Legend Athena ตำนานเทพอาเธน่าเทพีมิเนอร์วาผู้ครองปัญญา

Author: Pirate Onepiece / ป้ายกำกับ:

Myth Athena Goddess Warfare

ฉายา เทพีแห่งปัญญา เทพีแห่งสงคราม เทพีแห่งงานหัตถกรรม
ตำแหน่ง  1ใน12 สภาเทพแห่งโอลิมปัส เทพีแห่งปัญญา
-1ใน.3เทพพรมจารีแห่งเขาโอลิมปัส
ปรากฏตำนานกรีซโบราณ(GREEK Mythology)
พระบิดา มหาเทพซุส(Zeus)
พระมารดาเมทิสจ้าวแห่งปัญญา(Metis)
พี่น้องวงวาลเทพมากมายเช่นเพอร์ซีอุส,เฮอร์คิวริส(Ares ,Artemis.,Aphrodite ,Hermes.,Heracles,Hephaestus ,Perseus)
เกิดเมื่อ ครั้งเทพซุสปวดศรีษะ
สัญลักษณ์ประจำตัวต้นโอลีฟ.ชุดเกราะและนกคู่ใจนกฮูก(Owls ,Snakes ,Aegis ,Armor ,Helmets ,Spears ,Gorgoneion)

          เทพีอาเธน่า (Athena) เทพีแห่งปัญญา เนื่องจากเกิดมาจากส่วนหัวของ ซูส ประมุขแห่งเหล่าทวยเทพ ในขณะที่กำลังประชุมเหล่าเทพที่เทือกเขาโอลิมปัส เมื่อจู่ ๆ ซูสเกิดปวดศีรษะอย่างรุนแรง จึงได้ให้เฮเฟสตัส เทพแห่งการตีเหล็กใช้ขวานผ่าศีรษะออก ปรากฏเป็นอธีนาที่สวมชุดเกราะพร้อมหอกกระโดดออกมา ชาวกรีกและโรมันยังรู้จักกันในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อที่แพร่หลายที่สุดคือ พัลลัส (Pallas) ว่ากันว่ามูลเหตุของชื่อนี้สืบเนื่องมาจากพฤติกรรมตอนปราบยักษ์ชื่อ พัลลัส ซึ่งไม่ปรากฏตำนานชัดแจ้ง อาศัยเหตุที่ได้ถลก หนังยักษ์มาคลุมองค์ คนทั้งหลายเลยพลอยเรียกในชื่อของยักษ์นั้นด้วย และเรียกรูปประติมา หรือ อนุสาวรีย์ อันเป็นเครื่องหมายถึงเทพีอาเธน่า ว่า พัลเลเดียม หมายถึง  ปัจจัยที่อำนวยความคุ้มครอง หรือ ความปลอดภัยให้เกิดแก่ชุมชน
http://legendtheworld.blogspot.com/2013/09/iris-goddess-of-rainbow.html 
 



                    การอุบัติของเทวีองค์นี้ถือว่าเป็นไปเพื่อยังสันติสุข ให้บังเกิดในโลกและขจัดความโฉดเขลาที่ครองโลก จนตราบเท่าบัดนั้นให้สิ้นไป ด้วยว่าพออาเธน่าผุดจากเศียรซุส เทวีแห่งความโฉดเขลาซึ่งไม่ปรากฏรูปก็ล่าหนีไป ด้วยเหตุนี้เทวีอาเธน่าจึงเป็นที่นับถือบูชาในฐานะเทวีครองปัญญา นอกจากนั้นอาเธน่ายังมีฝีมือในการเย็บปักถักร้อย และ เชื่อว่าพระนางเป็นเทพีแห่งสงครามด้วย เนื่องจากเทวรูปของพระนาง มักปรากฏเป็นรูปผู้หญิงสวมชุดเกราะ ถือโล่ห์ และหอกที่มือซ้าย พร้อมถือ เทพีไนกี้ เทพีแห่งชัยชนะที่มือขวา


                  ภายหลังการอุบัติของอาเธน่าไม่นาน มีหัวหน้าชนชาวฟีนิเชียคนหนึ่งชื่อว่า ซีครอบส์ (Cecrop) พาบริวารอพยพเข้าไปในประเทศกรีซ  ก่อสร้างบ้านเรือนขึ้นเป็นนครอันสวยงาม เทพแต่ละองค์ต่างก็แสดงความปรารถนา ใคร่จะได้เอกสิทธิ์ตั้งชื่อนคร จึงประชุมกันถกถึงเรื่องนี้ เทพส่วนใหญ่ในที่ประชุมก็พากันยอมสละสิทธิ์ คงเหลือแต่ เทพโปเซดอน และเทวีอาเธน่า 2 องค์เท่านั้นยังแก่งแย่งกันอยู่   โพไซดอน เทพแห่งมหาสมุทร ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของอธีนา ใช้ตรีศูลอาวุธของตนสร้างม้าขึ้นมา(บ้างก็ว่าสร้างน้ำพุขึ้น) ชาวเมืองต่างพากันชื่นชมม้าเป็นอันมาก แต่เทพีอธีนาเทพแห่งปัญญาได้เนรมิตต้นมะกอกขึ้นมา ซึ่งสามารถใช้ผลเป็นประโยชน์ได้ นอกจากนี้ มะกอก ยังเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ในขณะที่ม้าเป็นสัญลักษณ์ของสงคราม ชาวเมืองจึงตกลงใช้ชื่อเมืองว่า เอเธนส์ ตามชื่อของพระนาง และมะกอกก็กลายเป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญอันดับหนึ่งของกรีซมาจนปัจจุบัน


           อาเธน่าเป็นเทพธิดาที่มีจิตใจเอื้ออารีชอบช่วยเหลือผู้อื่นมาก ในมหากาพย์อีเลียด ที่ว่าด้วยสงคราม แห่งชาวกรีก และ ชาวเมืองทรอย อาเธน่า ก็มีบทบาทในการช่วยวีรบุรุษกรีกหลายครั้ง เช่น หลอกเฮกเตอร์ว่าจะคอยช่วย และให้มาสู้กับอคิลลิส ทำให้เฮกเตอร์ถูกอคิลลิสสังหารอย่างโหดเหี้ยมในสนามรบ เป็นต้น และในมหากาพย์โอดิสซีที่กล่าวถึงการเดินทางกลับบ้านที่อิธาก้าของ โอดิสซีอุส หรือ ยูลิซีส วีรบุรุษกรีก ผู้คิดสร้างม้าไม้ ซึ่งเป็นผู้ทำให้สงครามเมืองทรอยสิ้นสุดลง ต้องใช้เวลาในการเดินทางกลับบ้านเป็นเวลาถึงยี่สิบปี เพราะเขาไปทำให้โปเซดอนพิโรธ อาเธน่าก็เป็นเทพีอุปถัมภ์ของโอดิสซีอุส ช่วยให้เขาพ้นภัยหลายครั้งจนกลับถึงบ้านได้ อาเธน่ายังมีบทบาทมากมาย โลดแล่นในตำนานการผจญภัยของวีรบุรุษอีกหลายคน เช่น ช่วยให้การแนะนำในการต่อเรืออาร์โกที่ใช้ในการตามหาขนแกะทองคำ โดยถ่ายทอดคำพูด ผ่านกิ่งของต้นโอ๊คศักดิ์สิทธิ์ ที่นำมาทำเป็นหัวเรือ บอกวิธีสังหารเมดูซ่าแก่เปอร์ซีอุส ช่วยเอเปอีอุสสร้างม้าไม้ มอบบังเหียนวิเศษเพื่อใช้ควบคุมเพกาซัสแด่เบลเลโรฟอน ฯลฯ 


         เกี่ยวกับตำนานความรักของ อาเธน่า  เทพฮีฟีสทัส หมายปองเทพีอาเธน่า ใคร่จะได้วิวาห์ด้วย ได้ทูลขอต่อเทพบิดา เทพบิดาประทานโปรดอนุญาต แต่ให้ฮีฟีทัสทาบทามความสมัครใจของเทพีอาเธน่าเอาเอง ซึ่งผลลัพธ์ก็คือ เทพีอาเธน่าไม่ตกลงด้วย ทำให้ฮีฟีสทัส เข้าไปหา เทพีอาเธน่า หมายจะรวบรัด ในระหว่างที่ฉุกละหุกอุตลุดนั้นของไม่บริสุทธิ์ของฮีฟีทัส ตกลงมายังพื้นโลก เป็นเหตุให้เกิดทารก ผุดขึ้นมาเป็นเพศชาย เทพีอาเธน่ารอดพ้นมลทินแปดเปื้อน แต่รับทารกไว้ในปกครอง เอาทารกบรรจุหีบให้งูเฝ้า และฝากไว้ให้ลูกสาวท้าวซีครอปส์ดูแล โดยห้ามเด็ดขาด มิให้เปิดหีบดู แต่ลูกสาวท้าวซีครอปส์ไม่เชื่อฟัง พยายามจะเปิดหีบ ครั้นเห็นงูเข้าก็ตกใจวิ่งหนีตกเขาตาย ทารกนั้นได้ขนานนามว่า อิริคโธเนียส (Erichthonius) และ ดำรงชีวิตอยู่สืบมา จนภายหลังได้ครองกรุงเอเธนส์ ส่วนเทพีอาเธน่าก็ไม่ได้รับการเกี้ยวพาราสี ของเทพองค์หนึ่งองค์ใดอีกต่อไปตั้งแต่บัดนั้น 
..........................

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น