Legend Pirate Pietersen Heyn โจรสลัดปิแอร์.ปีเตอร์เซ็น.ไฮน์

Author: Pirate Onepiece / ป้ายกำกับ:

Pirate World Pieter Pietersen Heyn

http://legendtheworld.blogspot.com/2013/12/pirate-pieter-pietersen-heyn.html
ฉายา นายพลโจรสลัไฮน์ (Captain Heyn)
ตำแหน่งพลเรือเอก(Vice - Admiral)
- โจรสลัดถูกกฏหมาย อนุญาติให้ปล้น (Privateering) 
สัญชาติ ดัตช์- เนเธอร์แลนด์ (Netherlands)
ภรรยา แอนเนเกอ เคลสดอคเตอร์ เดอ รอยส์(Anneke Claesdochter de Reus)
ทายาทสายตรง นางปิแอ ไฮน์(Ms. Piet Heyn)
เกิดเมื่อ 25 พฤศจิกายน 1577
-ที่เดลฟ์ชาเฟ่น,เนเธอร์แลนด์(Netherlands)
ช่วงปีเป็นโจรสลัด ค.ศ.1698-1701
มูลค่าสมบัติ ประมาณ 11,509,524 กิลเดอร์ดัชต์
ลูกเรือ เรือเนปทูนุซ (The Neptunus)
เสียชีวิต อายุ 51 - 23 พฤ18 มิถุนายน 1629
- โบสถ์เก่าแก่ของเมืองเดลฟท์ (The Oude Kerk - Delft)

      ปีเตอร์ ปีเตอร์เซ็น ไฮน์ (Pieter Pietersen Heyn) (Hien)เค้าเป็นวีรบุรุษทหารเรือชาวดัชต์เพียงไม่กี่คนที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางจากชาวบ้าน ให้เป็นวีรบุรุษผู้พิชิตของพวกเค้าและเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ผู้มีส่วนร่วมในสมัยสงคราม 80ปี ในการประกาศอิสรภาพจากการเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิสเปน และไฮน์ยังเป็นโจรสลัดคนแรกและคนสุดท้ายชาวดัชต์ที่สามารถเข้ายึดเรือขนสมบัติสัญชาติสเปนมูลค่ามหาศาลจากอเมริกาได้
http://legendtheworld.blogspot.com/2013/12/pirate-pieter-pietersen-heyn.html 





     ไฮน์เกิดที่เมืองเดลฟ์ชาเฟ่น (ปัจจุบันเมืองนี้เป็นส่วนหนึ่งของเมืองรอตเทอร์ดัม (Rotterdam) เขากลายมาเป็นกะลาสีเรือตั้งแต่ยังหนุ่ม บิดาของเขาก็เป็นกัปตันเรือมาก่อน ครั้งหนึ่งในช่วงวัย 20 ปีเขาเคยถูกเรือสัญชาติสเปนจับกุมได้ ทำให้ต้องไปเป็นทาสอยู่บนเรือสเปนลำนั้นถึง 4 ปี คาดว่าน่าจะเป็นในช่วงปี 1598 ถึง 1602 และเขาได้แลกเปลี่ยนตัวกับนักโทษชาวสเปน แต่แล้วในช่วงปี 1603 และ 1607 เขาก็ถูกจับกุมโดยชาวสเปนอีกครั้งใกล้ ๆ กับคิวบา (Cuba)
       ในปี 1607 เขาก็ได้เข้าร่วมกับบริษัทอินเดียตะวันออกของดัชต์ (Dutch East India Company) และออกเดินทางไปยังทวีปเอเชีย 5 ปีต่อมาเขาก็กลับมายังบ้านเกิดอีกครั้งในตำแหน่งกัปตันของเรือฮอลแลนเดีย (The Hollandia) เขาสมรสกับ แอนเนเกอ เคลสดอคเตอร์ เดอ รอยส์ (Anneke Claesdochter de Reus) และตั้งรกรากอยู่ที่รอตเทอร์ดัม
         ในปี 1618 ในระหว่างที่เขาบัญชาการเรือเนปทูนุซ (The Neptunus) ทั้งเขาและเรือของเขาก็ถูกบังคับให้ไปทำงานที่เวนิซ 

http://legendtheworld.blogspot.com/2013/12/pirate-pieter-pietersen-heyn.html

     ในปี 1621 เขาก็ละทิ้งเรือของเขาไปและเดินทางยังเนเธอแลนด์ จนในปี 1622 เขาได้เป็นสมาชิกของสภาปกครองท้องถิ่นของเมืองรอตเทอร์ดัมแม้ว่าเขาจะไม่ได้เป็นพลเมืองของเมืองนี้ก็ตามแต่ว่าญาติฝ่ายภรรยาของเขาซึ่งเป็นหนึ่งในสามของคณะเจ้าผู้ปกครองเมืองช่วยให้เขาได้รับสิทธิพิเศษนี้
      ในปี 1623 เขาได้รับการเลื่อนขั้นเป็นพลเรือโทของบริษัทอินเดียตะวันตกของดัชต์ (Dutch West India Company) และออกเดินทางไปยังอินดีสตะวันตกในปีถัดไป ที่ประเทศบราซิลเขาสามารถเข้าจับกุมชาวโปรตุเกสที่ตั้งรกรากที่เมืองซัลวาดอร์ได้โดยเขาเป็นผู้นำในการเข้าโจมตีป้อมปราการที่ตั้งอยู่ที่เมืองนั้น
       ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกันเขาและลูกเรือจำนวนหยิบมือหนึ่งก็ร่องเรือไปยังแถบชายฝั่งตะวันตกของอัฟริกาเพื่อที่จะเข้าโจมตีชาวโปรตุเกสที่ตั้งฐานป้องกันอยู่ที่เมืองลูอันด้า (Luanda) แต่ว่าก็ล้มเหลว เขาจึงเดินเรือข้ามไปยังฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกเพื่อที่จะเข้ายึดเรือสินค้าที่เมืองวิตอเรียแต่ก็พ่ายแพ้ให้กับกลุ่มต่อต้านที่เป็นชาวเมืองท้องถิ่นซึ่งได้กำลังสนับสนุนมาจากกองกำลังทหารชาวโปรตุเกส 
          หลังจากนั้นไฮน์ก็เดินทางกลับบ้าน บริษัทอินเดียตะวันตกของดัชต์ประทับใจในความเป็นผู้นำของไฮน์เป็นอย่างมากจึงแต่งตั้งให้เขาเป็นผู้บัญชาการกองเรือรบหมู่หนึ่งในปี 1626 
        ต่อมาในปี 1627 ในระหว่างที่อยู่ที่ซัลวาเดอร์เขาก็เข้าโจมตีและจับกุมเรือสินค้าสัญชาติโปรตุเกสที่มีมูลค่ามากได้อีกกว่า 30 ลำ ก่อนที่จะเดินทางกลับไปยังประเทศบ้านเกิดอีกครั้ง
           นักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันต่างลงความเห็นว่าไฮน์เป็นโจรสลัดนอกกฎหมาย (Pirate) แต่ว่าอันที่จริงแล้วเขาน่าจะเป็นโจรสลัดของทางการ (Privateer) มากกว่า ยกตัวอย่างที่ในเวลานั้นขณะที่สาธารณรัฐดัชต์ถูกราชวงศ์ฮับส์บวร์กปราบปราม ไฮน์เป็นหนึ่งในแม่ทัพที่ผู้นำชัยในระหว่างที่เกิดสงคราม 80 ปี ในขณะที่โจรสลัดของทางการคนอื่น ๆ นั้นไม่ได้ดีไปกว่าโจรสลัดทั่วไปเลย ไฮน์เป็นคนที่เคร่งครัดต่อการรักษาระเบียบวินัยและเขาก็มีมุมมองที่เข้าใจพวกชนเผ่าชาวอินเดียนแดง ทาสและผู้คนต่างถิ่นเป็นอย่างดี โดยมากแล้วเขาจะไม่บัญชาการเรือเพียงแค่ลำเดียวแต่จะบัญชาการกองเรือรบทั้งหมด  

http://legendtheworld.blogspot.com/2013/12/pirate-pieter-pietersen-heyn.html

            ในปี 1628 นายพลไฮน์ก็ได้ออกเดินเรือไปกับทหารเรือชาวดัชต์ วิทเทอ เดอ วิทธ์ (Witte de With) เพื่อยึดเรือสัญชาติสเปนลำหนึ่งที่บรรทุกแร่เงินมาจากประเทศอาณานิคมอเมริกาโดยมีปลายทางคือประเทศฟิลิปปินส์ นายทหารคนอื่นที่ร่วมเดินทางไปกับเขาด้วยได้แก่ พลเรือเอก เฮนดริก ลองค์ (Hendrick Lonck) แต่ในภายหลังเขาก็ไปเช้าร่วมกับกองเรือรบของ พลเรือโทยุชท์ บังเคิร์ต นอกจากนี้ยังมีโจรสลัดชื่อดังอย่าง โมเสส โคเฮน เฮนริเกส (Moses Cohen Henriques) มาเข้าร่วมเป็นหนึ่งในกองเรือรบของไฮน์ด้วย แม้ว่าเรือขนสมบัติสเปนส่วนหนึ่งที่ออกมาจากเวเนซูเอล่าจะไหวตัวทันและเปลี่ยนเส้นทางหลบหนีไปได้อันเนื่องมาจากเด็กรับใช้ในเรือของชาวดัชต์ถูกจับได้เสียก่อน แต่ก็ยังมีเรือขนสมบัติอีกกว่าครึ่งที่ยังไม่ทราบเรื่องนี้ ซึ่งกองเรือส่วนนี้มีเส้นทางออกมาจากเม็กซิโกและยังคงเดินหน้าต่อไปโดยหารู้ไม่ว่ามีภัยอันตรายรออยู่ ในเส้นทางขนส่งสินค้ามีเรือสัญชาติสเปนจำนวน 16 ลำ เรือสเปนลำหนึ่งถูกจับกุมได้ในเวลากลางคืน ส่วนเรือสินค้าลำเล็ก ๆ อีก 9 ลำถูกบังคับให้ยอมจำนน อีก 4 ลำที่แม้จะหลุดจากการจับกุมไปได้ในตอนแรกแต่ก็ถูกจับได้ที่นอกชายฝั่งประเทศคิวบา และมีเพียง 2 ลำเท่านั้นที่หนีรอดจากการถูกจับกุม

             หลังจากที่แผนการของไฮน์สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี เงินรางวัลที่เขาได้รับมีมูลค่าสูงถึง 11,509,524 กิลเดอร์ดัชต์ (ค่าเงินของฮอลแลนด์ใช้มาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 17 จนถึงปี 2002 หลังจากนั้นเปลี่ยนไปใช้เงินยูโรแทน) ในเรือประกอบด้วย เงิน ทองและของมีค่าราคาแพงมากมายเช่น ครามและแมลงคอชีนิล (เอาไว้ใช้ทำสี) พวกทหารชาวดัชต์ไม่ได้จับชาวสเปนเป็นตัวประกัน พวกเขาได้ให้เสบียงกับลูกเรือชาวสเปนไว้ส่วนหนึ่งเพื่อให้ลูกเรือชาวสเปนพอใช้ในระหว่างเดินทางไปยังเมืองฮาวาน่า (Havana) พวกลูกเรือที่ได้รับการปล่อยตัวรู้สึกประหลาดใจที่ได้ยินท่านนายพลพูดเป็นภาษาสเปนเพื่อบอกทางให้กับพวกเขา อย่างที่ทราบกันดีว่าไฮน์คุ้นเคยกับผู้คนพวกนี้เป็นอย่างดีเพราะเขาเคยถูกคุมขังโดยชาวสเปนในปี 1603 การเข้ายึดเรือขนสมบัติได้ถือเป็นชัยชนะอย่างใหญ่หลวงของกลุ่มนักเดินเรือชาวดัชต์ในขณะที่อยู่ที่แคริเบียนเลยทีเดียว
            ผลจากการเข้ายึดเรือขนสมบัติสเปน เงินรางวัลที่ได้สามารถใช้เป็นเงินสนับสนุนกองกำลังทหารของดัชต์ได้ถึง 8 เดือนเลยทีเดียว (และมีผลทำให้สามารถเข้ายึดเมืองเซร์โทเคนบอสได้ (’s-Hertogenbosch)) เหล่าผู้ถือหุ้นต่างก็พอใจที่ได้รับเงินปันผลกันคนละ 50 เปอร์เซ็นต์ในปีนั้น 
           ในปี 1629 ไฮน์เดินทางกลับถึงเนเธอแลนด์เขาได้รับการยกย่องเยี่ยงวีรบุรุษ เขานั่งมองประชาชนไชโยโห่ร้องให้เขาจากระเบียงศาลากลางของเมืองเลเดน เขากล่าวกับเจ้าเมืองของเมืองว่า
 “บัดนี้ ผู้คนชื่นชมข้าเพราะข้าได้รับความร่ำรวยกลับมาโดยไม่ได้รับอันตรายแม้แต่น้อย แต่ก่อนหน้านี้ที่ข้าต้องเสี่ยงชีวิตในสมรภูมินั้นหาได้มีสักคนรู้ว่าข้ามีตัวตนอยู่ไม่” 

        ไฮน์คือคนแรกและคนสุดท้ายที่สามารถเข้ายึดเรือขนสมบัติสัญชาติสเปนมูลค่ามหาศาลจากอเมริกาได้

            หลังจากที่ต้องพัวพันกับการถกเถียงกันเรื่องข้อตกลงและการจ่ายเงินรางวัลกับกลุ่ม The WIC (หรือบริษัทอินเดียตะวันตกของดัชต์) เขาก็ได้รับตำแหน่งเป็นพลเรือโทของประเทศฮอลแลนด์และเมืองฟรีเชียตะวันตกในวันที่ 26 มีนาคม 1629 และได้เป็นผู้บัญชาการสูงสุดขอสมาพันธ์กองทัพเรือดัชต์ โดยมีนาวาเอก มาร์เต็น ทรอมป์อยู่ภายใต้บัญชาการ เขาเสียชีวิตลงในปีเดียวกันนี้ ในระหว่างการต่อต้านพวกดุงเคียกเคอร์ (Dunkirkers) ซึ่งเป็นกองเรือพาณิชย์ของราชวงศ์ฮับส์บวร์กที่ปฏิบัติการอยู่ที่เมืองดุงเคียก (Dunkirk) ขณะเกิดเหตุนั้นกองเรือรบของเขาสามารถสกัดเส้นทางเดินเรือของพวกดุงเคียกเอาไว้ได้ เขาจึงพาเรือไปเทียบไว้ระหว่างกลางของเรือข้าศึกทั้งสองลำ 
         หลังจากนั้นเพียงครึ่งชั่วโมงเรือของเขาก็ ถูกกระสุนปืนใหญ่ยิงเข้าที่กาบเรือด้านซ้าย เขาเสียชีวิตทันที ศพของเขาถูกฝังที่โบสถ์เก่าแก่ของเมืองเดลฟท์ (Delft)
...........................

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น