาดูพบว่ามีดีที่ใหญ่โตมาก ซึ่งคนจีนโบราณนั้นมีความเชื่อว่าผู้ที่มีดีใหญ่แสดงว่ามีความกล้ามาก  แต่กระนั้นความกล้าและความพยายามครั้งสุดท้ายของเขาในการเป็นแม่ทัพคนสุด ท้ายที่ยืนหยัดรักษาจ๊กก๊กโดยไม่ถอย ก็นับว่าเป็นคุณสมบัติหนึ่งของยอดขุนพลได้เช่นกัน แม้ว่าเขาจะผิดพลาดในแง่ของการเป็นนักบริหารและขุนพลผู้มีวิสัยทัศน์กว้าง ไกลก็ตาม 

.....................

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น