LEGEND Rani Rudrama มหารานีนักรบ รุทรมะเทวี

Author: Pirate Onepiece / ป้ายกำกับ:

Myth Rani Rudrama Devi

http://legendtheworld.blogspot.com/2013/12/rani-rudrama-devi-queen-of-war.html
ฉายา กษัตริย์ราชินีนักรบ พระเจ้ารุทร (Rudradeva) 
ตำแหน่งราชินีนักรบแห่งราชวงค์กากติยะ (Kakatiya
ราชวงค์กากติยะแห่งที่ราบสูงเด็คคัน(Kakatiya-Decan Plateau)
ครองราชย์นาน 27.ปีคริสต์ศักราช 1262 - 1289
สัญชาติ อินเดีย(INDIA)
พระบิดาพระเจ้าคณปติ (Ganapathideva)
มารดา ---
พระสวามีเจ้าชายวีรภัทร (Veerabhadra) เจ้าชายแห่งราชวงศ์จาลุกยะตะวันออก
ทายาทหลานชายพาตาปุระ- Prataparudra(1289–1323)
กำเนิด นครวรังคัล (Warangal)
เสียชีวิต จากการสู้รบ ปีคริสตศักราช 1289
- เมืองชาดาปาตะ รัฐอานธรประเทศ(Chandupatla in Andhra Pradesh)

         พระนางรุทรมะเทวี - ราชินีรุทรมะเทวี (Rani Rudrama Devi) ทรงเป็นองค์จักรพรรดินีที่มีความสำคัญมากที่สุดพระองค์หนึ่งแห่งราชวงศ์กากติยะ(Kakatiya)แห่งที่ราบสูงเด็คคัน(Decan Plateau) พระนางเป็นพระราชินีเพียงไม่กี่พระองค์ในประวัติศาสตร์อินเดียที่ทรงขึ้นปกครองประเทศ  เรื่องเล่าในตำนานกล่าวว่าพระนางถูกชุบเลี้ยงเฉกเช่นเด็กชาย จึงทรงไม่มีความถนัดทางด้านดนตรีและศิลปะเท่าใดนัก พระนางให้ความสนใจในท่าร่ายรำแบบศิวนาฏราช พระนางพบว่าการร่ายรำแบบนี้จะช่วยเป็นการฝึกให้ทหารได้ออกกำลังกายและโปรด ให้บรรจุการร่ายรำแบบนี้เป็นส่วนหนึ่งในการฝึกทหารด้วย 
http://legendtheworld.blogspot.com/2013/12/rani-rudrama-devi-queen-of-war.html






            พระนางรุทรมะเทวีแต่เดิมพระนางทรงมีพระนามว่ารุทรัมพา(Rudramba)เป็นพระธิดาในพระเจ้าคณปติ(Ganapathideva) ผู้ซึ่งปกครองนครวรังคัล (Warangal) เมืองหลวงของของกากติยะก่อนจะขยายอิทธิพลไปยังรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) จังหวัดอานธระในช่วงศตวรรษที่ 13 พระนางได้ผ่านพิธีกรรมอย่างหนึ่งเพื่อให้สามารถปกครองสืบทอดตำแหน่งจากพระบิดาได้เยี่ยงบุรุษและมีชื่อแบบบุรุษว่าพระเจ้ารุทร (Rudradeva) เมื่อพระนางมีพระชนมายุ  14 พรรษาพระนางทรงขึ้นครองราชย์แทนพระบิดา
           ในขณะนั้นมีแม่ทัพบางคนที่ไม่พอใจการขึ้นมาปกครองประเทศของพระนางในฐานะสตรี พระนางก็ได้ปราบจลาจลที่ลุกฮือขึ้นมาต่อต้านทั้งหมดทั้งในกากติยะและการรุกล้ำจากดินแดนใกล้เคียง พระนางทรงเป็นทั้งนักสู้และเป็นนักปกครองที่มีความยืดหยุ่น พระนางสามารถปกป้องอาณาจักรจากการรุกรานของราชวงศ์โจฬะ (Chola) และยัทวะ (Yadava) ได้สำเร็จ ทรงเป็นหนึ่งในผู้ปกครองหญิงเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ปกครองทางใต้ของอินเดียในเวลานั้น ทรงครองราชย์ตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช 1262 ถึง 1289

http://legendtheworld.blogspot.com/search/label/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94

            ราชวงศ์กากติยะแห่งนครวรังคัล เป็นหนึ่งในหลาย ๆ ราชวงศ์ใหญ่ที่ปกครองอยู่ในอานธระและมีอิทธิพลต่อหน้าประวัติศาสตร์และผู้คนในสมัยนั้น หลักฐานเกี่ยวกับราชวงศ์กากติยะถูกพบอยู่ระหว่างแม่น้ำโกทวารีและแม่น้ำกฤษณะ เรื่องราวเริ่มต้นของผู้สร้างอาณาจักรนี้ต้องย้อนกลับไปในช่วงศตวรรษที่ 8 ถึง 9 ที่นครวรังคัลเป็นเมืองหลวงสำคัญของราชวงศ์กากติยะซึ่งปกครองอยู่แถบนี้ตั้งแต่สมัยคริสต์ศักราชที่ 1150 ถึง 1323 แล้ว
           การขึ้นครองราชย์ หลังจากพระเจ้าคณปติทรงได้รับคำแนะนำจากอัครมหาเสนาบดีของพระองค์เรื่องการแต่งตั้งพระนางรุทรมะเทวีให้ขึ้นปกครองแทนพระองค์แล้ว พระองค์ก็ทรงยกราชสมบัติให้กับพระนางในวันสุดท้ายของพระองค์ ณ ขณะนั้นพระนางทรงมีพระชนมายุเพียง 14 พรรษาเท่านั้น ในช่วงสองถึงสามปีแรกที่ทรงขึ้นครองราชย์ ราชอาณาจักรก็ต้องประสบกับสภาวะยุ่งเหยิงขึ้นอันเนื่องมาจากการรุกรานและการขยายอำนาจของราชวงศ์ปัณฑยะทำให้กากติยะแตกพ่าย แม้ว่าในท้ายสุดแล้วพระเจ้าคณปติจะสามารถตีเมืองคืนมาได้แต่ก็ได้กลับมาเพียงบางส่วนเท่านั้นและการสูญเสียครั้งนี้ก็ทำให้การปกครองในประเทศสั่นคลอน จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้พระองค์ก็ทรงละจากการเมืองและให้พระนางรุทรมะสานต่อ

http://legendtheworld.blogspot.com/search/label/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94              ในปี 1266-1267 พระนางก็ทรงต้องสูญเสียทั้งพระบิดาและพระสวามีไปทั้งสองพระองค์ ด้วยความโศกเศร้านี้ทำให้พระนางไม่อาจต้านทานได้ พระนางจึงตัดสินใจจะปลงพระชนม์ชีพตัวเอง เหล่าขุนนางของพระนางได้เกลี้ยกล่อมพระนางจนทรงยอมเปลี่ยนพระทัย จนในปี 1269 พระนางก็ทรงได้รับการสวมมงกุฎและแต่งตั้งให้เป็นพระราชินีผู้ปกครองแห่งราชวงศ์กากติยะ
            การเสวยราชสมบัติการขึ้นครองราชย์ของพระนางสร้างความขุ่นเคืองใจให้กับวงศาคณาญาติของพระนางอย่างมากด้วยเพราะพระนางเป็นสตรี เหล่าพระประยูรญาติของพระนางถึงกับลุกขึ้นประท้วง กระทั่งพระสวามีของพระนางเองก็อิจฉาในตัวพระนางเช่นกัน พระนางรุทรมะเทวีทรงฉลองพระองค์ด้วยเสื้อผ้าแบบบุรุษและประทับนั่งบนราชบัลลังก์ทรงปกครองประเทศด้วยความเข้มแข็งบีบให้ทัพศัตรูต้องจนตรอก ทำให้ทัพจากราชวงศ์ปัณฑยะและราชวงศ์โจฬะจากทางใต้ของอินเดียต้องถูกต้อนให้จนมุม นอกจากนี้พระนางรุทรมะยังต้องทรงต่อสู้กับพระเจ้าหริหระและพระประยูรญาติที่ลุกขึ้นต่อต้านการครองราชย์โดยสตรี พระนางทรงมีขุนนางผู้ทรงความรู้ข้างกายคอยถวายการช่วยเหลือในการปราบผู้ต่อต้าน
             ศึกนอกที่พระนางทรงเผชิญคือ การยาตราทัพเข้ามาทวงคืนนครของพระเจ้านรสิงห์ ที่ 1 แห่งราชวงศ์กลิงคะ (Kalinga) ที่เคยสูญเสียดินแดนให้กับพระเจ้าคณปติที่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโกทวารี พระนางรุทรมะเทวีได้ส่งสองขุนพลเข้าต่อสู้กับกองกำลังของพระเจ้าวีรภานุ (Vira Bhanudeva) ที่ 1 พระโอรสในพระเจ้านรสิงห์ที่ 1 แห่งกลิงคะ ผลจากการศึกทำให้ผู้รุกรานพ่ายแพ้ราบคาบ ส่งผลให้ราชวงศ์กากติยะสร้างฐานอำนาจที่มั่นคงบริเวณชายฝั่งทะเลของอานธรประเทศได้อีกครั้ง

http://legendtheworld.blogspot.com/search/label/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94

            แต่ยังมีศึกใหญ่ที่มาจากทางทิศตะวันตกอีกซึ่งมาในรูปแบบของ กองทัพแห่งเทวาคีรี (Seuna Yadavas of Devagiri) พระนางรุทรมะเทวีทรงมีชัยเหนือมหาเทวราชาผู้นำทัพของเทวาคีรีที่ป้อมของเมืองวรังคัล เมืองหลวงของกากติยะและขับไล่ผู้รุกรานออกจากเมืองไป  มหาเทวะมีความประสงค์จะใช้ประโยชน์จากความไม่สงบที่เกิดขึ้นภายในของกากติยะโดยนำเอาเรื่องของการมีสตรีเป็นผู้นำประเทศมาเป็นข้ออ้างแต่เขาประเมินพระปรีชาสามารถของพระนางต่ำเกินไป พระนางรุทรมะเทวีขับไล่กองกำลังของมหาเทวะไปจนข้ามแม่น้ำโกทวารีและบังคับให้มหาเทวะยอมสงบศึก ส่งผลให้ผู้นำทัพแห่งเทวาคีรีต้องยอมเสียค่าไถ่และยอมจำนนต่อพระนาง ค่าไถ่จำนวนมากที่ได้มาควรจะต้องนำไปเก็บที่ท้องพระคลังแต่พระนางกลับแจกจ่ายให้กับทหารในกองทัพของพระนาง
           อาณาจักรเนลโล (Nellore) ทางใต้ซึ่งตกไปอยู่ภายใต้การปกครองของปัณฑยะ จนมีผู้นำคนหนึ่งได้ทำการปลดปล่อยอาณาจักรเนลโลให้หลุดพ้นจากการปกครองของปัณฑยะ สองพี่น้องพระเจ้าจันนิกะเทวา(Jannigadeva)และพระเจ้าตรีปุราริเทวา (Tripurarideva) ปกครองอาณาจักรต่อไปโดยอยู่ภายใต้การปกครองของพระนางรุทรมะเทวี แต่อย่างไรก็ตามหลังจากการสืบทอดราชบัลลังก์ต่อของพระอนุชาของพระองค์.พระเจ้าอัมพะเทวา (Ambadeva) ที่ขึ้นครองราชย์ในปี 1272 สถานการณ์ก็เริ่มเปลี่ยนไป
            พระนางรุทรมะเทวีไม่อาจอดกลั้นต่อการแข็งข้อของพระเจ้าอัมพะเทวาได้ ในเวลานั้นพระราชนัดดาของพระนาง ทรงเจริญพระวัยพอที่จะรับผิดชอบบางส่วนในการปกครองได้แล้ว พระองค์ทรงเป็นนักรบที่มีความกล้าหาญและเป็นนักวางแผนในการทำศึก พระราชนัดดาวางแผนโจมตีเพื่อให้การส่งกำลังสนับสนุนของพระอัมพะเทวาอ่อนแอลง โดยแบ่งการโจมตีออกเป็นสามสาย สายแรกจะนำทัพโดยพระราชินีรุทรมะเทวีและขุนพลของพระนาง แต่แล้วแผนการนี้ก็ถูกพบจนได้ทำให้พระเจ้าอัมพะเทวาได้ร่วงรู้ตำแหน่งของพระนางรุทรมะเทวี พระเจ้าอัมพะเทวาจึงทรงปลงพระชนม์พระนางรุทรมะเทวีและขุนพลของพระนางในปี 1283 

http://legendtheworld.blogspot.com/search/label/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94           อย่างไรก็ตามกองทัพของพระนางรุทรมะเทวีก็มีชัยต่อข้าศึก พระราชนัดดาของพระนางก็ได้ขึ้นครองราชย์แทนและปราบกองทัพของพระเจ้าอัมพะเทวาเสียจนไม่อาจจะกลับมาทำอันตรายต่อกากติยะได้อีกเลย พระราชนัดดาของพระนาง อันที่จริงทรงเป็นโอรสในพระธิดาของพระนาง ตลอดการปกครองโดยพระราชนัดดาทางอินเดียตอนใต้ ราชวงศ์กากติยะถูกกองทัพจากมุสลิมเข้ารุกรานจนในที่สุดกากติยะก็สิ้นราชวงศ์
              จากประวัติศาสตร์อินเดียพบว่าพระราชินีรุทรมะเทวีเป็นพระราชินีที่มีความสำคัญมากที่สุดพระองค์หนึ่งซึ่งประชาชนยังให้ความเคารพ ความเป็นสตรีเพศของพระนางไม่ได้ทำให้พระนางถูกทอนความสำคัญลงเลย แม้ว่าจะถูกรุกรานจากอาณาจักรใกล้เคียงตลอดเวลาแต่ประชาชนก็ยังคงมีความสุขภายใต้การปกครองของพระนาง
....................................

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น