LEGEND Oda Eiichiro เออิจิโร โอะดะ นักวาดการ์ตูนผู้ให้กำเนิดการ์ตูนวันพีช

Author: Pirate Onepiece / ป้ายกำกับ:

Myth Oda Eiichiro Father of One Piece
http://legendtheworld.blogspot.com/2016/03/legend-oda-eiichiro.htmlฉายา บิดาแห่งการ์ตูนวันพีช
- นักเขียนการ์ตูนหมายเลข 1 ในยุค มิลลิเนียม 
เกียรติยศ อายุ 17 ปี รางวัลสึกะ-การ์ตูนตลกอันดับ 1(Tezuka Award)
อาชีพ  ศิลปิน นักวาดการ์ตูนมืออาชีพ(Manga artist)
สัญชาติ ญี่ปุ่น (JAPAN)
ภรรยา ชิเอกิ อินาบะ(Chiaki Inaba)
เพื่อน มัตสุโตชิ ชิมะบุคุโร่(ผู้เขียนโทริโกะ)
เกิดเมื่อ อายุ 41 ปี วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1975 
-  ที่ คุมาโมโตะ-คุมาโมะ ประเทศญี่ปุ่น
เสียชีวิต ยังไม่ตาย
ความชอบ ชอบเพลงของ แอวริล ลาวีน,ไบอัน อดัม
- ชอบเล่นเกมดราก้อนเควสต์
- ชอบหนังเรื่อง 7 ซามูไร,ทิมเบอตั้น
- ชอบโจรสลัดหนวดดำ
- ชอบอาหารเม็กซิกัน 
- ชอบท่องเที่ยวมองโกเลียและมัลดีฟส์
- ชอบหมาตัวใหญ่

                ประวัติ เออิจิโร่ โอดะ  เขาคือนักเขียนการ์ตูนเกี่ยวกับการผจญภัยของโจรสลัดเรื่อง One Piece ซึ่งเป็นหนังสือการ์ตูนที่ขายดีที่สุดในญี่ปุ่นในยุคปัจจุบันเลยทีเดียว ซึ่งในปี 2011 มีสถิติขายได้รวม 37,996,373 เล่ม โดยเล่มที่ขายดีที่สุดคือ เล่มที่ 61 ซึ่งขายไปได้ถึง 3,382,588 เล่ม!! มีคำให้สัมภาษณ์หนึ่งกล่าวโดย โอดะว่าหลังจากจบการ์ตูนเรื่อง วันพีชเค้าจะทำอะไรต่อ โอดะกล่าวว่า เค้าน่าจะยังคงเขียนการ์ตูนต่อไปโดยหวังว่าจะได้ร่วมงานกับอาจารย์ โทริยาม่า(ผู้เขียนการ์ตูนดราก้อนบอล)เขียนการ์ตูนเรื่องสั้นออกมาให้ได้ชมกัน
http://legendtheworld.blogspot.com/2016/03/legend-oda-eiichiro.html................






           จุดเริ่มต้นของความชอบการ์ตูน  เมื่อโอดะอายุได้ 4 ขวบ เขาก็ได้รับรู้ว่านอกจากการทำงานเป็นพนักงานกินเงินเดือนแบบพ่อของเขา และการทำงานบ้านแบบแม่ของเขาแล้ว ยังมีคนที่สามารถทำงานเลี้ยงชีพด้วยการวาดการ์ตูนอยู่ด้วย และนั่นแหละคือสิ่งที่โอดะใฝ่ฝัน! 
            โอดะนั้นระลึกว่าความชอบโจรสลัดของตนน่าจะเกิดความชื่นชอบเรื่องเกี่ยวกับไวกิ้งจากอนิเมชั่นเรื่อง Vicky the Viking ที่ได้ดูสมัยเด็กๆ นั่นเอง ที่ทำให้เขาประทับใจในการผจญภัยของตัวการ์ตูนเหล่านั้นมากๆ จนเขาคิดว่า “โจรสลัด” กับ “การผจญภัย” นั้นคือสิ่งเดียวกันเลยทีเดียว  พอโตขึ้นมากหน่อย โอดะนั้นชื่นชอบ “ดราก้อนบอล (Dragon ball)” ผลงานของ โทริยามา อากิระ มาก จนกระทั่งเขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า โทริยามา เป็นเหมือนกับพระเจ้าสำหรับเขาเลย 

http://legendtheworld.blogspot.com/2016/03/legend-oda-eiichiro.html           การเริ่มต้นอาชีพนักเขียนการ์ตูน  ในสมัยเด็กๆ เพื่อนๆ ต่างชื่นชมผลงานการวาดรูปของโอดะมาก จนเขามีความมั่นใจมากในฝีมือของตนเอง เขาเริ่มส่งผลงานเข้าประกวดตอนอายุ 15 ปี จนเมื่อโอดะมีอายุ 17 ปี ผลงานเรื่องสั้นชื่อ WANTED! ของเขาก็ได้ชนะเลิศอันดับสองใน รางวัลเท็ตซึกะ โอซามุ และสิ่งนั้นก็ทำให้เขาเริ่มคิดว่าตนน่าจะไปถึงจุดสูงสุดของวงการได้โดยง่าย เขาจึงเดินทางจากบ้านเกิดมาที่โตเกียว 
            แต่ชีวิตนักเขียนการ์ตูนมันไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะไม่ว่าเขาส่งผลงานให้สำนักพิมพ์มากแค่ไหน ก็ไม่ได้รับอนุมัติให้ตีพิมพ์ได้ซะที เขาเองในอดีตเคยมั่นใจในผลงานตนเองมาก จนกระทั่งคิดว่าผลงานของคนอื่นนั้นน่าสนใจน้อยกว่าของเขา 
           ในที่สุดเขาก็ระลึกได้ถึงทักษะหลายๆ อย่างที่เขาขาดไปในการที่จะเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพได้ เขาได้เริ่มชนเข้ากับ “กำแพงแห่งมืออาชีพ” เข้าเสียแล้ว เพราะการ์ตูนนั้นไม่ใช่แค่เอาภาพสวยๆ มาเรียงกัน แต่มันต้องมีเนื้อเรื่องที่ดีด้วย ซึ่งการจะเขียนการ์ตูนตอนละ 19 หน้าภายในหนึ่งอาทิตย์ ให้น่าสนใจไปได้ตลอดนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับมนุษย์ธรรมดาเลย ผลงานช่วงแรกๆ ของเขาจึงถูก บก. ชี้ให้เห็นถึงจุดด้อยมากมาย  
          เขาตัดสินใจลาออกจากมหาวิทยาลัยหลังจากเรียนไปได้เพียงปีเดียว เพื่อตามความฝันในการเป็นนักเขียนการ์ตูนอย่างจริงจัง เพราะเขาคิดว่าการเรียนมหาวิทยาลัยต่อไปก็ไม่มีประโยชน์สำหรับเขาแล้ว และอีกอย่างหนึ่ง ไม่มีเพื่อนเขาคนไหนเลยที่มีความฝันแบบเดียวกับเขา ในช่วงที่เรียน เขาก็ต้องปิดบังเพื่อนๆ ไม่ให้รู้ว่าเขาเขียนการ์ตูนอยู่ เนื่องจากไม่อยากถูกล้อว่าเป็นโอตาคุ (คนบ้าการ์ตูน) เขาจึงมีแรงผลักดันที่จะประสบความสำเร็จให้ได้เร็วที่สุด เพื่อที่จะให้คนอื่นยอมรับในตัวเขา  
            เขาจึงเริ่มอาชีพในเส้นทางนักเขียนการ์ตูนอย่างจริงจังโดยเป็นผู้ช่วยให้กับนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพหลายท่าน ซึ่งเขียนการ์ตูนให้กับนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ชื่อ โชวเน็นจั๊มป์ (ดราก้อนบอล การ์ตูนสุดโปรดของโอดะก็เคยลงในจั๊มป์) การเป็นผู้ช่วยนักเขียนการ์ตูนเป็นการเปิดโอกาสให้เขาได้ฝึกทักษะการเขียนการ์ตูนให้เก่งขึ้นและได้เรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพได้อีกด้ว
 
http://legendtheworld.blogspot.com/2016/03/legend-oda-eiichiro.html             ในช่วงปลายปี 1996 เขาก็ได้วาดการ์ตูนเรื่องสั้นชื่อว่า Romancing Dawn ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของเรื่อง One Piece เพื่อทดสอบว่าแนวทางการผจญภัยของโจรสลัดจะสามารถลงตีพิมพ์เป็นเรื่องยาวได้หรือไม่
             ในปี 1997 เขาก็ตัดสินใจลาออกจากการเป็นผู้ช่วย เพื่อเริ่มทำงานในการ์ตูนของตนเองในเรื่อง One Piece และ 
             ในเดือนสิงหาคม ปี 1997 One Piece ก็ถูกตีพิมพ์เป็นเรื่องยาวในจั๊มป์ และมันก็หลายเป็นการ์ตูนฮิตได้ในที่สุด จนได้ทำมาเป็นอนิเมชั่นในปี 1998 ซึ่งเป็นสิ่งที่นักเขียนการ์ตูนจะตื่นเต้นมาก ที่จะได้เห็นผลงานของตนเคลื่อนไหว มีเสียง มีชีวิตขึ้นมาได้  
              ในปี 2002 โอดะก็ได้พบกับ อนาคตภรรยาสาวสวยของเขาผู้ซึ่งแต่งคอสเพลย์เป็นนามิ ตัวละครสาวในเรื่อง One Piece บนเวทีการแสดงในงานการ์ตูน Jump Festa และต่อมาก็ได้แต่งงานและมีลูกด้วยกันในที่สุด  
              ในปลายปี 2006 โอดะ ก็ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับ โทริยามะ อากิระ นักเขียนการ์ตูนในดวงใจของเขา โดยได้ร่วมกันเขียนการ์ตูนสั้นเรื่อง Cross Epoch เป็นการนำตัวละครจาก ดราก้อนบอล และ One Piece มาเจอกันอย่างเหลือเชื่อ  โอดะเองได้คิดตอนจบของเรื่อง One Piece ไว้ตั้งแต่ต้นแล้ว และเมื่อ One Piece จบลง เขามีแนวทางคล้ายๆ กับ โทริยามา อากิระ ที่จะไม่เขียนการ์ตูนเรื่องยาวอีก แต่อาจจะเขียนเป็นเรื่องสั้นๆ แทน อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่ One Piece ยังไม่จบ (และคงอีกยาวพอสมควร) เขาก็ต้องทุ่มเทกับมันอย่างเต็มที่ต่อไป 

   สไตล์การทำงานของโอดะ 
    โอดะจะใช้เวลาร่างภาพ 3 วัน และอีก 3 วันในการลงรายละเอียดจนเสร็จ 
    โดยปกติเขาจะทำผลงานไว้ล่วงหน้าถึง 5 ตอนด้วยกัน และเขาก็จะมีผู้ช่วยประมาณ 5 คนในการช่วยลงหมึก ลงรายละเอียด ฉากหลังและแปะสกรีนโทน 


     รายได้ของโอดะ -  รายการทีวีของญี่ปุ่นเคยมีการประมาณรายได้ของโอดะไว้ ดังนี้ครับ    

      ค่าต้นฉบับเรื่อง One Piece หน้าละ 50,000 เยน x 20 หน้า/ตอน x 48 ตอน/ปี = 48 ล้านเยน 
      ขายหนังสือได้ 32,340,000 เล่ม ราคาเล่มละ 420 เยน โดยเขาได้ส่วนแบ่งลิขสิทธิ์ 10% ดังนั้นจะได้รายได้จากตัวหนังสือการ์ตูนประมาณ 1358 ล้านเยน
    รายได้จากอนิเมชั่น ในการฉาย 1 ตอน โอดะจะได้ค่าลิขสิทธิ์ประมาณ 3แสนเยน x50 ตอน/ปี บวกกับรายได้จากอนิเมชั่นหนังใหญ่ฉายในโรงภาพยนตร์ อีก 1 ล้านเยน = 16 ล้านเยน
    ค่ารายได้จากการการขายลิขสิทธิ์ให้ต่างประเทศ 200 ล้านเยน
    ค่าลิขสิทธิ์สินค้าต่างๆ 1500 ล้านเยน  รวมทั้งหมดแล้วรายได้อยู่ปีละ 3,122 ล้านเยนนั่นเองครับ!! (อย่าลืมว่านี่คือช่วงรุ่งเรือง การ์ตูนยังเป็นที่นิยมมาก รายได้ก็จะเยอะเป็นพิเศษครับ) 

     สรุปข้อคิดที่ได้จากชีวิตของโอดะ

     ✪ เขารู้ว่าตัวเองรักอะไร และทำตามความฝันนั้นอย่างไม่ลดละ เขากล้าทำตามความฝัน โดยไม่สนใจว่าความฝันนั้นจะต่างจากเพื่อนๆ การลาออกจากมหาวิทยาลัยกลับไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายต่ออนาคตของเขา เพราะการไปฝึกเป็นผู้ช่วยนักเขียนการ์ตูนต่างหากคือการเรียนรู้อาชีพที่เขาจะทำในอนาคตอย่างแท้จริง ทั้งเป็นการฝึกด้านทักษะและเรียนรู้ประสบการณ์จริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ให้เรียนมหาวิทยาลัยยังไงก็คงไม่มีสอน อีกทั้งยังมีโอกาสได้มี connection ในวงการการ์ตูนมากมาย ทั้งนักเขียนมืออาชีพ เพื่อนผู้ช่วยด้วยกัน (เพื่อนๆ สมัยตอนที่เขาทำงานเป็นผู้ช่วยก็ได้กลายเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพเช่นกัน เช่น นักเขียนเรื่อง Shaman King เป็นต้น) ผู้ดูแลนักเขียนที่มาจากสำนักพิมพ์เป็นต้น
http://legendtheworld.blogspot.com/2016/03/legend-oda-eiichiro.html       อาชีพนักเขียนการ์ตูนนั้นต่างจากอาชีพทั่วๆไป เพราะไม่จำเป็นต้องจบดีกรีปริญญาอะไร เหมือนบางอาชีพ แต่ต้องมีฝีมือจริงๆเท่านั้น และด้วยเหตุที่เป็นอาชีพที่ใครๆ ก็สามารถเข้ามาลองทำได้ การจะทำให้ผลงานของตนโดดเด่นออกมาจากคนอื่นๆ และได้รับการยอมรับจนได้ตีพิมพ์ในนิตยสารรายสัปดาห์ได้นั้น จะต้องผ่านกระบวนการที่ยากลำบาก ทั้งการประกวดแข่งขันต่างๆ มากมาย เพื่อให้ผลงานของตนเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป และสำนักพิมพ์ต่างๆ นั่นเอง
     การเขียนการ์ตูนนั้นต้องทำงานกันเป็นทีมมากกว่าที่หลายๆ คนคิด เพราะกว่าการ์ตูนหนึ่งเรื่องจะประสบความสำเร็จได้ต้องมีหลายคนมาเกี่ยวข้อง ทั้งตัวนักเขียนเอง (การ์ตูนบางเรื่องแบ่งหน้าที่คนวาดกับคนคิดเรื่องเป็นคนละคนกันด้วยซ้ำ) ผู้ช่วยนักเขียน ผู้ดูแลนักเขียนซึ่งเป็นคนจากสำนักพิมพ์ ครอบครัวของนักเขียนเองที่ต้องมีความเข้าอกเข้าใจ เนื่องจากงานเขียนการ์ตูนเป็นงานที่หนักมาก จนหลายๆ ท่านเขียนจนไม่ได้หลับได้นอนจนป่วยไข้ เพราะต้องส่งต้นฉบับให้ทันเส้นตายนั่นเอง   
       การวาดการ์ตูนบางครั้งไม่ใช่ว่าคนวาดอยากจะวาดยังไงก็ได้ เนื่องจาก นักเขียนการ์ตูนยังต้องมีสำนักพิมพ์ที่เป็นคนดูแลผลงานอยู่ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงเรื่องของธุรกิจด้วย ว่าเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ ผลงานได้รับความนิยมสูงมากจากผู้อ่านอยู่ บางทีอาจจะรีบจบเกินไปไม่ได้เพราะจะทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจ เป็นต้น ส่วนการ์ตูนเรื่องไหนที่ได้รับความนิยมน้อย ก็อาจจะถูกสำนักพิมพ์สั่งตัดจบ เพื่อให้มีพื้นที่เหลือสำหรับเรื่องที่มีอนาคตมากกว่าต่อไป จึงทำให้เกิดความกดดันอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม สำหรับตัวโอดะเอง เขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า ในขณะเขาวาด One Piece เค้าคิดอยู่อย่างเดียวคือ ผู้อ่านคือตัวเขาเองตอนอายุ 15 ปี อะไรที่เขาในอายุ 15 ปี คิดว่าเจ๋ง เขาก็จะทำมันแบบนั้น เพราะจากที่เขาเริ่มวาด One Piece มา ก็นานนับสิบปีแล้ว ผู้อ่านหลายคนก็โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว แต่เขายังคงวาดเนื้อเรื่องสำหรับเด็กวัยรุ่นต่อไป เพราะเขามั่นใจว่า ถ้าเรื่องสนุกพอ ก็จะมีคนอ่านหน้าใหม่เพิ่มเข้ามาทดแทนได้ และคนที่เลิกอ่านไปชั่วคราว ก็อาจกลับมาอ่านต่อได้อีก  

.........................

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น