Legend Musashi มิยะโมะโตะ-มุซะชินักดาบอันดับหนึ่ง

Author: Pirate Onepiece / ป้ายกำกับ:

Myth Miyamoto Musashi Greatest Swordsman

http://legendtheworld.blogspot.com/2013/10/miyamoto-musashi-one-swordsman.html
ฉายา ซามูไรดาบคู่ ผู้ไร้เทียมทาน (Dual Swordsman)    
ตำแหน่ง ตำนานนักดาบ ที่เก่งที่สุดในญี่ปุ่น(Japan's Greatest Swordsmen) 
สัญชาติ ญี่ปุ่น(Japan) 
บิดา ชินเมน มุนิไซ (Shinmen Munisai)
มารดา ----
บุตร ลูกสาว 2 คน
ลูกศิษย์ ผู้สืบทอดทั้ง 3 พี่น้องเทรโอะ มาโกโนะโจ ,เทรโอะ โมโตเนะโนะสุเกะ และ,ฟูรุฮาชิ โซซาเอม่อน
กำเนิด13..มิถุนายน.ค.ศ. 1584
-จังหวัดฮะริมะ,ญี่ปุ่น (Harima - Japan) 
เสียชีวิต อายุ  61ปี - 13 มิถุนายน ค.ศ. 1645 
-มะเร็งในช่องท้อง ที่จังหวัดฮิโงะ(Higo - Japan)
วิชาการต่อสู้ เคนจัตสุ(Kenjutsu)
อาวุธ ดาบคู่ - กะเรียนหยก(Jade Warbler)

          มิยะโมะโตะ มุซะชิ (Miyamoto Musashi) เป็นซามูไร ที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากคนหนึ่ง ว่ากันว่าเขาต่อสู้กว่า 60 ครั้ง ไม่เคยแพ้เลยแม้แต่ครั้งเดียวนั่นเป็นเพราะเค้าเป็นผู้มีทั้งร่างกายและจิตใจที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะการฝึกจิตเพื่อเอาชนะศัตรูภายในใจตน มีชื่อว่า จิตไร้พ่าย  เขาไม่เชื่อในเรื่องดวงหรือโชคชะตา แนวทางชีวิตของเขา คือ “จงเคารพบูชาพระเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่จงอย่าขอร้องอ้อนวอนให้ท่านช่วย” โดยการสู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา คือ การสู้กับ ซะซะกิ โคะจิโร และรวมถึงมีอยู่ครั้งหนึ่งมุซาชิเคยถูกลูกศิษย์ในสำนักของโยชิโอกะตามไล่ฆ่า เพราะมุซาชิได้สังหารเจ้าสำนักของโยชิโอกะตายถึง 3 คนและได้ฆ่าลูกศิษย์ของโยชิโอกะที่ตามฆ่าไปถึง 70 กว่าคนภายในเวลาเพียงแค่ชั่วข้ามคืน 
http://legendtheworld.blogspot.com/2013/10/miyamoto-musashi-one-swordsman.html.....................................




           มูซาชิ ( Musashi) ซามูไรดาบคู่ ที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ ในประวัติศาสตร์ มู ซาชิ มิได้มีแค่ชัยชนะในสมรภูมิเท่านั้น หากเป็นทั้งการแสวงหาทางด้านจิตวิญญาณ-ความหมายแห่งชีวิต และความเป็นเลิศในเชิงดาบไปพร้อม ๆ กัน  เขาเป็นลูกของซามูไรบ้านนอกขาดแม่ และในวัยเด็กทำท่าว่าจะเป็นคนที่เอาดีไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ลักษณะเด่นของมูซาชิ คือเป็นคนบึกบึนไม่ยอมแพ้ใครซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญอย่างหนึ่งของนักรบ สำหรับการเป็นนักรบนั้นแตกต่างจากนักฆ่าโดยสิ้นเชิง นักรบย่อมเห็นคุณค่าของชีวิตไม่ว่าของตนเอง หรือของผู้อื่น ไม่โอ้อวดเสี่ยงภัยอย่างไร้สาระ พร้อมเสียสละชีวิตเพื่อบรรลุ จุดมุ่งหมายที่เหมาะสมจริง ๆ   

http://legendtheworld.blogspot.com/search/label/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%86%E0%B9%8C           มูซาชิเป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลของสมองทั้งสองข้าง ทั้งซีกซ้ายและซีกขวา ใช้ดาบได้อย่างคล่องแคล่วทั้งสองมือ ดาบคู่ของเขานั้นยังสั้นข้าง-ยาวข้าง ด้วยการชี้แนะของพระเซนรูปหนึ่งที่ชื่อ ทากุอัน มูซาชิได้เลิกนิสัยมุทะลุดุดันชอบเอาชนะ แบบบ้าเลือด แล้วหันมาแสวงหาหนทางการเป็นนักสู้ที่แท้จริง การใช้กำลังกับภูมิปัญญามิใช่สิ่งแยกออกจากกันได้
          มูซาชิอ่านทุกอย่างตั้งแต่ประวัติศาสตร์ปรัชญามาจนถึงตำราพิชัยสงคราม ขณะเดียวกันก็ได้ฝึกควบคุมตัวเองให้รู้จักสงบนิ่ง เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์อันเลวร้าย  มูซาชิได้ค้นพบว่าหนทางแห่งนักรบนั้นแยกไม่ออกจากหนทางแห่งความเป็นคน ความเป็นเลิศในเพลงดาบคือสิ่งเดียวกับความงาม ความสงัดสุข และความดี พูดอีกนัยหนึ่งคือ มูซาชิจะไม่สามารถบรรลุความเป็นเลิศในฝีมือได้ถ้าหากเขาไม่แสวงหาทางหลุดพ้น ในระดับจิตวิญญาณไปพร้อมๆกัน  ท่ามกลางการฝึกฝีมือดาบ 

         การต่อสู้เริ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่เมื่อเขามีอายุได้เพียงแค่ 13 ปีขาต่อสู้กับ อาริมะ คิเฮ (Arima Kihei ) ผู้เชี่ยวชาญวิชาดาบสำนักคาชิม่าชินโตริว (鹿島新当流 - Kashima Shinto ryu ผลของการดวลในครั้งนั้นคือมุซะชิได้ฆ่าคู่ต่อสู้ตาย
         ในปี 1600 ได้เกิดสงครามระหว่างตระกูลโทโยโทมิ (Toyotomi) กับตระกูลโตกุกาว่า (Tokugawa) ซึ่งมุซะชิก็เข้าร่วมสงครามครั้งนี้ด้วย โดยอยู่ข้างตระกูลโทโยโทมิ ซึ่งต่อมาเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ทำให้มุซะชิต้องหลบหนีภัยสงครามไปช่วงหนึ่ง
         ต่อมาขณะที่มุซะชิมีอายุได้ 20 - 21 ปี เขาเดินทางไปยังเมืองเกียวโต ซึ่งที่นี่มุซะชิได้ต่อสู้กับสำนักดาบโยชิโอกะซึ่งเป็นสำนักดาบที่มีชื่อ เสียงอย่างมากในเมืองเกียวโต การต่อสู้มีทั้งหมด 3 ครั้ง   โดยครั้งแรกต่อสู้กับโยชิโอกะ เซจูโร่ (Yoshioka Seijuro) ครั้งที่ 2 กับโยชิโอกะ เดนชิจิโร่ (Yoshioka Denshichiro) ครั้งที่ 3 กับเด็กอายุเพียงแค่ 12  ปีชื่อว่าโยชิโอกะ มาตาชิจิโร่ (Yoshioka Matashichiro) ซึ่งต้องกลายมาเป็นเจ้าสำนักต่อจากเซจูโร่และเดนชิจิโร่ผู้เป็นพี่ชาย 


       เมื่อมาตาชิจิโร่ขึ้นเป็นจ้าวสำนัก เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากคนในสำนักรวมทั้งบุคคลภายนอกเค้าจำเป็นต้องเอาโค่นมุซาชิลงให้ได้และมีโอกาศเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก่อนขึ้นเป็นจ้าวสำนักอย่างเต็มตัว คราวนี้จึงไม่ใช่เป็นการต่อสู้หนึ่งต่อหนึ่งแต่เป็นการที่สำนักดาบโยชิโอกะรุม มุซะชิคนเดียว ในครั้งนี้มุซะชิได้ฆ่ามาตาชิจิโร่และคนอื่นๆ ไปมากมาย และสำนักดาบโยชิโอกะก็ถูกทำลายลงไป และตรั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกที่มุซะชิใช้ดาบสองมือ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นวิชาดาบเฉพาะตัวของเขาที่เรียกว่า นิเทนอิจิริว (二天一流)  
           หลังจากนั้นเขาได้ต่อสู้กับนักสู้ที่มีชื่อเสียงอีกหลายคนเช่น ชิชิโดะ ไบเคน (Shishido Baiken) ผู้ที่เชี่ยวชาญในวิชาเคียวโซ่ ( Kusarigama)   มุโซ กอนโนสุเกะ คัทสุโยชิ (Muso Gonnosuke) ผู้ให้กำเนิดวิชาการต่อสู้ด้วยไม้ที่เรียกว่า จิโอะ (杖:じょう,  jō

          การต่อสู้ครั้งสำคัญที่สุดก็คือการต่อสู้กับซาซากิ โคจิโร่ (Sasaki Kojiro) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1612 ขณะที่มุซะชิมีอายุราว 30 ปี โคจิโร่เป็นซามูไรที่มีชื่อเสียงมากที่สุดอีกคนหนึ่ง และมีฐานะเป็นทั้งเจ้าสำนัก และอัศวินชั้นสูง ทั้งสองจะต้องประลองฝีมือกันโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันต่อหน้าบรรดาขุนนางชั้น ผู้ใหญ่ซึ่งมานั่งดูเป็นสักขีพยาน   การต่อสู้เกิดขึ้นที่เกาะกันริวจิมะ ( Ganryujima) ห่างจากฝั่งประมาณ 2 ไมล์ ขณะที่ผู้คนจากทั่วสารทิศได้หลั่งไหลกันมาดูเหตุการณ์ด้วยความตื่นเต้น มูซาชิกลับใช้เวลาก่อนดวลนั่งวาดรูป จากนั้นก็ขึ้นเรือลำเล็ก ๆ ไปสู่จุดนัดหมาย และใช้เวลาบนเรือถากพายหักด้ามหนึ่งเพื่อใช้เป็นอาวุธ ปะทะกันได้ไม่ถึงอึดใจ เขาก็ใช้ดาบไม้นั้นสังหารคู่ต่อสู้ลงไป และในขณะที่ทุกคนยังไม่หายตื่นเต้นกับฉากดวลระหว่างนักดาบชั้นครู มูซาชิก็โดดกลับลงเรืออย่างเงียบ ๆ ไม่มีท่าทีแยแส กับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งปวง  

http://legendtheworld.blogspot.com/search/label/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%86%E0%B9%8C

           นอกจากวิชาดาบแล้ว มุซะชิยังสนใจการวาดรูป การแกะไม้และพุทธศาสนา มุซะชิได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่มและเรียนรู้การวาดภาพ การแกะสลัก การเขียนบทกวี ตลอดจนสิ่งประณีตละเอียดอ่อนอีกหลาย ๆ อย่าง ในที่สุดเขาก็ค้นพบว่าทั้งหมดนี้เป็นสิ่งเดียวกัน " มันคือศักยภาพของความเป็นคน" จากเด็กหนุ่มที่บ้าเลือดไร้ทิศทาง มูซาชิค่อย ๆ กลายเป็นหนุ่มใหญ่ที่อ่อนน้อมถ่อมตน ละเอียดอ่อนทั้งกับผู้อื่นและตัวเอง เขาเติบโตพ้นเรื่องของศักดิ์ศรีหน้าตาที่เป็นเพียงเปลือกนอก ตลอดจนลาภ ยศ สรรเสริญทั้งปวง 
      อันนี้ทำให้มูซาชิสามารถหลีกเลี่ยงสมรภูมิที่ไม่จำเป็นได้โดยไม่แยแสกับ เสียงติฉินนินทา ทว่ายามใดที่ต้องรบ เขาก็สามารถรบ ได้ด้วยความสงบนิ่งดุจภูผา ศัตรูคนแล้วคนเล่าร่วงล้มด้วยเพลงดาบไร้สำนักของเขา กระทั่งชื่อมูซาชิกลายเป็นที่รู้จักกันทั่วไป  แม้ในยามที่มีชื่อเสียงแล้วก็ตาม
        ในปี ค.ศ.1645 เชื่อกันว่ามุซะชิอาจเสียชีวิตตามธรรมชาติหรือไม่ก็ด้วยโรคมะเร็งในช่องท้อง  ขณะมีอายุได้ 61 ปีเขาตายอย่างสงบหลังจากที่เขียนหนังสือเล่มสุดท้ายคือ วิถีแห่งการก้าวเดินโดยลำพัง (独行道, Dokkōdō) ซึ่งเป็นหลักการ 21 ประการเพื่อเป็นการชี้นำคนรุ่นต่อไป ร่างของมุซะชิถูกฝังอย่างสงบในหมู่บ้านยูเงะ (弓削町, Yuge-chō) ซึ่งอยู่ใกล้กับเขาอิวาโตะ (Iwato) 
 .............................

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น