LEGEND Queen Semiramis ตำนานราชินีนักรบอเมซอนเนส เซมิรามิส

Author: Pirate Onepiece / ป้ายกำกับ:

Myth  Semiramis Queen of Babylon
http://legendtheworld.blogspot.com/2013/12/semiramis-legendary-queen-of-babylon.htmlฉายาราชินีสวรรค์เซมิรามิส(The Queen of Heaven- Queen of Babylon)
ตำแหน่งราชินีนักรบอเมซอนแห่งอัสซีเรีย
- สมเด็จพระราชินีแห่งกษัตริย์ไนนัส(Queen of king Ninus)
ปรากฏหนังสือประวัติศาสตร์เปอร์เซีย เซลซิส-ซนีดัส(History..of.Persia by..Ctesias of.Cnidus)
สัญชาติอัสซีเรีย -ซีเรีย(Assyrians)
มารดา เทพีแห่งท้องทะเล-อะทาร์การ์ติส (Atargatis)
พระสวามีแม่ทัพโอเนส (Onnes) และกษัตริย์ไนนัส (Ninus)
บุตร โอรสนินยาส (Ninyas)
กำเนิด แถบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย
เสียชีวิต ปีบาบิโลนที่ 102 
สัญลักษณ์ตัวแทน นักรบสาวเผ่าอเมซอน

             เซมิรามิส (Semiramis) ราชินีเซมิรามิสเป็นองค์ราชินีในกษัตริย์ไนนัส (Ninus) ของประวัติศาสตร์กรีกโบราณ และภายหลังเธอได้ขึ้นมาปกครองอัสซีเรีย (Assyria) แทนพระสวามี  พระนามของพระองค์ได้ถูกนำไปใช้เป็นชื่อในอนุสรณ์สถานจำนวนมากในแถบเอเชีย ตะวันตกและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนจุดเริ่มต้นของการนำมาใช้นั้นไม่ปรากฏ โบราณสถานเกือบทุก ๆ แห่งในแถบลุ่มแม่น้ำยูเฟรติสและในประเทศอิหร่านล้วนมีชื่อของพระนางปรากฏ อยู่มากมาย แม้กระทั่งในรูปแกะสลักบิสตันแห่งกษัตริย์ดาริอุสแห่งเปอร์เซียด้วยเช่นกัน นักประวัติศาสตร์นามว่าเฮโรโดตัสสันนิษฐานว่าพระนางน่าจะเกิดที่บาบิโลนแต่ อย่างไรก็ตามมีนักประวัติศาสตร์นามว่าดิโอโดรัสระบุว่าสวนลอยฟ้าแห่งบาบิโลน นั้นถูกสร้างหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระนางนานแล้ว พระนางจึงไม่น่าจะเกิดที่บาบิโลนแต่อย่างใด
http://legendtheworld.blogspot.com/2013/12/semiramis-legendary-queen-of-babylon_24.html 




            ประวัติของพระนาง อ้างอิงตามหลักฐานของดิโอโดรัส   พระนางเซมิรามิสเกิดในตระกูลของขุนนางชั้นสูง พระนางเป็นบุตรีที่เกิดจากเทพีอะทาร์การ์ติส (Atargatis) หรือเรียกอีกนามหนึ่งว่า เดอร์เคโต้ (Derceto) แห่งเมืองอัสเคลอนประเทศซีเรียกับมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง เทพีเดอร์เคโต้ทิ้งพระนางเอาไว้ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ โดยมีเหล่าฝูงนกพิราบคอยป้อนอาหารให้ จนกระทั่งมีคนเลี้ยงแกะพบพระนางเข้าและเลี้ยงดูพระนางจนกระทั่งเติบโต

http://legendtheworld.blogspot.com/search/label/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94          พระนางแต่งงานกับโอเนส (Onnes) 1 ในขุนพลผู้ยิ่งใหญ่ของกษัตริย์ไนนัส กษัตริย์ไนนัสหลงใหลในความกล้าหาญของพระนาง พระองค์จึงบังคับให้โอเนสฆ่าตัวตาย และแต่งงานกับพระนางแทน หลังจากอภิเษกกับกษัตริย์ไนนัสพระนางก็ให้กำเนิดบุตรชายพระนามว่านินยาส (Ninyas) หลังจากที่กษัตริย์ไนนัสเข้ารุกรานเอเชียพระองค์ทรงถูกศรได้รับบาดเจ็บสาหัส พระนางเซมีรามิสจึงสวมรอยแทนพระสวามีในการเข้าควบคุมกองทัพแทน จนกระทั่งกษัตริย์ไนนัสสิ้นพระชนม์ พระนางจึงขึ้นปกครองประเทศอยู่นานถึง 42 ปีและเข้าพิชิตเอเชียได้หลายแห่ง 
          พระนางได้สร้างเมืองบาบิโลนขึ้นใหม่และสร้างกำแพงอิฐล้อมรอบเมือง รวมทั้งสร้างปราสาทเอาไว้หลายแห่งในเปอร์เซีย ดิโอโดรัสได้ให้เหตุผลเรื่องที่พระนางปรากฏบนรูปสลักของบิสตันเอาไว้ว่ารูป สลักนี้ถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์ดาริอุสที่ 1 แห่งเปอร์เซีย พระนางไม่เพียงแค่พิชิตเอเชียเท่านั้นแต่ยังพิชิตลิเบียและเอธิโอเปียและ ผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งในราชอาณาจักรของพระนางอีกด้วย พระนางเคยเข้ารบกับกษัตริย์พระองค์หนึ่งแห่งอินเดียแต่ได้รับบาดเจ็บจนต้อง ถอนทัพออกมา 
          ประวัติของพระนางอ้างอิงจากแหล่งอื่น  พระนางได้รับเกียรติในฐานะที่คิดค้นเข็มขัดพรหมจรรย์ (Chasity belt) นักประวัติศาสตร์ชาวโรมันนามว่า อัมมีอานัส มาร์เชลไลนัส (Ammianus Marcellinus) กล่าวว่าพระนางเป็นคนแรกที่คิดการตัดอัณฑะในชายหนุ่มขึ้น อ้างอิงจากหนังสือ The Two Babylons ที่แต่งโดย ฮิสโลป (Hislop) 
         ในปี 1853 กล่าวว่า บุตรชายของพระนาง เป็นผู้สังหารพระนาง และอาจเป็นต้นกำเนิดที่มาของตำนาน อิชตาร์และกิลกาเมช  (Ishtar and Gilgamesh.) และยังมีหลักฐานอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงไปถึงตัวพระนางอีกคือมีการค้นพบโบสถ์โบราณที่เมืองมันบิจ (Manbij) ซึ่งมีหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับพระนางปรากฏอยู่คือรูปปั้นของพระนางที่มีนก พิราบสีทองเกาะอยู่ที่พระเศียรของรูปปั้น 
          ประวัติของพระนางจากตำนานของชาวอาร์เมเนีย ในตำนานของชาวอาร์เมเนียพระนางเสมือนตัวแทนของการหย่าร้างและหญิงแพศยา ซึ่งเรื่องเล่านี้นั้นส่วนหนึ่งมาจากตำนานของพระนางเมื่อครั้งที่พระนางเกิด และเมื่อครั้งที่พระนางหายตัวไปจากโลก พระนางเซมิรามิสเป็นเทพธิดาที่เกิดจากเทพีแห่งท้องทะเลนามว่าอะทาร์กาติส (Atargatis) และตำนานของพระนางเองก็ยังมีส่วนเชื่อมโยงกับนกพิราบของ อิชตาร์และกิลกาเมชอีกด้วย

http://legendtheworld.blogspot.com/search/label/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94            ตำนานที่เป็นที่กล่าวขานกันมากอีกเรื่องหนึ่งในอาร์เมเนียที่เกี่ยวข้องกับ พระนางคือ พระนางเคยมีส่วนเกี่ยวพันกับตำนานกษัตริย์พระองค์หนึ่งของชาวอาร์เมเนีย ตำนานนั้นมีชื่อว่า Ara the Beautiful เป็นตำนานที่เกี่ยวกับวีรบุรุษของชาวอาร์เมเนีย ตำนานนี้มีการนำมาเล่าขานกันในศตวรรษที่ 20 นักกวีนามว่า ไนรี ซาเรียน (Nairi Zarian) นำเอาเรื่องเล่านี้กลับมาเล่าใหม่อีกครั้ง  มีเรื่องเล่าว่า พระนางเซมิรามิสได้ยินกิตติศัพท์ถึงความหล่อเหลาของพระราชาแห่งอาร์เม เนียพระองค์มีพระนามว่า อะรา (Ara)  พระนางเซมิรามิสปรารถนาในตัวพระราชาพระองค์นั้นจึงได้ขอให้พระราชาอะรา อภิเษกกับพระนางแต่กลับถูกปฏิเสธ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้พระนางเซมิรามิสจัดทัพจากอัสซีเรียและยกมาตีอาร์เมเนีย ในระหว่างการสู้รบซึ่งเกิดขึ้นที่เมืองอารัต พระราชาอะราถูกปลงพระชนม์ และเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการต่อสู้ที่ยืดเยื้อกับชาวอาร์เมเนียต่อไปอีก พระนางเซมิรามิสจึงได้นำร่างของพระราชาอะราไปด้วยและเฝ้าขอพรต่อพระเจ้า เพื่อให้พระองค์ฟื้นจากความตาย และเมื่อชาวอาร์เมเนียยาตราทัพมาหาพระนางเพื่อจะแก้แค้นให้พระราชาอะรา พระนางจึงสั่งให้พระสวามีคนหนึ่งขอพระนางปลอมตัวเป็นพระราชาอะราและปล่อย ข่าวลือว่าเทพเจ้าได้คืนชีพให้กับพระราชาอะราได้แล้ว ด้วยเหตุนี้สงครามนี้จึงสิ้นสุดลง และจากตำนานที่เล่าขานกันมาจากหลาย ๆ แหล่งก็เห็นพ้องต้องกันว่าพระราชาอะราก็ไม่ได้ฟื้นคืนชีพแต่อย่างใด
             ในบทกวีที่แต่งโดยนักประพันธ์ชาวอิตาลี ดันเต้ อาลีเกียรี่ (Dante Alighieri) เรื่อง The Divine Comedy กล่าวถึงพระนางเซมิรามิสเอาไว้ว่าพระนางเปรียบเสมือนตัวแทนของตัณหา พระนางอภิเษกกับบุตรชายของตนเองภายหลังจากกษัตริย์ไนนัสพระสวามีของพระนาง สิ้นพระชนม์ 
           ประวัติตามคำอ้างอิงของฮิสโลป นักบวชในนิกายโปรเตสแตนท์ อเล็กซานเดอร์ ฮิลโลป (Alexander Hislop) ในหนังสือ The Two Babylons (ตีพิมพ์ในปี 1853) อ้างว่าพระนางเซมิรามิสมีตัวตนจริง ๆ อยู่แถบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมียเป็นผู้ริเริ่มให้มีการนับถือเทพพระเจ้าหลาย พระองค์และการบูชาพระเจ้า
            ฮิสโลปเชื่อว่าพระนางเซมิรามิสเป็นมเหสีของกษัตริย์นิมรอดผู้สร้างพระ คัมภีร์ไบเบิ้ลหอคอยแห่งบาเบล จากหนังสือของฮิสโลปพระนางเซมิรามิสเป็นผู้ริเริ่มการนับถือพระเจ้าหลาย พระองค์ พระนางเปรียบตัวเองเป็นอิชตาร์ (Ishtar) และเปรียบบุตรชายของพระนางเป็นกิลกาเมช (Gilgamesh)  และเพื่อยืนยันถึงความถูกต้องฮิสโลปได้กล่าวถึงตำนานของพระนางที่ถูกชุบ เลี้ยงโดยฝูงนกพิราบ เขาอ้างอิงจากหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Ante-Nicene Fathers เพื่ออ้างอิงว่าเรื่องเล่าเหล่านั้นเป็นเพียงแค่โฆษณาชวนเชื่อที่พระนาง สร้างขึ้น
            นอกจากนี้เขายังกล่าวอีกด้วยว่าโคลงในแต่ละบทของหนังสือสามารถนำมาจับคู่กันได้เช่น ไอซิส/โอไซริส และ อะโฟรไดตี้และคิวปิด เป็นต้น และเรื่องราวของพระนางเซมิรามิสกับทามูซบุตรชายของพระนางก็ถูกเปรียบเทียบ กับเรื่องของ พระแม่มารีกับพระเยซูในความเชื่อแบบคาธอลิค แต่ว่าชาวคริสเตียนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับข้อสันนิษฐานนี้ 
          อย่างไรก็ตามคำกล่าวอ้างของฮิสโลปนั้นดูจะไม่น่าเชื่อถือเพราะมีนักบวชในนิ กายคาธอลิคนามว่า ราฟ วูโดว กล่าวว่าการค้นคว้าของฮิสโลปเป็นการจับแพะชนแกะไปเรื่อยเปื่อยโดยขาดหลัก ความจริง
.......................

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น