William Wallace Braveheart
ฉายาวีรบุรุษหัวใจมหาการ (Braveheart)
ตำแหน่งวอลเลซ..อัศวินผู้พิทักษ์แห่งสก็อตแลนต์(Commander in the Scottish.Wars..of Independence)
ปรากฏนวนิยายวอลเลซ อัศวินแห่งเอลเดอส์ลี(Wallace..Knight.of Elderslie)
-เบรฟฮาร์ท วีรบุรุษหัวใจมหากาฬ(Movie Dvd Braveheart)
สัญชาติ สก็อตแลนต์(Scotland)
บิดาเซอร์มัลคอม วอลเลซแห่งเอลเดอร์สลี(Malcolm Wallace)
- อลัน วอลเลซขุนนางศักดินาแห่งอาร์ยไชร์(Alan Wallace)
ลูกหลาน พลเรือจัตวา โอลิเวอร์ ฮาซาร์ด เพอร์รี
- นายพลเรือจัตวา แมททิว กัลเบรต เพอร์รี
เกิดเมื่อ ประมาณ ค.ศ.1270
-เรนฟริวไชร์..สก็อตแลนด์ตะวันตก(Renfrewshire - Scotland)
เสียชีวิต อายุ 35 ปี - 23 สิงหาคม ค.ศ.1305
- ถูกแขวนคอ ใจกลางเมืองสมิทฟิลด์(London - England)
เซอร์ วิลเลียม วอลเลซ (William Wallace) อัศวินและผู้รักชาติชาวสก็อต ผู้นำการต่อต้านการครอบครองสกอตแลนด์โดยอังกฤษระหว่างสงครามอิสรภาพของสกอตแลนด์สถานที่เกิดและวันเกิดของเซอร์ วิลเลียม วอลเลซยังเป็นที่ถกเถียง ไม่ชัดเจน เข้าใจกันว่าเกิดที่เอลเดอร์สลี ซึงเป็นหมู่บ้านเหมืองเล็กๆ ใกล้ๆ เมืองจอห์นสโตน เรนฟริวไชร์ สก็อตแลนด์ตะวันตก แม้แต่บิดาของวอลเลซเองก็ยังเป็นที่ถกเถียงเช่นกัน บ้างว่าเป็นบุตรชาย 1 ใน 3 คนของเซอร์มัลคอม วอลเลซแห่งเอลเดอร์สลี แต่จากตราประจำตัวที่ค้นพบภายหลังบ่งว่าเป็นบุตรคนเล็กของ อลัน วอลเลซขุนนางศักดินาแห่งอาร์ยไชร์ วอลเลซเรียนภาษาละตินกับลุงสองคน
เมื่อใกล้เข้าสู่ภาวะสงครามเพื่อการแย่งชิงบรรลังก์จากบรรดาเจ้านายฝ่ายต่างๆ ผู้ที่คิดว่ามีสิทธิ์ เจ้านายที่มีเชื้อสายอยู่แถวหน้าๆ จึงไปทูลเชิญกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 1 ให้มาเป็นผู้ไกล่เกลี่ย แต่ก่อนที่จะทำหน้าที่นี้ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดกลับขอให้ทุกฝ่ายที่มีสิทธิ์ได้ยอมรับก่อนว่าพระองค์เป็นเจ้าที่อยู่เหนือสกอตแลนด์ ซึ่งแม้ตอนแรกจะมีการต่อต้านบ้าง แต่ในที่สุดผู้มีสิทธิ์มากสุดสองราย คือ จอห์น บาลลิออล และ โรเบิร์ต บรูซ ได้ตกลงยอมรับตามนั้น
โดยต่อมาศาลสูงศักดินา (great fudal court) ได้ตัดสินเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 1835 ให้จอห์น บาลลิออล เป็นผู้มีสิทธิ์ในราชบรรลังก์ แม้จะดูว่ายุติธรรมและถูกต้องตามกฎหมาย แต่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ที่ 1 ก็ได้ใช้อิทธิพลเข้าแทรกแซงทำให้การบริหารประเทศสก็อตแลนด์เป็นไปด้วยความยากลำบาก เป็นเหตุให้ พระเจ้าจอห์น บาลลิออล ยกเลิกคำมั่น เมื่อเป็นดังนั้น พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดฯ จึงยกทัพเข้าตี เบอร์วิก-อัพออน-ทวีด เมืองชายแดนของสกอตแลนด์และสังหารศัตรูของพระองค์ที่อยู่ที่นั่นจนสิ้น
ในเดือนเมษายนฝ่ายสก็อตแลนด์ก็แพ้สงคราม อังกฤษจึงบีบบังคับให้พระเจ้าจอห์น บาลลิออลสละราชสมบัติ พร้อมทั้งบังคับเจ้านายสก็อต 1,800 คนให้เข้าสวามิภักดิ์และได้กับนำเอา "หินลิขิตชะตา" (Stone of Destiny) ไปไว้ที่ลอนดอน ช่วงนั้นเป็นเวลาที่บิดาของวอลเลซถูกฆ่าตายพร้อมพี่ชายโดยทหารอังกฤษ เป็นเหตุให้วอลเลซบุกไปฆ่าทหารอังกฤษไป 5 คน หลังจากนั้นก็ทำการเป็นปฏิปักษ์เรื่อยมา ต่อมาวอลเลซได้เข้าร่วมรบกับเซอร์วิลเลียม ดักกลาส แห่งฮาร์ดี สามารถปลดปล่อยเมืองแอเบอร์ดีน เพิร์ท กลาสโกว์ สกอน และดันดีเป็นอิสระจากอังกฤษได้ เมื่อถึงระยะนี้ ฝ่ายราชวงศ์สก็อตถูกบีบอย่างหนักจากพระเจ้าเอ็ดเวริร์ด ที่ 1
ในเดือนเมษายน วอลเลซพร้อมผู้ติดตามได้ไปช่วยแอนดรูว์..มอเรย์ที่"สเตอริง"ซึ่งกำลังลุกขึ้นต่อต้านอังกฤษ วอลเลซใช้ยุทธวิธีลอบโจมตีแล้วถอยหนี เป็นเหตุให้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดสั่งประหารชีวิตสมาชิกสภาบารอนแห่งไอร์ทั้งหมด วอลเลซตอบโต้ด้วยการสังหารทหารอังกฤษที่ค่ายไอร์เสียชีวิตทั้งค่ายและถอยเข้าป่าเซลเคิร์ก ชื่อเสียงของวอลเลซโด่งดังขึ้นและได้ย้ายจากที่ลุ่มป่าเซลเคิร์กไปอยู่ไฮแลนด์
ในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 1840 วอลเลซได้ชนะการสู้รบที่สะพานสเตอร์ริงทั้งๆ ที่มีไพร่พลน้อยกว่าฝ่ายอังกฤษที่นำโดยเอิร์ลแห่งเซอรเรย์ซึ่งประกอบด้วยทหารม้า 300 นายและทหารราบ 10,000 คน วอลเลซล่อให้ทหารอังกฤษยกข้ามสะพานสเตอร์ลิงมาเกือบสุดแล้วโจมตีโตกลับกลับอย่างรวดเร็ว แต่ทหารอังกฤษส่วนหลังซึ่งกำลังมุ่งตามอย่างรวดเร็วกลับดันกลับจนไปอัดแน่นกันอยู่บนสะพานเป็นเหตุให้สะพานพังทลายลง ทหารอังกฤษจมน้ำตาย แฮรีฯ อ้างว่าฝ่ายวอลเลซแอบใช้เชือกดึงให้สะพานพัง ชัยชนะของวอลเลซที่สะพานสะเตอร์ลิงครั้งนี้สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ชาวสก็อตเป็นอย่างมาก หลังกลับจากการสู้รบที่สะพานสเตอริง วอลเลซได้รับบรรดาศักดิ์ขุนนางระดับเซอร์และได้รับการขนานนามว่า "ผู้พิทักษ์และแม่ทัพใหญ่แห่งสก็อตแลนด์"
โดยกษัตริย์สก็อตแลนด์ที่ถูกกักขังในลอนดอนและมอบอำนาจการบริหารประเทศแก่วอลเลซ หกเดือนหลังการสู้รบที่สะพานสเตอร์ลิง วอลเลซได้นำทัพสู้รบกับอังกฤษทางด้านเหนือเพื่อแสดงให้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดได้เห็นว่าสก็อตแลนด์ยังมีกำลังแข็งแกร่ง ทำให้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงกริ้ว
ปีต่อมาวอลเลซแพ้การสู้รบที่ฟอลเคิร์ก เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 1841 ฝ่ายอังกฤษยกกำลังย่ำยีสก็อตแลนด์และยึดพื้นที่คืนได้มาก ฝ่ายสก็อตใช้ยุทธวิธีเผาค่ายข้าศึกและเผาบ้านเรือนไร่นาของสก็อตเองหากเป็นฝ่ายล่าถอย ทำให้ฝ่ายอังกฤษขาดขวัญกำลังใจ แต่กษัตริย์เอ็ดเวิร์ดก็ยังไม่ลดละในการตามล่าตัววอลเลซ ยกกำลังติดตามจนวอลเลซต้องหนีและมอบอำนาจ "ผู้พิทักษ์และแม่ทัพใหญ่แห่งสก็อตแลนด์" ให้แก่โรเบิร์ต บรูซ เอิร์ลแห่งคาร์ริก และ จอห์นโคมีนแห่งบาเดนอชซึ่งเป็นเขยของอดีตกษัตริย์จอห์น บาลลิออล ซึ่งได้ตกลงปรองดองกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดต่อมาเมื่อป๊ พ.ศ. 1845 ซึ่งวอลเลซไม่ยอมรับ
วอลเลซได้เดินทางไปราชสำนักฝรั่งเศสกับวิลเลียม ครอว์ฟอร์ดเพื่อขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าฟิลิปส์ เลอ เบลในการต่อสู่เพื่ออิสรภาพของสก็อตแลนด์ ระหว่างเดินทางจากอังกฤษ เรือของวอลเลซถูกโจรสลัดผู้ลือนามคือ ริชาร์ด ลองโกวิลล์ ดักปล้น แต่วอลเลซกลับเป็นฝ่ายจับลองโกวิลล์ไปถวายพระเจ้าฟิลิปส์ แล้วขอพระราชทานอภัยโทษให้ลองโกวอวิลล์เพื่อให้เป็นฝ่ายช่วยข้างสก็อตแลนด์ เรื่อราวตอนนี้เชื่อว่าเป็นการเสริมแต่งของแฮรีฯ ต่อมา ในปี พ.ศ. 1846 วอลเลซได้รับการขอร้องให้กลับสก็อตแลนด์
เมื่อกลับถึงสก็อตแลนด์และซ่อนตัวที่ฟาร์มของวิลเลียม ครอว์ฟอร์ดใกล้เอโควูด ฝ่ายอังกฤษได้ระแคะระคายจึงออกตามจับ แต่วอลเลซเอาตัวรอดได้หลายครั้งและถูกจับตัวได้ในที่สุดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 1848 ที่เมือง โรบรอยสตันใกล้กลาสโกว์และถูกส่งตัวไปลอนดอนถูกฟ้องในข้อหากบฏและฆ่าพลเรือนและนักโทษ วอลเลซกล่าวสู้คดีว่า "ข้าพเจ้ามิได้เป็นกบฏต่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด เพราะข้าพเจ้าไม่ได้เป็นข้าแผ่นดินของพระองค์ พระเจ้าจอห์น บาลลิออล คือกษัตริย์ของข้าพเจ้า" และยืนยันไม่ยอมรับสารภาพ
ในวันที่ 23 สิงหาคม ปีเดียวกัน วอลเลซ ถูกเปลื้องผ้าในศาล ถูกม้าลากออกไปตามถนนในเมืองและถูกแขวนคอในลานเมืองสาธารณะที่ตลาดสมิทฟีลด์ (วิธีแขวนคอกบฏ ของอังกฤษโบราณด้วยวิธีเปลื้องผ้าใช้ม้าลากไปแขวนคอไม่ให้ถึงตายไปถึงกลางตลาดแล้วจึงหั่นอวัยวะออกที่ละชิ้นโดยเริ่มจากองคชาติแล้วเผาต่อหน้า เมื่อนักโทษตายจึงตัดคอและหั่นศพเป็น 4 ท่อนแล้วนำศีรษะไปทำไม่ให้เน่าเปื่อยก่อนนำไปปักประจาน)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น